peoplepill id: yen-isarasena
YI
Thailand
1 views today
1 views this week
The basics

Quick Facts

Places
Gender
Male
Birth
Age
79 years
The details (from wikipedia)

Biography

มหาเสวกเอก เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (นามเดิม: หม่อมราชวงศ์เย็น อิศรเสนา; 31 มีนาคม พ.ศ. 2405 - 26 มกราคม พ.ศ. 2484) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

  • พ.ศ. ไม่ปรากฏ -เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
  • พ.ศ. ไม่ปรากฏ -เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
  • พ.ศ. ไม่ปรากฎ -เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) (ฝ่ายหน้า)
  • พ.ศ. 2458 -เครื่องราชอิสริยาภรณ์วชิรมาลา (ว.ม.ล.)
  • พ.ศ. ไม่ปรากฏ -เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 1 (ป.ป.ร.1)

ประวัติ

ชาติกำเนิด

เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ เป็นบุตรของหม่อมเจ้าเสาวรส อิศรเสนา และหม่อมมุหน่าย อิศรเสนา เกิดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2405 ที่พระตำหนัก หม่อมเจ้าเสาวรส อิศรเสนา บริเวณถนนพระอาทิตย์ กรุงเทพมหานคร สมรสกับหม่อมราชวงศ์หญิงอรุณ นพวงศ์

การศึกษา

  • พ.ศ. 2412 อายุ 8 ขวบ เข้าเรียนกับหลวงตา (บิดาของหม่อมมุหน่าย) ที่วัดทองปุ (วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร)
  • พ.ศ. 2418 อายุ 12 ขวบ เข้าโรงเรียนบุตรข้าราชการ มีพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เป็นอาจารย์
  • พ.ศ. 2420 อายุ 16 ขวบ ออกจากโรงเรียน ไปฝึกงานด้านการชุบเงิน-ทองที่โรงชุบจนทองของหม่อมเทวาธิราช (หม่อมราชวงศ์แดง อิศรเสนา) ข้างสะพานรามบุตรี (ปัจจุบันอยู่บริเวณสถานีบริการน้ำมันใกล้ซอยรามบุตรี ถนนพระอาทิตย์) ทำหน้าที่ชุบ ล้างและขัดมันองค์พระพุทธรูป

การรับราชการ

รัชกาลที่ 5

  • พฤศจิกายน พ.ศ. 2420 รับราชการยศนายสิบทหาร ห้อง (ช่าง) เงินเดือน 12 บาท มีหน้าที่ ควบคุมบังคับช่างที่รักษาความสะอาดในพระที่นั่ง
  • พ.ศ. 2425 ผู้บังคับกรมเด็กชา (รวม ขุนหมื่นชาวที่เข้ากับ ลูกหมู่ลาวสีไม้) มี ตำแหน่งเทียบเท่า นายร้อยทหารหน้า
  • พ.ศ. 2428 เป็นหลวงราชดรุณรักษ์ เทียบเท่าร้อยโทกรมทหารหน้า
  • พ.ศ. 2433 เป็นยกกรมเด็กชาขึ้นเป็นกระทรวงวัง
  • พ.ศ. 2436 เป็นหลวงสิทธินายเวร
  • พ.ศ. 2441 เป็นจมื่นเสมอใจราชหัวหมื่นมหาดเล็กเวรสิบ
  • พ.ศ. 2443ปฏิบัติงานในกรมสุขาภิบาล (จัดทำถนนและสาธารณสถาน) ซึ่งต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้เป็นเจ้ากรมโยธา ทำการก่อสร้างทั่วไป
  • พ.ศ. 2446อายุ 40 ปี เป็น พระยาวรพงษ์พิพัฒน์ จางวางมหาดเล็ก ซึ่งเป็นตำแหน่งชั้นสูงสุดของข้าราชการสำนัก
  • พ.ศ. 2452เป็นผู้ดูแลกำกับการสร้างท่าเทียบเรือพระที่นั่ง

รัชกาลที่ 6

  • พ.ศ. 2453 เป็นองคมนตรี ในสมัยรัชกาลที่ 6
  • พ.ศ. 2455 ดำรงตำแหน่งในสภาจางวาง ยศจางวางโท
  • พ.ศ. 2456 เป็นอธิบดีกรมตรวจมหาดเล็ก
  • พ.ศ. 2457 เป็นจางวางเอก
  • พ.ศ. 2458 ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมอัศวราชอีกตำแหน่งหนึ่ง

รัชกาลที่ 7

  • พ.ศ. 2469 ผู้บัญชาการมหาดเล็กกรรมการชำระสะสางเงิน พระคลังข้างที่ และตัดทอนรายจ่ายราชสำนัก
  • พ.ศ. 2469 ผู้รั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงวัง
  • พ.ศ. 2469 ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ สกุลกษัตริ์ยศรีบวรราชเสนานุรักษ์ มหาสวามิภักดิ์บรมราชูปสดมภ์ ศุทธสมเสวกามาตย์มหาร์ชวังคณบดี ราชธรรมปรเพณีศรีรัตนมนเทียรบาล มุทราธารนนทิวาหเนศ บุนยเกษตรศรณเกษมสวัสดิ์ บรมราชาธิปัตเยนทรมนตรี มหาเสนาบดีอภัยพีริยปรากรมพาหุ ศักดินา 10000 ไร่ เงินเดือน 2,200 บาท
  • พ.ศ. 2470 เสนาบดีกระทรวงวัง
  • พ.ศ. 2475 ผู้สำเร็จราชการพระราชวัง หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
  • พ.ศ. 2476 เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัง
  • พ.ศ. 2477 ออกจากราชการหลังจากยุบกระทรวงวังเป็นสำนักพระราชวัง รับบำนาญเดือนละ 950 บาท รวมอายุราชการ 57 ปี

รัชกาลที่ 8

  • 26 ม.ค. 2484 ถึงแก่อสัญกรรม

การประกอบธุรกิจ

  • 2426 - 2427 ธุรกิจรับส่งผู้โดยสาร โดยรถม้า และรถเก๋ง
  • 2428 ธุรกิจสร้างตู้เสาเกลียว เครื่องเรือน และทำเครื่องแป้ง
  • 2439ธุรกิจโรงเลื่อยจักร ข้างวัดตรี ริมคลองบางลำพู (หน้าวัดรังสี)
  • 2444 ธุรกิจเตาเผาอิฐ
  • 2445 - 2447 ธุรกิจโรงสีข้าวที่บางโพ
  • 2450 ตั้งท่าเรือจ้าง ณ ถนนพระอาทิตย์ ธุรกิจเรือเมล์เขียว (คลองบางหลวง)
  • 2451 ได้รับพระบรมราชานุญาตให้ก่อตั้งบริษัท รถไฟบางบัวทอง จำกัดสินใช้ โดย สร้างทางรถไฟสายบางบัวทองลงทุนด้วยเงินยืม
  • 2452 ธุรกิจมวนบุหรี่ ต่อมาสนใจโรงงานยาสูบ
  • 2458 เริ่มเดินรถไฟสายบางบัวทอง ใช้รถจักรไอน้ำ ราง 75 เซนติเมตร โดนใช้รถจักรไอน้ำขนาดเล็ก
  • 8 มกราคม 2465 ได้ทำสัญญากับกรมรถไฟหลวงเพื่อขยายเส้นทางรถไฟ (หลักฐานสัญญาเก็บรักษาที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
  • 2465 - 2469ธุรกิจโรงงานน้ำตาลทรายที่ทับหลวง ลงทุนด้วยเงินยืม แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ
  • 2468 จดทะเบียน ตั้งบริษัท รถไฟบางบัวจำกัดสินใช้
  • 2469 เริ่มการขยายเส้นทางไป วัดระแหง ที่ ลาดหลุมแก้ว
  • 2470 ต่อมาปรับปรุงจากรถกำลังไอน้ำ พลังงานฟืน มาเป็นรถราง 4 ล้อ เครื่องเบนซิน โดยใช้น้ำมัน ตราหอย จาก บริษัทอิสเอเชียติก ปิโตรเลียม จำกัด ซึ่งปัจจุบัน คือ น้ำมัน เชลล์ จาก บริษัทเชลล์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) แต่ต่อมา ซื้อน้ำมันจาก โซโกนี่ (เปลี่ยนชื่อเป็น สแตนดาร์ดแวคัมออยล์ เมื่อปี 2477) ซึ่งปัจจุบันคือบริษัทเอสโซสแตนดาร์ด (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
  • 5 เมษายน 2473 แก้ไขสัญญาเดินรถไฟบางบัวทองกับกรมรถไฟหลวง เพื่อ ถอนรางที่ อยู่วัดเฉลิมพระเกียรติ (ตรงข้ามศาลากลางจังหวัดนนทบุรีเดิมที่ตลาดขวัญ) ให้เดินรถไฟตรงไปที่ท่านั้นฝั่งตรงข้ามศาลากลางจังหวัดนนทบุรีแห่งใหม่ที่บางขวางพร้อมยืดระยะรถไฟจากบางบัวทองไปที่วัดระแหง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี (หลักฐานสัญญาเก็บรักษาที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ เช่นกัน)
  • 2477 แก้ไขรถราง 4 ล้อให้มาใช้ น้ำมันดีเซล แทนเพื่อลดค่าใช้จ่าย
  • 19 กุมภาพันธ์ 2480 เปิดอุบัติเหตุ รถราง 4 ล้อรถไฟบางบัวทองชนกัน คนขับ ช้ำในตายที่โรงพยาบาลกลาง
  • 2483 เมื่อ บริษัทอิสเอเชียติก ปิโตรเลียม จำกัด และ สแตนดาร์ดแวคัมออยล์ เลิกการจำหน่ายน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศไทย รถไฟบางบัวจำกัดสินใช้ ต้องซื้อน้ำมันดีเซล จากกรมเชื้อเพลิง กระทรวงกลาโหม (น้ำมันสามทหาร) แทน
  • 16 กรกฎาคม 2485 ประกาศเลิกกิจการ รถไฟบางบัวทอง แล้วดำเนินการถอนรางและ รถจักรไปขาย บริษัทส่งเสริมอุตสาหกรรมไทย จำกัด เจ้าของโรงงานน้ำตาลวังกะพี้
  • กันยายน 2485 เริ่มการถอนรางและไม้หมอนไปกองรวมกันที่ สถานีรถไฟบางบำหรุ
  • 2 มกราคม 2486 เลิกกิจการรถไฟบางบัวทอง อย่างเป็นทางการ

อ้างอิง

  • หม่อมหลวงยิ่งศักดิ์ อิศรเสนา. ประวัติ เจ้าพระยาวรพงษ์พิพัฒน์ กรุงเทพ , สำนักพิมพ์บรรณกิจ (1991) จำกัด , 2525.
  • อนุสรณ์ในงานเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพ หลวงพิสูจน์พาณิชลักษณ์ (หม่อมหลวงเพิ่มยศ อิศรเสนา) ม.ว.ม., ป.ช.,ท.จ.ว. ณ. เมรุหลวงหน้า พลับพลาอิศร์ยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส. วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม 2528.
  • เอกสารชุดรถไฟบางบัวทอง จากกรมราชเลขาธิการ สมัยรัชกาลที่ 6 และ รัชกาลที่ 7 (มีในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
  • เอกสารชุดรถไฟบางบัวทอง จากสำนักนายกรัฐมนตรี (มีในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)

แหล่งข้อมูลอื่น

คณะรัฐมนตรีคณะที่ 5 ของไทย
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 5 ของไทย
นายกรัฐมนตรี
กลาโหม
การคลัง
การต่างประเทศ
มหาดไทย
ยุติธรรม
ธรรมการ
เศรษฐการ
วัง
ไม่ประจำกระทรวง
นายกรัฐมนตรี
กลาโหม
การคลัง
การต่างประเทศ
มหาดไทย
ยุติธรรม
ธรรมการ
เศรษฐการ
วัง
ไม่ประจำกระทรวง
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 6 ของไทย
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 6 ของไทย
นายกรัฐมนตรี
กลาโหม
การคลัง
การต่างประเทศ
เกษตราธิการ
มหาดไทย
ยุติธรรม
ธรรมการ
เศรษฐการ
วัง
ไม่ประจำกระทรวง
นายกรัฐมนตรี
กลาโหม
การคลัง
การต่างประเทศ
เกษตราธิการ
มหาดไทย
ยุติธรรม
ธรรมการ
เศรษฐการ
วัง
ไม่ประจำกระทรวง
 
รัฐมนตรีว่าการ
เสนาบดี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัง ของไทย
 
เสนาบดี
 
รัฐมนตรีว่าการ
 
เสนาบดี
 
รัฐมนตรีว่าการ
The contents of this page are sourced from Wikipedia article. The contents are available under the CC BY-SA 4.0 license.
Lists
Yen Isarasena is in following lists
comments so far.
Comments
From our partners
Sponsored
Credits
References and sources
Yen Isarasena
arrow-left arrow-right instagram whatsapp myspace quora soundcloud spotify tumblr vk website youtube pandora tunein iheart itunes