peoplepill id: yen-isarasena
Yen Isarasena
The basics
Quick Facts
The details (from wikipedia)
Biography
มหาเสวกเอก เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (นามเดิม: หม่อมราชวงศ์เย็น อิศรเสนา; 31 มีนาคม พ.ศ. 2405 - 26 มกราคม พ.ศ. 2484) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ -เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. 2458 -เครื่องราชอิสริยาภรณ์วชิรมาลา (ว.ม.ล.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 1 (ป.ป.ร.1)
ประวัติ
ชาติกำเนิด
เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ เป็นบุตรของหม่อมเจ้าเสาวรส อิศรเสนา และหม่อมมุหน่าย อิศรเสนา เกิดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2405 ที่พระตำหนัก หม่อมเจ้าเสาวรส อิศรเสนา บริเวณถนนพระอาทิตย์ กรุงเทพมหานคร สมรสกับหม่อมราชวงศ์หญิงอรุณ นพวงศ์
การศึกษา
- พ.ศ. 2412 อายุ 8 ขวบ เข้าเรียนกับหลวงตา (บิดาของหม่อมมุหน่าย) ที่วัดทองปุ (วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร)
- พ.ศ. 2418 อายุ 12 ขวบ เข้าโรงเรียนบุตรข้าราชการ มีพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เป็นอาจารย์
- พ.ศ. 2420 อายุ 16 ขวบ ออกจากโรงเรียน ไปฝึกงานด้านการชุบเงิน-ทองที่โรงชุบจนทองของหม่อมเทวาธิราช (หม่อมราชวงศ์แดง อิศรเสนา) ข้างสะพานรามบุตรี (ปัจจุบันอยู่บริเวณสถานีบริการน้ำมันใกล้ซอยรามบุตรี ถนนพระอาทิตย์) ทำหน้าที่ชุบ ล้างและขัดมันองค์พระพุทธรูป
การรับราชการ
รัชกาลที่ 5
- พฤศจิกายน พ.ศ. 2420 รับราชการยศนายสิบทหาร ห้อง (ช่าง) เงินเดือน 12 บาท มีหน้าที่ ควบคุมบังคับช่างที่รักษาความสะอาดในพระที่นั่ง
- พ.ศ. 2425 ผู้บังคับกรมเด็กชา (รวม ขุนหมื่นชาวที่เข้ากับ ลูกหมู่ลาวสีไม้) มี ตำแหน่งเทียบเท่า นายร้อยทหารหน้า
- พ.ศ. 2428 เป็นหลวงราชดรุณรักษ์ เทียบเท่าร้อยโทกรมทหารหน้า
- พ.ศ. 2433 เป็นยกกรมเด็กชาขึ้นเป็นกระทรวงวัง
- พ.ศ. 2436 เป็นหลวงสิทธินายเวร
- พ.ศ. 2441 เป็นจมื่นเสมอใจราชหัวหมื่นมหาดเล็กเวรสิบ
- พ.ศ. 2443ปฏิบัติงานในกรมสุขาภิบาล (จัดทำถนนและสาธารณสถาน) ซึ่งต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้เป็นเจ้ากรมโยธา ทำการก่อสร้างทั่วไป
- พ.ศ. 2446อายุ 40 ปี เป็น พระยาวรพงษ์พิพัฒน์ จางวางมหาดเล็ก ซึ่งเป็นตำแหน่งชั้นสูงสุดของข้าราชการสำนัก
- พ.ศ. 2452เป็นผู้ดูแลกำกับการสร้างท่าเทียบเรือพระที่นั่ง
รัชกาลที่ 6
- พ.ศ. 2453 เป็นองคมนตรี ในสมัยรัชกาลที่ 6
- พ.ศ. 2455 ดำรงตำแหน่งในสภาจางวาง ยศจางวางโท
- พ.ศ. 2456 เป็นอธิบดีกรมตรวจมหาดเล็ก
- พ.ศ. 2457 เป็นจางวางเอก
- พ.ศ. 2458 ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมอัศวราชอีกตำแหน่งหนึ่ง
รัชกาลที่ 7
- พ.ศ. 2469 ผู้บัญชาการมหาดเล็กกรรมการชำระสะสางเงิน พระคลังข้างที่ และตัดทอนรายจ่ายราชสำนัก
- พ.ศ. 2469 ผู้รั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงวัง
- พ.ศ. 2469 ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ สกุลกษัตริ์ยศรีบวรราชเสนานุรักษ์ มหาสวามิภักดิ์บรมราชูปสดมภ์ ศุทธสมเสวกามาตย์มหาร์ชวังคณบดี ราชธรรมปรเพณีศรีรัตนมนเทียรบาล มุทราธารนนทิวาหเนศ บุนยเกษตรศรณเกษมสวัสดิ์ บรมราชาธิปัตเยนทรมนตรี มหาเสนาบดีอภัยพีริยปรากรมพาหุ ศักดินา 10000 ไร่ เงินเดือน 2,200 บาท
- พ.ศ. 2470 เสนาบดีกระทรวงวัง
- พ.ศ. 2475 ผู้สำเร็จราชการพระราชวัง หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
- พ.ศ. 2476 เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัง
- พ.ศ. 2477 ออกจากราชการหลังจากยุบกระทรวงวังเป็นสำนักพระราชวัง รับบำนาญเดือนละ 950 บาท รวมอายุราชการ 57 ปี
รัชกาลที่ 8
- 26 ม.ค. 2484 ถึงแก่อสัญกรรม
การประกอบธุรกิจ
- 2426 - 2427 ธุรกิจรับส่งผู้โดยสาร โดยรถม้า และรถเก๋ง
- 2428 ธุรกิจสร้างตู้เสาเกลียว เครื่องเรือน และทำเครื่องแป้ง
- 2439ธุรกิจโรงเลื่อยจักร ข้างวัดตรี ริมคลองบางลำพู (หน้าวัดรังสี)
- 2444 ธุรกิจเตาเผาอิฐ
- 2445 - 2447 ธุรกิจโรงสีข้าวที่บางโพ
- 2450 ตั้งท่าเรือจ้าง ณ ถนนพระอาทิตย์ ธุรกิจเรือเมล์เขียว (คลองบางหลวง)
- 2451 ได้รับพระบรมราชานุญาตให้ก่อตั้งบริษัท รถไฟบางบัวทอง จำกัดสินใช้ โดย สร้างทางรถไฟสายบางบัวทองลงทุนด้วยเงินยืม
- 2452 ธุรกิจมวนบุหรี่ ต่อมาสนใจโรงงานยาสูบ
- 2458 เริ่มเดินรถไฟสายบางบัวทอง ใช้รถจักรไอน้ำ ราง 75 เซนติเมตร โดนใช้รถจักรไอน้ำขนาดเล็ก
- 8 มกราคม 2465 ได้ทำสัญญากับกรมรถไฟหลวงเพื่อขยายเส้นทางรถไฟ (หลักฐานสัญญาเก็บรักษาที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
- 2465 - 2469ธุรกิจโรงงานน้ำตาลทรายที่ทับหลวง ลงทุนด้วยเงินยืม แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ
- 2468 จดทะเบียน ตั้งบริษัท รถไฟบางบัวจำกัดสินใช้
- 2469 เริ่มการขยายเส้นทางไป วัดระแหง ที่ ลาดหลุมแก้ว
- 2470 ต่อมาปรับปรุงจากรถกำลังไอน้ำ พลังงานฟืน มาเป็นรถราง 4 ล้อ เครื่องเบนซิน โดยใช้น้ำมัน ตราหอย จาก บริษัทอิสเอเชียติก ปิโตรเลียม จำกัด ซึ่งปัจจุบัน คือ น้ำมัน เชลล์ จาก บริษัทเชลล์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) แต่ต่อมา ซื้อน้ำมันจาก โซโกนี่ (เปลี่ยนชื่อเป็น สแตนดาร์ดแวคัมออยล์ เมื่อปี 2477) ซึ่งปัจจุบันคือบริษัทเอสโซสแตนดาร์ด (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
- 5 เมษายน 2473 แก้ไขสัญญาเดินรถไฟบางบัวทองกับกรมรถไฟหลวง เพื่อ ถอนรางที่ อยู่วัดเฉลิมพระเกียรติ (ตรงข้ามศาลากลางจังหวัดนนทบุรีเดิมที่ตลาดขวัญ) ให้เดินรถไฟตรงไปที่ท่านั้นฝั่งตรงข้ามศาลากลางจังหวัดนนทบุรีแห่งใหม่ที่บางขวางพร้อมยืดระยะรถไฟจากบางบัวทองไปที่วัดระแหง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี (หลักฐานสัญญาเก็บรักษาที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ เช่นกัน)
- 2477 แก้ไขรถราง 4 ล้อให้มาใช้ น้ำมันดีเซล แทนเพื่อลดค่าใช้จ่าย
- 19 กุมภาพันธ์ 2480 เปิดอุบัติเหตุ รถราง 4 ล้อรถไฟบางบัวทองชนกัน คนขับ ช้ำในตายที่โรงพยาบาลกลาง
- 2483 เมื่อ บริษัทอิสเอเชียติก ปิโตรเลียม จำกัด และ สแตนดาร์ดแวคัมออยล์ เลิกการจำหน่ายน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศไทย รถไฟบางบัวจำกัดสินใช้ ต้องซื้อน้ำมันดีเซล จากกรมเชื้อเพลิง กระทรวงกลาโหม (น้ำมันสามทหาร) แทน
- 16 กรกฎาคม 2485 ประกาศเลิกกิจการ รถไฟบางบัวทอง แล้วดำเนินการถอนรางและ รถจักรไปขาย บริษัทส่งเสริมอุตสาหกรรมไทย จำกัด เจ้าของโรงงานน้ำตาลวังกะพี้
- กันยายน 2485 เริ่มการถอนรางและไม้หมอนไปกองรวมกันที่ สถานีรถไฟบางบำหรุ
- 2 มกราคม 2486 เลิกกิจการรถไฟบางบัวทอง อย่างเป็นทางการ
อ้างอิง
- หม่อมหลวงยิ่งศักดิ์ อิศรเสนา. ประวัติ เจ้าพระยาวรพงษ์พิพัฒน์ กรุงเทพ , สำนักพิมพ์บรรณกิจ (1991) จำกัด , 2525.
- อนุสรณ์ในงานเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพ หลวงพิสูจน์พาณิชลักษณ์ (หม่อมหลวงเพิ่มยศ อิศรเสนา) ม.ว.ม., ป.ช.,ท.จ.ว. ณ. เมรุหลวงหน้า พลับพลาอิศร์ยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส. วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม 2528.
- เอกสารชุดรถไฟบางบัวทอง จากกรมราชเลขาธิการ สมัยรัชกาลที่ 6 และ รัชกาลที่ 7 (มีในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
- เอกสารชุดรถไฟบางบัวทอง จากสำนักนายกรัฐมนตรี (มีในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
แหล่งข้อมูลอื่น
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 5 ของไทย | ||
---|---|---|
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 5 ของไทย | ||
นายกรัฐมนตรี | พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) | |
กลาโหม | ||
การคลัง | เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) | |
การต่างประเทศ | พระยาอภิบาลราชไมตรี (ต่อม บุนนาค) | |
มหาดไทย | พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) • ปรีดี พนมยงค์ | |
ยุติธรรม | พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ (วัน จามรมาน) | |
ธรรมการ | ||
เศรษฐการ | ||
วัง | ||
ไม่ประจำกระทรวง | พระดุลยธารณปรีชาไวท์ (ยม สุทนุศาสน์) • หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์) • หลวงนฤเบศร์มานิต (สงวน จูฑะเตมีย์) • แปลก พิบูลสงคราม • พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา) • หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) • พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ (ตุ๋ย บินอับดุลลาห์) • พระสิทธิเรืองเดชพล (แสง พันธุประภาส) • หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน) • พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค) | |
นายกรัฐมนตรี | พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) | |
กลาโหม | ||
การคลัง | เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) | |
การต่างประเทศ | พระยาอภิบาลราชไมตรี (ต่อม บุนนาค) | |
มหาดไทย | พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) • ปรีดี พนมยงค์ | |
ยุติธรรม | พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ (วัน จามรมาน) | |
ธรรมการ | ||
เศรษฐการ | ||
วัง | ||
ไม่ประจำกระทรวง | พระดุลยธารณปรีชาไวท์ (ยม สุทนุศาสน์) • หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์) • หลวงนฤเบศร์มานิต (สงวน จูฑะเตมีย์) • แปลก พิบูลสงคราม • พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา) • หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) • พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ (ตุ๋ย บินอับดุลลาห์) • พระสิทธิเรืองเดชพล (แสง พันธุประภาส) • หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน) • พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค) | |
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 6 ของไทย | ||
---|---|---|
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 6 ของไทย | ||
นายกรัฐมนตรี | พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) | |
กลาโหม | แปลก พิบูลสงคราม | |
การคลัง | ||
การต่างประเทศ | ||
เกษตราธิการ | ||
มหาดไทย | ||
ยุติธรรม | ||
ธรรมการ | ||
เศรษฐการ | ||
วัง | ||
ไม่ประจำกระทรวง | พระดุลยธารณปรีชาไวท์ (ยม สุทนุศาสน์) • | |
นายกรัฐมนตรี | พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) | |
กลาโหม | แปลก พิบูลสงคราม | |
การคลัง | ||
การต่างประเทศ | ||
เกษตราธิการ | ||
มหาดไทย | ||
ยุติธรรม | ||
ธรรมการ | ||
เศรษฐการ | ||
วัง | ||
ไม่ประจำกระทรวง | พระดุลยธารณปรีชาไวท์ (ยม สุทนุศาสน์) • | |
รัฐมนตรีว่าการ | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เสนาบดี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัง ของไทย | ||||||||
| ||||||||
เสนาบดี | ||||||||
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา • สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ • เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล) • เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (หม่อมราชวงศ์เย็น อิศรเสนา) | ||||||||
| ||||||||
รัฐมนตรีว่าการ | ||||||||
| ||||||||
เสนาบดี | ||||||||
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา • สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ • เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล) • เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (หม่อมราชวงศ์เย็น อิศรเสนา) | ||||||||
| ||||||||
รัฐมนตรีว่าการ | ||||||||
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา • สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ • เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล) • เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (หม่อมราชวงศ์เย็น อิศรเสนา) | ||||||||
The contents of this page are sourced from Wikipedia article.
The contents are available under the CC BY-SA 4.0 license.
Lists
Yen Isarasena is in following lists
By work and/or country
comments so far.
Comments
Credits
References and sources
Yen Isarasena