peoplepill id: wibun-thammabut
WT
1 views today
1 views this week
The basics

Quick Facts

The details (from wikipedia)

Biography

วิบูลย์ ธรรมบุตร หรือ หลวงวิบูลวันกิจ เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหกรณ์ อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ประวัติ

วิบูลย์ ธรรมบุตร เกิดเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2441 ที่ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นบุตรของนายทันและนางคง ธรรมบุตร

ในปี พ.ศ. 2450 นายวิบูลย์ได้เข้ามาศึกษาในกรุงเทพฯ โดยอาศัยอยู่กับญาติซึ่งมีบ้านพักติดกับวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ศึกษาภาษาอังกฤษครั้งแรกกับสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อยู่ ญาโณทโย) ต่อมาได้เรียนจนสำเร็จชั้นมัธยมปี่ที่ 6 จากโรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์ และเรียนในแผนกวนศาสตร์ (ป่าไม้) คณะยนตรศึกษา (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) จากนั้นในปี พ.ศ. 2461-2462 ได้รับทุนรัฐบาลไปศึกษาวิชาการป่าไม้ ณ ประเทศพม่า ได้รับประกาศนียบัตรวิชาการป่าไม้ชั้นสูง และประกาศนียบัตรปฐมพยาบาล

นายวิบูลย์ ธรรมบุตร ได้สมรสกับนางกุ่มศรี มีบุตรธิดา 9 คน และได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2509

การทำงาน

วิบูลย์ เข้ารับราชการในปี พ.ศ. 2463 ในตำแหน่งรองผู้ช่วยเจ้ากรมป่าไม้ ชั้นสอง กรมป่าไม้ กระทั่งในปี พ.ศ. 2495 ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ซึ่งดำรงตำแหน่งนี้ตลอดมา และพ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2508 ขณะดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี 2 วาระ คือ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหกรณ์ ในคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 27 ซึ่งมีนายพจน์ สารสิน เป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 28 ซึ่งมีพลโทถนอม กิตติขจร (ยศในขณะนั้น) เป็นนายกรัฐมนตรี

ในขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี เขาได้รับแต่งตั้งเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อีกตำแหน่งหนึ่ง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

  • พ.ศ. 2507 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
  • พ.ศ. 2504 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
  • พ.ศ. 2487 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ร.)
  • พ.ศ. 2500 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)

อ้างอิง

The contents of this page are sourced from Wikipedia article. The contents are available under the CC BY-SA 4.0 license.
Lists
Wibun Thammabut is in following lists
comments so far.
Comments
From our partners
Sponsored
Credits
References and sources
Wibun Thammabut
arrow-left arrow-right instagram whatsapp myspace quora soundcloud spotify tumblr vk website youtube pandora tunein iheart itunes