Thamsuk Numnon
Quick Facts
Biography
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แถมสุข นุ่มนนท์ (21 มิถุนายน พ.ศ. 2478 – 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565) เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยและนักประวัติศาสตร์ชาวไทย ผู้ซึ่งมีผลงานจากหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ เช่น เมืองไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ขบวนการ ร.ศ. 130 ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-สหรัฐอเมริกา ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง และละครการเมือง : 24 มิถุนายน 2475
ประวัติ
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แถมสุข นุ่มนนท์ หรือ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.แถมสุข นุ่มนนท์ เกิดเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2478 ณ บ้านตึกแถว ริมแม่น้ำเจ้าพระยาตรงท่าโรงยาเก่า ใกล้กับปากคลองตลาด กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรสาวของร้อยตรีถัด รัตนพันธุ์ และ นางแส รัตนพันธุ์ (สกุลเดิม ณ พัทลุง) มีพี่น้องร่วมบิดา – มารดา 3 คน คือ แถมสิน รัตนพันธุ์ แถมศรี รัตนพันธ์ และแถมสร้อย รัตนพันธุ์
ชีวิตครอบครัวสมรสกับ นายสุรัตน์ นุ่มนนท์ บุตรชายคนเดียวของนายจำรัส และนางสง่า นุ่มนนท์ เมื่อปี 2506 มีบุตร 2 คน คือ
1. นายรณดล นุ่มนนท์ สมรสกับนางสาวปาลีรัฐ ศิลปพันธุ์ มีบุตรชาย 2 คน คือ นายปารณ นุ่มนนท์ และ นายปาณัท นุ่มนนท์
2. ดร. ธนชาติ นุ่มนนท์ สมรสกับ นางสาวสุวรรณี โสภณธรรมกิจ มีบุตรชายคนเดียวคือ นายนิธิรันดร์ นุ่มนนท์ และสมรสกับ ดร.ธนิศา เครือไวศยวรรณ มีบุตรชายคนเดียวคือ เด็กชายธีรธรรม นุ่มนนท์
การศึกษา
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.แถมสุข นุ่มนนท์ เริ่มต้นการศึกษาที่โรงเรียนสตรีจุลนาค หลานหลวง แต่เรียนได้ปีเดียวสงครามโลกครั้งที่สองก็เกิดขึ้น จนทำให้ครอบครัวตัดสินใจย้ายไปอยู่ที่จังหวัดพัทลุง และเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่สอง ที่โรงเรียนโสภณพัทลุงกุล(ปัจจุบันคือโรงเรียนสตรีพัทลุง) แต่เมื่อคุณพ่อเสียชีวิตอย่างกะทันหันด้วยโรคโลหิตในสมองแตกเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2487 ขณะที่ยังเป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง ทำให้ชีวิตครอบครัวถึงจุดเปลี่ยนแปลงคุณแม่ต้องรับภาระเลี้ยงดูลูกๆ ภายหลังจบชั้นประถมศึกษา ศ.เกียรติคุณ ดร. แถมสุข เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนสตรีพัทลุงจนจบมัธยมปีที 6 และได้รับทุนจากมูลนิธิฟุลไบร้ท์ จากโครงการรุ่นแรกที่ให้แก่นักเรียนต่างจังหวัดที่เรียนดีแต่ขาดแคลนมาเข้าเรียนเป็นนักเรียนประจำที่โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย โดยเลือกเรียนสายอักษรศาสตร์ และจบมัธยมปีที่ 8 รุ่น พ.ศ. 2495 โดยสอบได้ที่ 9 ของประเทศ และเข้าศึกษาต่อที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 ได้รางวัลทุนสุภาส จันทรโบส ในฐานะได้คะแนนยอดเยี่ยมหมวดประวัติศาสตร์ ภายหลังจบการศึกษา ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. แถมสุข ได้รับการบรรจุเป็นอาจารย์ที่แผนกวิชาประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 ก่อนได้รับทุนของมูลนิธิเอเชียที่ให้แก่บัณฑิตในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปศึกษาปริญญาโท วิชาประวัติศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยฮ่องกง สำเร็จการศึกษาปริญญาโทในปี พ.ศ. 2504 ด้วยการเขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง พัฒนาการของรัฐไทรบุรี-ปะลิส ค.ศ. 1909 – ค.ศ. 1941 ก่อนมาเป็นอาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกครั้งหนึ่งเป็นระยะเวลาสั้นๆ เพราะได้รับทุนบริติช เคาน์ชิล ไปศึกษาต่อปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยลอนดอน จนจบการศึกษาในปี พ.ศ. 2509 จากการเขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง การเจรจาทางการทูตระหว่างสยามกับอังกฤษ ค.ศ. 1900 -ค.ศ. 1909
การทำงาน
- อาจารย์ประจำแผนกวิชาภูมิ – ประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2501 – 2514)
- อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2514 – 2518)
- อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม(2518 – 2538)
- อาจารย์พิเศษคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2501 – 2514)
- อาจารย์พิเศษคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2501 – 2514)
- อาจารย์พิเศษคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2512 – 2514)
- อาจารย์พิเศษคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2519 – 2521)
- นักวิชาการรับเชิญประจำสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Institute of Southeast Asian Studies) สิงคโปร์ (2519)
- นักวิชาการรับเชิญประจำสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยคอร์เนล
- ศาสตราจารย์รับเชิญประจำมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ สหรัฐอเมริกา (2524 – 2525)
- อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยนเรศวร (2543 – 2546)
- อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (2543 – 2546) ภาคบริหารและงานวิชาการของมหาวิทยาลัย
- หัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2514 – 2518)
- หัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (2518 – 2522)
- คณบดีคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (2526 – 2530)
- กรรมการสภามหาวิทยาลัยศิลปากร (2526 – 2530)
- ประธานหลักสูตรวิชาพื้นฐานมหาวิทยาลัยศิลปากร (2527 – 2530)
- กรรมการกลั่นกรองหลักสูตรกลุ่มสาขาสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (2538 – 2546)
- กรรมการพิจารณาหลักสูตรสายสังคมศาสตร์ของทบวงมหาวิทยาลัย (2527 – 2537)
- อนุกรรมการวิสามัญเกี่ยวกับตำแหน่งทางวิชาการของทบวงมหาวิทยาลัย
- ประธานจัดทำโครงการและดำเนินการสอนเรื่องเมืองไทยให้แก่นักศึกษาวิทยาลัยเซนต์โอลาฟ วิทยาลัยหลุยส์ แอนด์ คล๊าก วิทยาลัยเวสลีย์ จากสหรัฐอเมริกา ซึ่งเข้ามาศึกษาที่คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี นับจากปี 2516 - 2531
งานวิชาการของสถาบันและสมาคม
- คณะกรรมการก่อตั้งและอุปนายกสมาคมประวัติศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี (2521 – 2530)
- กรรมการดำเนินงานประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร กรมยุทธศึกษาทหารบก กองบัญชาการทหารสูงสุด (2529 – 2537)
- กรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ 100 ปี พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สำนักนายกรัฐมนตรี (2535 – 2536)
- กรรมการวิจัยและพัฒนา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (2536 – 2542)
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (2536 – 2545)
- กรรมการคณะบรรณาธิการทำสารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย ราชบัณฑิตยสถาน (2534 – 2546)
- กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาปรัชญา (2534 – 2545)
- กรรมการพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันพระปกเกล้า (2543 – 2546)
รางวัลและทุนการศึกษา
- ทุนมูลนิธิการศึกษาไทย – อเมริกัน (ฟุลไบรท์) ระดับเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย (2494 – 2495)
- รางวัลทุนสุภาส จันทรโบส คะแนนยอดเยี่ยมหมวดประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2500)
- รางวัลรันซีแมน ชนะประกวดเรียงความประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย (2500)
- ทุนมูลนิธิเอเชีย ศึกษาระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยฮ่องกง (2502 – 2504)
- ทุนบริติช เคาน์ซิล ศึกษาระดับปริญญาเอก มหาวิทยาลัยลอนดอน (2505 – 2509)
- ทุนซีโต้เพื่อทำวิจัยเรื่อง ที่ปรึกษาราชการชาวอเมริกันในประเทศไทย ที่สหรัฐอเมริกา (2516)
- ทุนมูลนิธิฟอร์ดเพื่อทำวิจัยเรื่อง เมืองไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ที่สิงคโปร์ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ (2518)
- ทุน American Council of Learned Societies เพื่อทำวิจัยเรื่อง เมืองไทยสมัยสงคราม เวียดนามที่สหรัฐอเมริกา (2522 – 2523)
- ได้รับเชิญจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา รัฐบาลญี่ปุ่น และรัฐบาลเยอรมัน ไปปาฐกถาในวาระ ฉลองครบรอบ 200 ปี อิสรภาพอเมริกา ฉลองครบรอบ 100 ปี สัมพันธภาพไทย – ญี่ปุ่น และการฉลองครบรอบ 50 ปี สงครามโลกครั้งที่สองที่มลรัฐฮาวาย (2519) กรุงโตเกียว (2530) นครเบอร์ลิน (2538)
- ได้รับทุนมูลนิธิโตโยต้า มูลนิธิเอเชีย มูลนิธิฟอร์ดและอื่น ๆ เข้าร่วมประชุมสัมมนาทางวิชาการและนำเสนอบทความในประเทศออสเตรเลีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมัน
ผลงานทางวิชาการ
หนังสือและงานวิจัย
- 2515 ประวัติศาสตร์ไทยและต่างประเทศ. พระนคร : กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.
- 2515 ไม่ยอมแพ้แก่โชคชะตา. (แปล). พระนคร : โครงการจัดพิมพ์หนังสือสำหรับประชาชน สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย.
- 2519 เรื่องเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.
- 2520 การสร้างชาติของจอมพล ป. พิบูลสงคราม สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง. กรุงเทพฯ : สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.
- 2521 ประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
- 2521 "เมืองไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง", . กรุงเทพฯ : บริษัทดวงกมล.
- 2521 การปกครองและสังคมไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
- 2522 ฟื้นอดีต. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เรืองศิลป์.
- 2522 "ขบวนการ ร.ศ. 130". กรุงเทพฯ : สถาบันไทยคดีศึกษา.
- 2522 ยังเติร์กรุ่นแรก : กบฏ ร.ศ. 130. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เรืองศิลป์.
- 2522 ประวัติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. (แปลร่วมกับคุณวรุณยุพา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา และคณะ)กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
- 2524 การเมืองและการต่างประเทศในประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
- 2525 ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-สหรัฐอเมริกา ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง.กรุงเทพฯ : สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย ", 2525
- 2525 “ประวัติศาสตร์บางขุนพรหม,” ที่ระลึกในการเปิดอาคารสำนักงานใหญ่ธนาคารแห่ง ประเทศไทย. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์. หน้า 297-364.
- 2528 การทูตไทยสมัยรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
- 2530 จากการแลกเปลี่ยนความรู้ไปสู่ความเข้าใจที่ดีต่อกัน 36 ปีของโครงการฟุลไบร์ทในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์
- 2535 ละครการเมือง 24 มิถุนายน 2475. สมาคมประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ : ศักดิ์โสภาการพิมพ์.
- 2536 สถานภาพการวิจัยสาขาประวัติศาสตร์ในประเทศไทย 2503-2535. สภาวิจัยแห่งชาติ.
- 2536 สังคมศึกษา ส.605. (แถมสุข นุ่มนนท์และคณะ). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช.พิมพ์ครั้งที่ 12 ฉบับปรับปรุง 2545.
- 2539 50 ปีพรรคประชาธิปัตย์กับการเมืองไทย. (เอกสารอัดสำเนา) ธันวาคม.
- 2544 เมืองไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สายธาร.
- 2544 สถานภาพงานวิจัยสาขาประวัติศาสตร์ในประเทศไทยระหว่าง พ.ศ. 2503-2535.(แถมสุข นุ่มนนท์และคณะ). กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
- 2545 เจาะเวลาหาอดีต หลักฐานประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
- 2545 ละครการเมือง 24 มิถุนายน 2475. กรุงเทพฯ : หอรัตนชัยการพิมพ์.
- 2545 ยังเติร์กรุ่นแรก กบฏ ร.ศ.130. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สายธาร.
- 2545 สภาร่างรัฐธรรมนูญ เส้นทางการปฏิรูปการเมืองไทย. นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า.
- 2546 นายแม่ (ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์) พิมพ์ประไพ พิศาลบุตร ผู้เขียน. กรุงเทพฯ : นามมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่นส์.
- 2548 เมืองไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ยุคเชื่อผู้นำชาติพ้นภัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ :สายธาร.
- 2550 กระเบื้องถ้วยกะลาแตก. (บรรณาธิการ) พิมพ์ประไพ พิศาลบุตร ผู้เขียน. กรุงเทพฯ :นามมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.มปป. หลักฐานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
- 1977 Thailand and The Japanese Presence 1941-1945. Singapore : Institute of Southeast Asian Studies.
- 2011 Bencharong. (Editorial Advisor) Jeffery Sng/Pim Praphai Bisalputra Authors Thailand : Amarin Printing and Publishing Plc.
บทความทางวิชาการที่พิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการหรือเคยนำเสนอในที่ประชุมวิชาการ
- 2511 “เอกสารภาษาฮอลันดา ค.ศ. 1608-1620 กรุงศรีอยุธยา ประเทศสยาม,” แถลงงาน ประวัติศาสตร์ เอกสารโบราณคดี, 2 (กันยายน), 49-76.
- 2513 “พระปรีชาญาณของพระพุทธเจ้าหลวง,” ชุมนุมจุฬา, (ตุลาคม), ม.ป.น.
- 2514 “การเจรจาทางการทูตระหว่างไทย-อังกฤษ 1900-1909,” วรรณไวทยากร. พระนคร : โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 4-14.
- 2515 “การปฏิรูปสังคมหัวเมืองด้านปกครอง,” ผาลาด, 2-6.
- 2515 “กระบวนการซ้ายในประเทศไทยก่อน พ.ศ. 2475,” จุลสารสัมพันธ์.
- 2516 “ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินชาวอเมริกันในประวัติศาสตร์ไทย,” แถลงงานประวัติศาสตร์ เอกสารโบราณคดี, 7(กันยายน), 50-60.
- 2517 “การเจรจาระหว่างรัฐบาลอังกฤษเรื่องไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปลิศ,” แถลงงานประวัติศาสตร์ เอกสารโบราณคดี, 8 (มกราคม-ธันวาคม), 7-15.
- 2517 “ที่ปรึกษาอเมริกันในประเทศไทย พ.ศ. 2446-2483,” วารสารธรรมศาสตร์, 4 (มกราคม-มีนาคม), 2-15.
- 2517 “ประวัติศาสตร์,” วิทยาศาสตร์สังคม, 239-256.
- 2518 “ที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศชาวอเมริกันในประเทศไทย พ.ศ. 2460-2483,”แถลงงานประวัติศาสตร์ เอกสารโบราณคดี, 9 (มกราคม-ธันวาคม), 152-167.
- 2518 “เทียนวรรณ,” จุลสารโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2 (มกราคม), 64-70.
- 2518 “พระราชปรารภทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และร่าง รัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย,” จันทรเกษม, 127 (มีนาคม-เมษายน), 51-56.
- 2518 “องค์ประกอบของนโยบายต่างประเทศไทย : นโยบายต่างประเทศของไทยสมัยก่อน สงครามโลกครั้งที่สอง,” อักษรศาสตร์, 1 (มิถุนายน-พฤศจิกายน), 59-64.
- 2519 “ที่ปรึกษาราชการชาวอเมริกันในประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 2446-2483,” ความสัมพันธ์ ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา, กรุงเทพฯ : แพร่พิทยา, 129-174.
- 2519 “ประวัติศาสตร์,” ปรัชญาประวัติศาสตร์, กรุงเทพฯ : พิฆเณศวร์, 33-69.
- 2519 “เมืองไทยยุคเชื่อผู้นำ,” วารสารธรรมศาสตร์, 6 (มิถุนายน-กันยายน), 120-148.
- 2519 “เมื่อประเทศไทยเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง,” วารสารประวัติศาสตร์, 1 (มกราคม-เมษายน), 14-33.
- 2520 “ขบวนการต่อต้านญี่ปุ่นของไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง,” วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 1 (ตุลาคม-ธันวาคม), 76-95.
- 2520 “สภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง,” วารสารธรรมศาสตร์, 7 (กรกฎาคม-กันยายน), 61-72.
- 2520 “เสียงสะท้อนจากการปฏิวัติอเมริกัน : ศึกษากรณีประเทศไทย,” วารสารประวัติศาสตร์,2 (กันยายน-ธันวาคม), 16-25.
- 2521 “จอมพล ป. พิบูลสงครามกับการสร้างชาติไทย พ.ศ. 2481-2487,” วารสารประวัติศาสตร์,3 (พฤษภาคม-สิงหาคม), 14-31.
- 2521 “ข้อคิดบางประการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475,” จุลสารสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2 (กันยายน-ธันวาคม), 6-13.
- 2522 “การไต่สวนและพิจารณาคดีกบฏ ร.ศ.130,” วารสารสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 16 (มกราคม-มีนาคม), 1-25.
- 2522 “แนวพระราชดำริทางการเมืองในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว,” คุรุปริทัศน์,4 (มีนาคม), 20-29.
- 2522 “แถลงการณ์ร่วมถนัด-รัสก์,” วารสารธรรมศาสตร์, 9 (ตุลาคม-ธันวาคม), 69-104.
- 2522 “ไทย-อเมริกา : พันธะสงครามเวียดนาม,” รวมบทความประวัติศาสตร์, 1 (กรกฎาคม), 97-132.
- 2523 “อาชญากรสงคราม พ.ศ. 2488,” วารสารประวัติศาสตร์, 5 (พฤษภาคม-สิงหาคม), 1-32.
- 2524 “ขบวนการต่อต้านอเมริกันสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม,” รวมบทความประวัติศาสตร์,
- 2524 “ทัศนะบางประการต่อคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ : ตัวอย่างกรณีผลงานเรื่อง ประเทศไทยกับสงครามโลกครั้งที่สอง,” โลกหนังสือ, 4 (กุมภาพันธ์), 68-73.
- 2524 “ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสายตาอเมริกัน,” ศิลปวัฒนธรรม, 2, 31-37.
- 2525 “ไทยกับญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง : เมืองมิตรหรือเมืองขึ้น,” เอกสารวิชาการไทย-ญี่ปุ่นศึกษา, 4 (สิงหาคม), 85-123.
- 2526 “สัมพันธภาพไทย-อังกฤษ เรื่อง กลันตัน ตรังกานู พ.ศ. 2443-2445,” วารสารศิลปากร,27 (พฤษภาคม), 22-44.
- 2527 “ประวัติศาสตร์,” ปรัชญาประวัติศาสตร์, กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 25-43.
- 2527 “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับภูมิภาคตะวันตก,” เอกสารการประชุมวิชาการพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับภูมิภาคตะวันตกในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว : มหาวิทยาลัยศิลปากร, 374-389.
- 2530 “พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวกับประวัติศาสตร์ไทย,” 200 ปี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 1-10.
- 2531 “20 ปี คณะอักษรศาสตร์,” อักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10 (มิถุนายน), 7-36.
- 2534 “ความวุ่นวายในสยาม 24 มิ.ย. – 4 ก.ค.2475,” อักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 14 (1), 9-25.
- 2535 “ศึกษาประวัติศาสตร์แบบบูรณาการ,” วันสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี : ประสานมิตร, 33-45.
- 2542 “แหล่งเก็บหลักฐานประวัติศาสตร์ในประเทศ,” งานวิจัยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้และประวัติศาสตร์ไทย. ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
- 1965 “The Anglo-Siamese Secret Convention of 1897,” The Journal of the SiamSociety, Llll (January), 45-60.
- 1967 “Anglo-Siamese Negoitiations 1900-1909,” Journal of the Faculty of Arts Chulalongkorn University, (January), 19-25.
- 1967 “Negotiations Regarding the Cession of Siamese Malay States 1907-1909,” The Journal of the Siam Society, LV (July), 227-235.
- 1968 The Anglo-Thai Treaty of 1909,” Papers Presented at the 4th International Conference on Asian History. Kuala Lumpur : University of Malaya.
- 1971 “The British Policy in the Malay Peninsula in the Early 20th Century,” Paper Presented at the 28th International Congress of Orientalists. Canberra : Australian National University.
- 1974 “The First American Advisers in Thai History,” The Journal of the Siam Society, LXll (July), 121-148.
- 1976 “The American Foreign Affairs Advisers in Thailand 1971-1940,” The Journal of the Siam Society, LXlV (January), 75-96.
- 1977 “The Change of Thai Governments during the Japanese Presence 1941-1945,” The Review of Thai Social Science : a Collection of Articles by Thai Scholars. Likhit Dhiravegin.
- 1977 “When Thailand followed the Leader,” Bangkok Post Sunday Magazine, (July 31, August 7).
- 1977 “Echoes of the American Revolution : Thailand as an Asian Case study,” American Revolution : Its Meaning to Asians and Americans. Honolulu : East-West Center.
- 1977 “When Thailand followed the Leader,” The Review of Thai Social Science : a Collection of Articles by Thai Scholars. Bangkok : the Social Science Association of Thailand. Pp.197-233.
- 1978 “Pibulsongkram’s Thai Nation-Building Programme during the Japanese Military Presence,” Journal of Southeast Asian Studies, 9 (September), 234-248.
- 1997 “Thailand’s Transition From the Japanese Military Presence to SEATO,” 1945 in Europe and Asia. (Germany), pp. 383-390.
บทวิจารณ์
- 2511 ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์. โดย B.R.Pearn, (หนังสือแปล), สังคมศาสตร์ปริทัศน์, 6 (ธันวาคม).
- 2512 The Special Role of American Advisers in Thailand 1902-1947. โดย Kenneth T.Young. สังคมศาสตร์ปริทัศน์, 2 (กันยายน – พฤศจิกายน).
- 2515 King Mongkut and Queen Victoria (The Model of a Great Friendship) โดย M.L.Manich Jumsai. วารสารมนุษยศาสตร์, 2.
- 2518 จอมพล ป. พิบูลสงคราม. โดย อ.พิบุลสงคราม. สังคมศาสตร์ปริทัศน์, 13 (เมษายน-กรกฎาคม).
- 2522 Siam and Colonialism (1855-1909) An Analysis of Diplomatic Relation. โดย Likhit Dhiravegin. วารสารประวัติศาสตร์, 4 (พฤษภาคม-สิงหาคม).
- 2526 Political Conflict in Thailand : Reform, Reaction, Revolution. โดย David Morell และ Chai-anan Samudavanija. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 6.
- 2526 เส้นทางเดินทัพ (พม่าตีไทย), โดย อาจารย์และนักศึกษาคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. เอเชียปริทัศน์, 4 (เมษายน-มิถุนายน).
- 2528 Thailand : A Short History. โดย David K. Wyatt. วารสารธรรมศาสตร์, 14 (ธันวาคม).
- 2529 A Week In Siam, January 1867. โดย The Marquis of Beauvoir. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร.
- 2531 Early Maps of South-East Asia. โดย R.T.Fel. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 1 (2).
- 2534 รวมชีวิตและผลงาน ม.ร.ว.นิมิตรมงคล นวรัตน์. สตรีสาร, 44(35), 17 พฤศจิกายน.
- 2535 The Tragedy of Wanit. โดย Benjamin A. Batson และ Shimizu Hajime. วารสารร่มพฤกษ์, 10 (2), กุมภาพันธ์.
- 1970 The Special Role of American Advisers in Thailand 1902-1949. โดย Kenneth T. Young. The Journal of the Siam Society, (January).
- 1971 Aspects of Siamese Kingship in the Seventeenth Century. โดย Jeremy Kemp. The Journal of the Siam Society, (January).
- 1975 Field Marshal Phibunsongkhram. โดย A. Phibunsongkharm. The Journal of the Siam Society, (July).
- 1987 A Commentary on Japan’s Repayment of the Special Yen Account to Thailand During World War ll. โดย Kenjiro lchikawa. Symposium on Thai-Japanese Relations : Development and Future Prospect. (Jan).
เกียรติคุณ
- ศาสตราจารย์ ระดับ 10 มหาวิทยาลัยศิลปากร (2531)
- ศาสตราจารย์เกียรติคุณ มหาวิทยาลัยศิลปากร (2540)
- นิสิตเก่าอักษรศาสตร์ จุฬาฯดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2544 จากสมาคมนิสิตเก่าอักษรศาสตร์จุฬาฯ ในบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
- ประกาศนียบัตรชั้นสูงกิตติมศักดิ์ จากสถาบันพระปกเกล้า เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2545
- ศิษย์เก่าดีเด่น 80 ปี โรงเรียนสตรีพัทลุง ปี พ.ศ. 2557
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
- พ.ศ. 2526 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)