Suparat Kawatkul
Quick Facts
Biography
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล (16 มกราคม พ.ศ. 2495 – 21 มกราคม พ.ศ. 2565) ข้าราชพลเรือนชาวไทย และอดีตปลัดกระทรวงการคลัง อดีตอธิบดีกรมสรรพากร และผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
ประวัติ
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุลเป็นบุตรของนายแก้ว และนางเฉลียว ควัฒน์กุล มีพี่น้องทั้งหมด 8 คน โดย นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล เป็นคนที่ 3 ปัจจุบันสมรสกับนางดารารัตน์ ควัฒน์กุล มีบุตรชาย 1 คน
การเสียชีวิต
ศุภรัตน์ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 01.00 น. หลังเข้ารับการรักษาตัวด้วยโรคมะเร็งลำไส้ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ
การศึกษา
- พ.ศ. 2505 ระดับประถมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดหลวงราชาวาส
- พ.ศ. 2508 ระดับประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเมืองอุทัยธานี
- พ.ศ. 2511 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนอุทัยทวีเวท
- พ.ศ. 2513 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (สละสิทธิ์)
- พ.ศ. 2518 B.Sc.(Econ) London School of Economics and Political Science, University of London, U.K.
- พ.ศ. 2520 M.Sc.(Econ) Queen Mary College, University of London, U.K.
- พ.ศ. 2522 Certificate in Double Taxation,University of Southern California, USA
- พ.ศ. 2537 Advanced Management Programme, Harvard University, USA
การรับราชการ
- พ.ศ. 2532ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผน กรมสรรพากร
- พ.ศ. 2535ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านโครงสร้างภาษีสรรพากร (นักวิชาการภาษี 9) กรมสรรพากร
- พ.ศ. 2539รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (นักบริหาร 9) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
- พ.ศ. 2539ที่ปรึกษาการคลัง (นักวิชาการคลัง 10) สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
- พ.ศ. 2541ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (นักบริหาร 10)
- พ.ศ. 2543อธิบดีกรมสรรพากร
- พ.ศ. 2547ปลัดกระทรวงการคลัง
- พ.ศ. 2553รองประธานคณะกรรมการการเงินและการลงทุน บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด
การพ้นจากตำแหน่งราชการ
เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2551 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลนายศุภรัตน์เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ยังมีมูลความผิดวินัยร้ายแรง ฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ สมัยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสรรพากร กรณีแต่งตั้งรองอธิบดีกรมสรรพากร เหตุเกิดสมัย พ.ศ. 2543 – 2544 จึงมีมติให้ส่งรายงานไปยังผู้บังคับบัญชาเพื่อลงโทษทางวินัย และไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญากับผู้ถูกกล่าวหาต่อไป กระทั่งวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 อ.ก.พ.มีมติลงโทษไล่ออกนายศุภรัตน์ ตามที่ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด ต่อมาได้มีการอุทธรณ์ส่งผลให้นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ไม่ถูกไล่ออก ปลดออกจากราชการ แต่เป็นการลาออกจากราชการโดยมีผลในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2552
ราชการพิเศษในอดีต
- ประธานกรรมการบรรษัทตลาดรองสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
- ประธานกรรมการบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด
- ประธานกรรมการธนาคารดีบีเอสไทยทนุ จำกัด (มหาชน)
- กรรมการบริหารธนาคารรัตนสิน จำกัด
- กรรมการบริหารองค์การแก้ว กระทรวงกลาโหม
- กรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
- กรรมการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
- กรรมการบริหารบริษัทผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน)
- กรรมการบริหารบริษัท ไทยเรทติ้ง แอนด์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส จำกัด
- กรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
- กรรมการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- กรรมการสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- อาจารย์พิเศษ คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี และคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- อาจารย์พิเศษ คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)
- พ.ศ. 2546 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)