Thawatchai Samutsakhon
Quick Facts
Biography
พลเอก ธวัชชัย สมุทรสาคร สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 กรรมการในคณะกรรมการประสานงาน รวม 3 ฝ่ายตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 336/2558สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ อดีตราชองครักษ์พิเศษ กรรมการตรวจสอบและกรรมการอิสระ บริษัท อินเตอร์ลิงก์ เทเลคอม จำกัด (มหาชน) อดีตแม่ทัพภาคที่ 2 อดีตแม่ทัพน้อยที่ 2 เป็นคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการ และการบริหารงานของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และเป็นประธานบริหารบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด
ประวัติ
พล.อ. ธวัชชัย สมุทรสาคร เกิดเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2495 ที่อำเภอโนนไทยจังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรของนายวิเชียร และนางสีมา สมุทรสาคร มีพี่น้อง4คน สมรสกับนางศิริพร สมุทรสาคร มีบุตรด้วยกัน 2 คนคือ พ.ท. กฤติพงศ์ สมุทรสาคร และ พ.ต. พิศุทธิ์ สมุทรสาคร เป็นเพื่อนสนิทกับ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
การศึกษา
- พ.ศ. 2509 มัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2514 โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 12
- พ.ศ. 2517 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 23
- พ.ศ. 2517 หลักสูตรจู่โจม รุ่นที่ 39
- พ.ศ. 2518 หลักสูตรส่งทางอากาศ รุ่นที่ 94
- พ.ศ. 2519 หลักสูตรชั้นนายร้อย เหล่าทหารราบ รุ่นที่ 51 โรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ
- พ.ศ. 2526 หลักสูตรชั้นนายพัน เหล่าทหารราบ รุ่นที่ 40 โรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ
- พ.ศ. 2528 หลักสูตรโรงเรียนเสนาธิการทหารบกหลักสูตรหลักประจำ ชุดที่ 63 สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง
- พ.ศ. 2531 หลักสูตรครูทำการรบ ณ ประเทศออสเตรเลีย
- พ.ศ. 2538 หลักสูตร พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันพัฒนาบริหารศาสตร์
- พ.ศ. 2539 หลักสูตรวิทยาลัยการทัพบก ชุดที่ 41 สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง
- พ.ศ. 2548 หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.48)
- พ.ศ. 2552 หลักสูตรการเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 1 ณ สำนักสันติวิธี สถาบันพระปกเกล้า
- พ.ศ. 2553 หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร การบริหารจัดการด้านความมั่นคงชั้นสูง รุ่นที่ 1 (วปอ.มส.1)
การรับราชการ
- พ.ศ. 2521 ผู้บังคับกองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบที่ 4 กรมผสมที่ 23
- พ.ศ. 2527 ผู้บังคับกองร้อยลาดตระเวนระยะไกลที่ 6
- พ.ศ. 2532 ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 23
- พ.ศ. 2540 ผู้บังคับกรมทหารราบที่ 23
- พ.ศ. 2544 รองผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่6
- พ.ศ. 2547 ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกสุรินทร์
- พ.ศ. 2548 ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 6
- พ.ศ. 2550 รองแม่ทัพภาคที่ 2
- พ.ศ. 2552 แม่ทัพน้อยที่ 2
- พ.ศ. 2553 แม่ทัพภาคที่ 2
- พ.ศ. 2555 ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลเอก)
งานการเมือง
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 พล.อ. ธวัชชัยได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคชาติพัฒนา ลำดับที่ 1 ต่อมาหลังจากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ยึดอำนาจการปกครองและประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แล้วนั้น พล.อ.ธวัชชัยได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติแต่ขาดคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่ง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. 2525 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 4 อัศวิน (อ.ร.)
- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 3 ตติยดิเรกคุณาภรณ์ (ต.ภ.)
- พ.ศ. 2536 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 1 (ส.ช.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)