peoplepill id: kampol-watcharapol
KW
Thailand
7 views today
10 views this week
Kampol Watcharapol
Thai businessman

Kampol Watcharapol

The basics

Quick Facts

Intro
Thai businessman
Places
Gender
Male
Place of birth
Krathum Baen, Samut Sakhon, Thailand
Place of death
Sam Sen Nai, Phaya Thai, Bangkok, Thailand
Age
75 years
The details (from wikipedia)

Biography

จ่าโท กำพล วัชรพล (27 ธันวาคม พ.ศ. 2462 - 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539) ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เสียงอ่างทอง, ข่าวภาพ, มูลนิธิหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐคนแรก

ประวัติ

กำพล วัชรพล เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2462 ตรงกับวันขึ้น 6 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะแม ที่กระท่อมหลังคามุงจาก หลังวัดดอนไก่ดี ริมคลองภาษีเจริญ ในเขตอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เป็นบุตรคนสุดท้องของนายหลี (บิดา) และนางทองเพียร (มารดา) มีชื่อเดิมว่า แตงกวย ยิ้มละมัย และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น นิพนธ์ ตามนโยบายรัฐนิยมของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามมีพี่ร่วมมารดา 3 คน คือ นกแก้ว ทรัพย์สมบูรณ์ (ญ), สยม จงใจหาญ (ช) (ชื่อเดิม บุ้นเหลียน) และวิมล ยิ้มละมัย (ช) (ชื่อเดิม บุ้นฮก)

กำพลจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดดอนไก่ดีและไม่มีโอกาสได้ศึกษาต่อ เนื่องจากมารดามีอาชีพค้าข้าวเรือเร่ จำเป็นต้องพาลูกขึ้นเรือล่องไปตามแม่น้ำสายต่าง ๆ คือแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง และใช้ชีวิตส่วนมากบนเรือ

การงาน

ราวปี พ.ศ. 2477 เมื่ออายุได้ 15 ปี กำพลเริ่มต้นการทำงานของตนเอง โดยเป็นพนักงานเก็บค่าโดยสารเรือเมล์ปล่องเขียว วิ่งระหว่างประตูน้ำอ่างทอง ถึงประตูน้ำภาษีเจริญ ระหว่างนั้นได้คบหาเป็นเพื่อนสนิทกับวสันต์ ชูสกุล ต่อมาเมื่อกำพลสอบเป็นนายท้ายเรือได้ ก็เข้าเป็นนายท้ายเรือ “พันธุ์ทิพย์” โดยมีวสันต์เป็นพนักงานเก็บค่าโดยสาร

เมื่อปี พ.ศ. 2483 กำพลเข้ารับราชการทหารเรือ โดยเริ่มจากเข้าศึกษาที่โรงเรียนชุมพลทหารเรือ จังหวัดสมุทรปราการ ต่อมาบรรจุเข้าประจำเรือหลวงสีชัง นอกจากนี้ กำพลยังเข้าร่วมรบในราชการสงครามใหญ่ 2 ครั้งคือ สงครามอินโดจีนในกรณีพิพาทระหว่างเขตแดนของไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศส และสงครามมหาเอเชียบูรพา (สงครามโลกครั้งที่สอง) ในยุทธภูมิครั้งหลังนี้ ส่งผลให้กำพลได้รับพระราชทาน “เหรียญชัยสมรภูมิ” เหรียญกล้าหาญ และเลื่อนยศขึ้นเป็นจ่าโท จากนั้นกำพลลาออกจากราชการในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เมื่ออายุ 28 ปี

กำพลได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516

งานหนังสือพิมพ์

ราวเดือนมีนาคม พ.ศ. 2490 กำพลเข้าทำงานเป็นผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์หลักไทย ในสมัยที่เลิศ อัศเวศน์เป็นบรรณาธิการ อยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง ระหว่างนั้นก็เป็นพนักงานหาโฆษณาไปพร้อมกันด้วย ต่อมากำพลชักชวนเลิศและวสันต์ ออกหนังสือฉบับพิเศษชื่อ “นรกใต้ดินไทย” ที่เลิศเขียนขึ้นเป็นตอนๆ ลงในหนังสือพิมพ์หลักไทย โดยใช้เงินลงทุนจำนวน 2,000 บาท จากทุนส่วนตัวร่วมกับการหยิบยืม เมื่อพิมพ์จำหน่ายหักกลบลบหนี้แล้ว แบ่งเงินกันเป็นสามส่วน ยังมีเหลือไว้เป็นกองกลางอีก 6,000 บาท จากนั้นกำพลปรึกษากับเลิศและวสันต์ว่า น่าจะออกหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์สักฉบับหนึ่ง จึงไปจดทะเบียนหนังสือพิมพ์กับกองบังคับการตำรวจสันติบาล ใช้ชื่อว่า “ข่าวภาพ” รายสัปดาห์ โดยใช้ตราเป็นรูปกล้องถ่ายภาพ สายฟ้าและฟันเฟืองซ้อนกันอยู่ในวงกลม ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของหนังสือพิมพ์ที่กำพลเป็นเจ้าของตลอดมา

อุปสมบท

ในระหว่างทำหนังสือพิมพ์ “ข่าวภาพ” รายวัน กำพลเข้าอุปสมบทที่วัดลาดบัวขาว ถนนตก กรุงเทพมหานคร โดยมอบหมายให้ประณีตศิลป์ผู้เป็นภรรยา และวสันต์ร่วมกันบริหาร โดยเมื่อลาสิกขาบทแล้ว ก็กลับมาบริหารหนังสือพิมพ์ “ข่าวภาพ” ต่อไป

ต่อมาเมื่อเกิดกบฏแมนฮัตตันขึ้นในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2494 มีพิธีส่งมอบเรือขุดสันดอนแมนฮัตตันจากอุปทูตสหรัฐอเมริกา โดยจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีที่ท่าวรดิษฐ แต่แล้วทหารเรือกลุ่มหนึ่ง เข้าจี้นำลงเรือเร็วไปควบคุมตัวไว้ที่เรือรบหลวงศรีอยุธยา ซึ่งลอยลำอยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยาตอนหน้ากองทัพเรือ รุ่งขึ้นเวลา 10.00 น.เศษ กำพลและเลิศเช่าเรือสำปั้นจากท่าปากคลองตลาด โดยกำพลเป็นฝีพายเรือมุ่งหน้าไปยังเรือหลวงศรีอยุธยา หมายจะได้สัมภาษณ์จอมพล ป.และให้เลิศเป็นช่างภาพ

เกียรติยศ

  • ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิก สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2516, สมาชิก สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2520 และสมาชิกวุฒิสภา 3 สมัยติดต่อกัน
  • ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงสุด ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก เมื่อ พ.ศ. 2533
  • ได้รับพระราชทานเหรียญกาชาดสรรเสริญชั้นที่ 1
  • หนังสือ “เปเปอร์ ไทเกอร์ส” (Paper Tigers) ที่เขียนโดยนิโคลัส โคลริดจ์ นักเขียนและนักหนังสือพิมพ์ชาวอังกฤษ กล่าวชื่นชมกำพลไว้ในบทความเรื่อง “25 คนหนังสือพิมพ์ผู้ยิ่งใหญ่ของโลก พร้อมวิถีทางแห่งชัยชนะ”
  • หนังสือ “ฮู’ส ฮู อิน เดอะ เวิร์ลด์” (Who’s Who in the World) ที่จัดพิมพ์โดยบริษัทคิงส์พอร์ท รัฐเทนเนสซี สหรัฐอเมริกา ฉบับปี ค.ศ. 1976-1977 นำประวัติของกำพลไปตีพิมพ์ พร้อมทั้งมอบเกียรติบัตรในนามคณะกรรมการการพิมพ์มาร์ควิสอีกด้วย
  • นิตยสาร “อินเวสเตอร์” ภาษาอังกฤษรายเดือน ฉบับประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. 2512 กล่าวยกย่องกำพลในบทความเศรษฐกิจเรื่อง “กำพล วัชรพล : ลอร์ด ทอมสัน แห่งประเทศไทย”
  • มูลนิธิหนังสือพิมพ์แห่งเอเชีย ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงมะนิลาของฟิลิปปินส์ เชิญกำพลเข้าร่วมเป็นกรรมการบริหาร
  • รถยนต์เชฟโรเลตรุ่นอิมพาลาเปิดประทุน ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่สำคัญชิ้นหนึ่งของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เนื่องจากใช้เป็นพาหนะสำหรับนางงามที่ได้รับตำแหน่งสูงสุด หรือนักกีฬาที่ได้รับเหรียญรางวัล ในการตระเวนเฉลิมฉลองทั่วกรุงเทพมหานคร อาทิ อาภัสรา หงสกุล, พเยาว์ พูนธรัตน์, สมรักษ์ คำสิงห์, วิชัย ราชานนท์ เป็นต้น

ครอบครัว

กำพลสมรสกับคุณหญิงประณีตศิลป์ (สกุลเดิม: ทุมมานนท์) เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2493 มีบุตรธิดารวม 3 คน คือยิ่งลักษณ์, สราวุธ และอินทิรา (ญ) นอกจากนี้ กำพลยังมีบุตรธิดากับภรรยาอื่นอีก 5 คน คือฟูศักดิ์ (ช), นำพร (ญ), เกรียงศักดิ์ (ช), พีระพงษ์ (ช) และเพ็ชรากรณ์ (ญ)

อนิจกรรม

เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2538 กำพลมีอาการอึดอัดแน่นท้อง จึงเข้ารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โดยแพทย์ตรวจพบเนื้องอกที่ไต และเข้าผ่าตัดมะเร็งนี้สองครั้ง แต่อาการกลับทรุดลงตามลำดับ จนถึงแก่อนิจกรรมอย่างสงบ เมื่อเวลา 01.45 น. วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 ขณะมีอายุ 77 ปี 1 เดือน 25 วัน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

  • พ.ศ. 2533 -เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
  • พ.ศ. ไม่ปรากฏ -เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)

ดูเพิ่ม

  • มูลนิธิไทยรัฐ
  • โรงเรียนไทยรัฐวิทยา

อ้างอิง

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
องค์กร
ผู้บริหาร
คอลัมนิสต์
องค์กร
ผู้บริหาร
คอลัมนิสต์
รายพระนามและชื่อชาวไทยที่ได้รับการฉลองวาระครบรอบโดยองค์การยูเนสโก
รายพระนามและชื่อชาวไทยที่ได้รับการฉลองวาระครบรอบโดยองค์การยูเนสโก
พระมหากษัตริย์
พระบรมวงศานุวงศ์
พระภิกษุ
บุคคลสำคัญ
พระมหากษัตริย์
พระบรมวงศานุวงศ์
พระภิกษุ
บุคคลสำคัญ
The contents of this page are sourced from Wikipedia article. The contents are available under the CC BY-SA 4.0 license.
Lists
Kampol Watcharapol is in following lists
comments so far.
Comments
From our partners
Sponsored
Credits
References and sources
Kampol Watcharapol
arrow-left arrow-right instagram whatsapp myspace quora soundcloud spotify tumblr vk website youtube pandora tunein iheart itunes