peoplepill id: chuang-moolpinit
CM
Thailand
1 views today
1 views this week
Chuang Moolpinit
Thai painter

Chuang Moolpinit

The basics

Quick Facts

Intro
Thai painter
Work field
Gender
Male
The details (from wikipedia)

Biography

ช่วง มูลพินิจ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปี พ.ศ. 2556 เป็นศิลปินที่มีชื่อเสียงชาวไทย มีผลงานปรากฏทั้งในด้านจิตรกรรมและประติมากรรมตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา งานของช่วงในระยะแรกเริ่มเป็นภาพลายเส้นประยุกต์ลายไทย ต่อมาจึงใช้เทคนิคสีน้ำ และสีน้ำมัน ผลงานส่วนใหญ่แสดงถึงเรื่องราวของดอกไม้ แมลง สัตว์ มนุษย์ ผนึกเรื่องราวทางอุดมคติกับธรรมชาติ

ประวัติและงานศิลปะ

ช่วง มูลพินิจ เป็นศิลปินที่มีชื่อเสียงชาวไทย เกิดเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2483 ที่อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ปัจจุบัน ช่วง มูลพินิจ พำนักอยู่ที่ย่านบางกะปิ ชีวิตครอบครัวสมรสกับ จินดารัตน์ ผู้เป็นภริยา มีบุตรสาวด้วยกันทั้งหมดหนึ่งคน และมีหอศิลป์ที่แสดงผลงานเป็นของตนเองชื่อ "หอศิลป์ช่วง มูลพินิจ" ที่บ้านของตนเอง

การศึกษา

จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดบางน้อย ชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวัดกลางเหนือ สากลวิสุทธิ์ ด้วยความที่เป็นเด็กโรงเรียนวัด จึงทำให้มีความชื่นชอบในศิลปะแนวประติมากรรม จึงเข้ามาศึกษาด้านศิลปะที่กรุงเทพมหานคร ที่โรงเรียนศิลปศึกษา และเข้าศึกษาต่อที่คณะจิตรกรรมและประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ขณะเรียนก็ทำงานรับจ้างทำฉากภาพยนตร์ เขียนภาพฝาผนัง และงานศิลป์ต่างๆ จนจบอนุปริญญา

งานศิลปะ

งานของช่วงในระยะแรกเริ่มเป็นภาพลายเส้น ที่ประยุกต์ความอ่อนช้อยของลายไทย เข้ากับรูปทรงแบบเหมือนจริงได้อย่างกลมกลืน ต่อมาจึงได้พัฒนามาใช้เทคนิคสีน้ำและสีน้ำมัน ส่วนใหญ่แสดงถึงเรื่องราวของดอกไม้ แมลง สัตว์ มนุษย์ ทั้งในแง่อีโรติก จนกระทั่งถึงนัยการมองเห็นในวัฏสงสารของชีวิต เป็นการผนึกเรื่องราวทางอุดมคติกับธรรมชาติเข้าไว้ด้วยกันอย่างงดงาม แนบเนียน ลงตัว

นอกจากนั้น ยังมีผลงานออกแบบและปั้นเกี่ยวกับศาสนาอีกหลายชิ้น เช่น ออกแบบและปั้นพระพุทธรูปยืนลีลาห้ามญาติ "พระพุทธอภัยมงคลสมังคี" ที่สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช ทรงสร้างถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อนำไปพระราชทานแก่ทุกจังหวัดในวโรกาสฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ได้ออกแบบ และควบคุมการตกแต่งพระมหาเจดีย์ วัดธรรมมงคล ที่ซอยสุขุมวิท 101 และวาดภาพสีน้ำมันขนาดใหญ่ 8 ภาพเป็นภาพปริศนาธรรมภายในวัด เป็นต้น

ผลงานที่รู้จักกันดีอีกอย่างหนึ่งคือ การออกแบบตัวหนังสือชื่อเรื่องและโปสเตอร์ภาพยนตร์ไทยในแนววรรณคดีหรือนิทานพื้นบ้านของไทย เช่น แผลเก่า, เลือดสุพรรณ, เพื่อน-แพง, ไกรทอง, กากี ซึ่งภาพโปสเตอร์เรื่อง เพื่อน-แพง ได้รับเลือกเป็นหนึ่งในโปสเตอร์ที่งามที่สุดในโลกในการส่งเข้าประกวด ที่สถาบันโรงภาพยนตร์แห่งชาติ กรุงลอนดอน เมื่อปี พ.ศ. 2526

การทำงาน

เริ่มต้นทำงานที่ศูนย์ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ตำแหน่งออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องเขิน ระหว่างการทำงานอยู่ ที่นี่ได้รับการชักชวนจากสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ให้มาเขียนภาพลายเส้นประกอบ หนังสือสยามสมัย ต่อมาได้เขียนภาพประดับในหนังสือและนิตยสารต่าง ๆ เช่น ช่อฟ้า, ชาวกรุง, เฟื่องนคร และสยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ จนเริ่มเป็นที่รู้จักด้วยผลงานเขียนลายเส้นแบบฟรีแฮนด์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว รวมถึงได้เขียนลายเส้นที่หน้าปกหนังสือ เสเพลบอยชาวไร่ ของ’รงค์ วงษ์สวรรค์ และหน้าปกหนังสือ กามนิต วาสิฏฐี ด้วย

จากนั้นได้ลาออกจากกระทรวงอุตสาหกรรมหลังจากทำอยู่ 9 ปี เพื่อเริ่มงานใหม่ ที่บริษัทโฆษณาอีก 3 ปี และหลังจากนั้นก็เปลี่ยนมาเป็นศิลปินอิสระแบบเต็มตัว

หอศิลป์ ช่วง มูลพินิจ

อาคารหอศิลป์ 3 ชั้น ตั้งอยู่บนถนนรามคำแหง เขตสะพานสูง ด้านในจัดแสดงผลงานกว่า 80 ชิ้น ที่เก็บสะสมผลงานตั้งแต่ยุคแรกจนถึงปัจจุบัน อาทิเช่น ภาพลายเส้น, สีน้ำ, สีน้ำมัน, ภาพพิมพ์, งานปฏิมากรรม, งานออกแบบต่างๆ เพื่อเปิดโอกาสแก่ นักศึกษา และผู้สนใจงานศิลปะได้เข้าชม (ไม่คิดค่าเข้าชม) รวมทั้งเป็นการแสดงให้เห็นถึง วิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงรูปแบบผลงานของคุณช่วง หอศิลป์ช่วง มูลพินิจเริ่มเปิดเป็นทางการในเดือน มีนาคม ปีพ.ศ. 2545

จุดเริ่มต้นของหอศิลป์นี้เนื่องจากบ้านเดิมที่ ลาดพร้าวหลังเล็ก เก็บงานได้น้อย คนมาชมงานก็ลำบาก ถึงคราวน้ำท่วมก็เสียหาย จึงทำหอศิลป์ขึ้นมาเป็นที่ทำงานและจัดแสดงผลงานให้ผู้สนใจงานมาดู โดยได้อาจินต์ ปัญจพรรค์ อดีตบรรณาธิการนิตยสารฟ้าเมืองไทยรายสัปดาห์มาเปิด ที่ผ่านมามีผู้สนใจเข้ามาเรื่อยๆ โดยมาเป็นหมู่คณะ เป็นนักเรียนนักศึกษา หอศิลป์ช่วง มูลพินิจ เปิดให้เข้าชมเป็นประจำในทุกวันอาทิตย์ สุดท้ายของเดือน เวลา 10.00 – 17.00 น. หรือหากต้องการเข้าชมนอกเวลาทำการ สามารถโทรนัดล่วงหน้า

ผลงานศิลปะ

ประวัติการแสดงงานนิทรรศการเดี่ยว

  • พ.ศ. 2513 : มินิ-เมนิ สยามสแควร์
  • พ.ศ. 2519 : สถาบันวัฒนธรรมเยอรมัน
  • พ.ศ. 2523 : สถาบันวัฒนธรรมเยอรมัน
  • พ.ศ. 2530 : หอศิลปแห่งชาติถนนเจ้าฟ้า
  • พ.ศ. 2530 : โรงแรมอิมพีเรียล
  • พ.ศ. 2543 : ห้องแสดงศิลปกรรมศยาม จ.ภูเก็ตนิทรรศการกลุ่ม
  • พ.ศ. 2524-พ.ศ. 2543 ในประเทศและต่างประเทศ (จีน ฝรั่งเศส เยอรมัน อเมริกา)

ผลงานศิลปะทางพุทธศาสนา

  • พ.ศ. 2524 : ออกแบบพระประธานพระธรรมกาย วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี
  • พ.ศ. 2525 : ออกแบบและปั้นพระพุทธอภัยมลคงสมังคีที่สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช ทรงสร้างถวายสมเด็จพระจ้าอยู่หัวฯ เพื่อนำไปพระราชทานแก่ทุกจังหวัดในวโรกาส เฉลิมฉลองรัตนโกสินทร์ 200 ปี
  • พ.ศ. 2526 : ออกแบบและควบคุมภาพปั้นนูนต่ำ ขนาน 12×27 เมตร 2 ภาพ (ภาพปฐมเทศนา และภาพมารผจญ) ประดับพระมหาเจดีย์ (พระวิริยะมงคลมหาเจดีย์) วัดธรรมมงคลเถาบุญญนนทวิหาร สุขุมวิท 101 ก.ท.ม.
  • พ.ศ. 2528 : ออกแบบและควบคุมภาพปั้นนูนต่ำปฏิปทาของท่านพระอาจารย์ วัน อุตตโม โดยรอบพิพิธภัณฑ์ของพระอาจารย์วัน อุตตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม จ.สกลนคร
  • พ.ศ. 2532 : ออกแบบอุโบสถวัดเขาดินวนาราม อ.เมือง จ.ชุมพร
  • พ.ศ. 2534 : ออกแบบพระพุทธประธานที่มรูปลักษณ์เหมือนคนจริงให้บริษัทบุญรอดบริเวอรี่
  • พ.ศ. 2535 : ออกแบบเจดีย์ที่ระลึก หลวงปู่คำดี วัดถ้ำผาปู่ อ.เมือง จ.เลย
  • พ.ศ. 2536 : ออกแบบพระพุทธวิสุทธิธรรมกายนิมิตร วัดราชโอรส
  • พ.ศ. 2539 : ออกแบบจิตรกรรมฝาผนังภายใน โดมมหาวิหาร พระไตรปิฎกหินอ่อน พุทธมณฑล
  • พ.ศ. 2541 : ออกแบบและควบคุม การปั้นหล่อพระนาคปรกจอมปลวก เศียรเดียว ขนาด 2 เท่า คนจริง

ผลงานอื่นๆ

  • พ.ศ. 2534 : ออกแบบภาพปั้นนูนต่ำ “นักรบที่แท้จริง” ขนาด 6X2 เมตร ติดตั้งที่หน้าอาคารสำนักงานใหญ่ หนังสือพิมพ์มติชน
  • พ.ศ. 2538 : ออกแบบและควบคุมการปั้น “สิงโตคู่” ปฏิมากรรมโลหะสำริด ติดตั้งที่สำนักงานใหญ่ธนาคารกสิกรไทย (ขนาดแต่ละตัวยาว 3.50 เมตร กว้าง 2.50 เมตร น้ำหนัก 5 ตัน)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

  • Order of the Direkgunabhorn 4th class (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้น จตุตถดิเรกคุณาภรณ์

    อ้างอิง

    The contents of this page are sourced from Wikipedia article. The contents are available under the CC BY-SA 4.0 license.
    Lists
    Chuang Moolpinit is in following lists
    comments so far.
    Comments
    From our partners
    Sponsored
    Chuang Moolpinit
    arrow-left arrow-right instagram whatsapp myspace quora soundcloud spotify tumblr vk website youtube pandora tunein iheart itunes