peoplepill id: mangkorn-phromyothi
MP
1 views today
3 views this week
Mangkorn Phromyothi

Mangkorn Phromyothi

The basics

Quick Facts

Work field
Gender
Male
Birth
Age
70 years
The details (from wikipedia)

Biography

พลเอก มังกร พรหมโยธี หรือ หลวงพรหมโยธี (นามเดิม มังกร ผลโยธิน; 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439 – 24 มีนาคม พ.ศ. 2509) เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และอดีตรัฐมนตรี

ประวัติ

มังกร ผลโยธิน เกิดเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439 ณ บ้านบางขุนเทียน ตำบลบางขุนเทียน อำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี เป็นบุตรหมื่นสาธิตพิทักษ์ (เทียน ผลโยธิน) และนางอุ่น ผลโยธิน มีพี่น้องร่วมบิดามารดาคือ เพ็ชร, หอม และพู ผลโยธิน

พลเอก มังกร พรหมโยธี เริ่มศึกษาที่โรงเรียนวัดอรุณราชวราราม แล้วไปศึกษาต่อที่โรงเรียนทวีธาภิเศกจนจบชั้นมัธยมปีที่ 6 แล้วย้ายมาศึกษาอยู่ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยจนจบชั้นมัธยมบริบูรณ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2455 ได้สมัครเข้าเป็นนักเรียนนายร้อยทหารบก ณ โรงเรียนนายร้อยทหารบก (ปัจจุบันคือโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า) สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ออกมารับราชการเป็นนายทหารสัญญาบัตร

การทำงาน

หลวงพรหมโยธีขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีประสาทปริญญาบัตรของวิทยาลัยวิชาการศึกษา (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)

มังกร ผลโยธินเริ่มรับราชการในกองทัพบกตั้งแต่ยศร้อยตรี ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ หลวงพรหมโยธี ในปีพ.ศ. 2471 และเจริญก้าวหน้าจนถึงพลเอก มีตำแหน่งสูงสุดคือ รองผู้บัญชาการทหารบก ในกองทัพบก รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในกองบัญชาการทหารสูงสุด

พลเอก มังกร พรหมโยธี รับตำแหน่งรัฐมนตรีครั้งแรกเมื่อพ.ศ. 2481 เป็นรัฐมนตรีไม่ประจำกระทรวง ต่อมาได้ย้ายไปเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และย้ายไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในเวลาต่อมาเมื่อรัฐบาลจะยกเลิกบรรดาศักดิ์ไทย หลวงพรหมโยธินในฐานะรัฐมนตรีพร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีชุดที่ 9 จึงลาออกจากบรรดาศักดิ์ โดยกลับไปใช้ราชทินนามเป็นนามสกุลได้ว่า มังกร พรหมโยธี เมื่อ พ.ศ. 2484

ต่อมาย้ายกลับมาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมอีกครั้ง พ.ศ. 2485 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พ้นจากตำแหน่งไปเมื่อ พ.ศ. 2487

ต่อมาในพ.ศ. 2491 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ย้ายมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอีกครั้งใน พ.ศ. 2492 เมื่อพ.ศ. 2494 ย้ายกลับไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และพ้นจากตำแหน่งไปเมื่อ พ.ศ. 2500

นอกจากนี้ พลเอก มังกร พรหมโยธี ยังเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในชุดที่ 8 สมาชิกวุฒิสภาในชุดที่ 1 และชุดที่ 2

ครอบครัว

พลเอกมังกร พรหมโยธี สมรสกับคุณหญิงทองเจือ พรหมโยธี (สกุลเดิม ศุภชลัสถ์) เมื่อ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2462 มีบุตรธิดา คือ

  1. พันเอก กำจร พรหมโยธี
  2. นงโภช พรหมโยธี
  3. ทินกร โปษยานนท์
  4. มณฑา พรหมโยธี
  5. เกียรติกร พรหมโยธี
  6. ร้อยเอก เจตกมล พรหมโยธี

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2485 พลเอกมังกร พรหมโยธี ได้มีบุตรชายอีก 2 คน ซึ่งเกิดจากหม่อมเจ้าบรรเจิดวรรณวรางค์ วรวรรณ ซึ่งเป็นอนุภรรยา คือ

  1. กำจรเดช พรหมโยธี
  2. เจตกำจร พรหมโยธี

พลเอกมังกร พรหมโยธี ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2509 ณ โรงพยาบาลโรงงานยาสูบ พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2509

เกียรติยศ

บรรดาศักดิ์

  • 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2471: หลวงพรหมโยธี
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2484: ลาออกจากบรรดาศักดิ์

ยศทหาร

  • 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 เป็น ว่าที่ร้อยตรี
  • 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2459 เป็น ร้อยตรี
  • 24 เมษายน พ.ศ. 2463 เป็น ร้อยโท
  • 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 เป็น ร้อยเอก
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2476 เป็น พันตรี
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2477 เป็น พันโท
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2481 เป็น พันเอก
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2482 เป็น นาวาเอก, นาวาอากาศเอก
  • 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 เป็น พลตรี, พลเรือตรี, พลอากาศตรี
  • 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 เป็น พลโท
  • 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486 เป็น พลเรือโท, พลอากาศโท
  • 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2493 เป็น พลเอก
  • 16 เมษายน พ.ศ. 2495 เป็น พลเรือเอก, พลอากาศเอก

เครื่องอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

  • พ.ศ. 2486 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
  • พ.ศ. 2495 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
  • พ.ศ. 2496 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)
  • พ.ศ. 2484 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน (ช.ส.)
  • พ.ศ. 2486 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)
  • พ.ศ. 2477 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)
  • พ.ศ. 2486 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ร.)
  • พ.ศ. 2498 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)
  • พ.ศ. 2473 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
  • พ.ศ. 2481 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 2 (อ.ป.ร.2)
  • พ.ศ. 2496 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)
  • พ.ศ. 2464 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
  • พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
  • พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
  • พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)

เครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

  •  ฝรั่งเศส:
    • พ.ศ. 2483 – เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นที่ 2 นายทัพ
  •  ญี่ปุ่น:
    • พ.ศ. 2483 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงคลรัตน์ ชั้นที่ 1 สายสะพาย
  •  ไรช์เยอรมัน:
    • พ.ศ. 2484 – เครื่องอิสริยาภรณ์อินทรีเยอรมัน ชั้นที่ 2
  •  บริเตนใหญ่:
    • พ.ศ. 2496 – เหรียญพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2
  •  อิตาลี:
    • พ.ศ. 2498 – เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสาธารณรัฐอิตาลี ชั้นที่ 1

สถานที่อันเนื่องด้วยนาม

  • อำเภอพรหมโยธี (ปัจจุบันคืออำเภอสังแก ประเทศกัมพูชา)

อ้างอิง

The contents of this page are sourced from Wikipedia article. The contents are available under the CC BY-SA 4.0 license.
Lists
Mangkorn Phromyothi is in following lists
comments so far.
Comments
From our partners
Sponsored
Credits
References and sources
Mangkorn Phromyothi
arrow-left arrow-right instagram whatsapp myspace quora soundcloud spotify tumblr vk website youtube pandora tunein iheart itunes