Thamrongsak Petchlertanan
Quick Facts
Biography
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ (เกิดวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2507 (55 ปี)) อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต ตั้งแต่ปี 2562 อดีตประธานหลักสูตรรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นศิษย์เก่าสาขาวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2524-2527 (สิงห์แดง 33) หลังจากนั้นศึกษาต่อปริญญาโทในสาขาวิชาประวัติศาสตร์ ที่คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ปี 2530-2534) และปริญญาเอก สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปี 2546-2550)
ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ มีผลงานวิทยานิพนธ์ด้านประวัติศาสตร์การเมืองที่สำคัญคือเรื่อง รัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476ซึ่งต่อมาจะจัดพิมพ์ในชื่อ 2475 และ 1 ปีหลังการปฏิวัติ อันสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการปฏิวัติ 2475 และการล้มลงของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ทั้งยังเสนอให้เห็นถึงการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างระบอบเก่าและระบอบใหม่ในช่วง 1 ปีหลังการปฏิวัติที่ดำเนินไปอย่างซับซ้อน และยังแสดงให้เห็นว่า การรัฐประหารครั้งแรกในการเมืองไทยภายใต้ระบอบประชาธิปไตย ก็คือ การรัฐประหารโดยพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน 2476 โดยนายกรัฐมนตรีพลเรือนคนแรกของไทย พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
ผลงานวิชาการต่อๆ มา ยังคงเป็นการศึกษาการเมืองไทย ที่เน้นศึกษาผ่านผู้นำทางการเมืองไทย เช่น จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายปรีดีพนมยงค์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ปราโมช จอมพลสฤษดิ์ธนะรัชต์ จอมพลถนอมกิตติขจร ฯลฯ ซึ่งผู้นำทหารการเมืองคนท้ายสุดนี้ ได้กลายเป็นวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกในชื่อ “บทบาททางการเมืองของจอมพลถนอมกิตติขจร พ.ศ. 2506-2516” ที่เน้นศึกษากระบวนการขึ้นสู่อำนาจ การรักษาอำนาจโดยวิธีการต่างๆ และการจบจากอำนาจของผู้นำทหารคนนี้ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516
ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ในฐานะศิษย์เก่าด้านรัฐศาสตร์และประวัติศาสตร์ ได้รับรางวัลโล่เกียรติยศประเภทผู้ทำคุณประโยชน์ให้กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ประจำปี 2554 (ครบรอบ 77 ปี)ผลงานของธำรงศักดิ์ยังแสดงความผูกผันทางด้านวิชาการและความทรงจำต่อธรรมศาสตร์ ผ่านงานสำคัญ คือ ธรรมศาสตร์การเมืองไทย: จากปฏิวัติ 2475 ถึง 14 ตุลาคม 2516 – 6 ตุลาคม 2519 และ ธรรมศาสตร์ Guidebook ซึ่งไม่เพียงจะช่วยให้เข้าใจกำเนิดและพัฒนาการของธรรมศาสตร์ได้อย่างกว้างขวางเท่านั้นหากยังช่วยให้เข้าใจสังคมการเมืองไทยได้อย่างกระชับอีกด้วย ทั้งยังมีบทบาทเป็นหนึ่งในคณะของอาจารย์ชาญวิทย์เกษตรศิริ ที่สร้างและพัฒนา "ธรรมศาสตร์ TU Walking Tour" ให้เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่เรื่องราวธรรมศาสตร์กับการเมืองไทยให้กับนักศึกษาและบุคคลทั่วไป ผ่านวิธีการด้านการท่องเที่ยว
ในท่ามกลางวิกฤตทางการเมืองของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาในช่วงต้นทศวรรษ 2550 ผลงานของธำรงศักดิ์ที่ได้ศึกษามาอย่างยาวนานราว 2 ทศวรรษ ก็ได้ช่วยกระตุ้นเตือนให้สังคมไทยพิจารณาปัญหานี้ให้ถ่องแท้รอบด้านและรอบคอบมากยิ่งขึ้น จากงานที่รวมพิมพ์เป็นเล่มในปลายปี 2552 ในชื่อ สยามประเทศไทย กับ “ดินแดน” ในกัมพูชาและลาว และหนังสือวิชาการที่ให้เห็นพัฒนาการรัฐชาติไทย เรื่อง "วาทกรรมเสียดินแดน" (2560)
ประวัติผลงานทางวิชาการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต ตั้งแต่ปี 2562 (เป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐศาสตร์หรือการศึกษาค้นคว้าอิสระได้ตามหลักเกณฑ์) อดีตรองคณบดีฝ่ายวิชาการวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต และผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญาโท สาขาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง (ระบบออนไลน์) ปี 2553
การทำงาน
อดีตประธานหลักสูตรรัฐศาสตร และรองคณบดีฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยบริหารรัฐกิจและรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ปี 2554-2560
ด้านสังคมวิชาการ
กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ปี 2546-2561 กรรมการและเหรัญญิกมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ปี 2562-2563
ประวัติการศึกษา
- 2527 : รัฐศาสตรบัณฑิต (การเมืองการปกครอง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- 2534 : ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ประวัติศาสตร์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- 2550 : อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ประวัติศาสตร์) คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวข้อวิทยานิพนธ์ “บทบาททางการเมืองของจอมพลถนอมกิตติขจร พ.ศ. 2506-2516”
ประสบการณ์
- วิทยากรประจำรายการอาเซียนเรียนรู้ ทุกวันเสาร์ 08.00-09.00 และ 22.00-23.00 สถานีวิทยุศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ F.M.92พ.ย. 2555-ปัจจุบัน
- วิทยากรประจำรายการเสน่ห์ไทย ในรายการตามตะวัน ทุกวันจันทร์ 13.00-13.15 เดือนเว้นเดือน สถานีวิทยุศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ F.M.92ปี 2552-2553
- วิทยากรประจำรายการพาเที่ยวทั่วไทย สถานีวิทยุศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ F.M.92 ปี 2538-2547
- วิทยากรรายการวิเคราะห์การเมือง ประจำสัปดาห์ ทุกพุธ สถานีวิทยุ สวพ.91 ปี 2542-2543
- นักเขียนร่วมในคอลัมน์ 108 วิถีทัศน์ นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ปี 2546-2547
ประวัติการสอน
คณะรัฐศาสตร์ หลักสูตรปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรังสิต วิชาการเมืองไทยสมัยใหม่ POL103 วิชาอาเซียนในยุคโลกาภิวัตน์ POL364 วิชาสัมมนาการเมืองการปกครองไทย POL421 วิชาสัมมนาการเมืองการปกครองท้องถิ่นไทย POL441
หลักสูตรปริญญาโทรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต วิชาการวิจัย วิชาสัมมนาการเมืองการปกครองไทย วิชารัฐกับการพัฒนา
ภาควิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
- วิชาการเมืองการปกครองไทย (SOC 113)
- วิชาเศรษฐกิจการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (POL 235)
- วิชาวิวัฒนาการทางการเมืองไทย (SOC 107)
- วิชาสังคมกับเศรษฐกิจ (SOC 104)
- วิชาระบบการเมืองเปรียบเทียบ (SOC 105)
- และ ฯลฯ
อาจารย์พิเศษ
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- วิชาประวัติศาสตร์การเมืองและเศรษฐกิจไทยร่วมสมัย
- วิชาประวัติศาสตร์: การเข้าสู่รัฐประชาชาติจนถึงปัจจุบัน
- วิชาพื้นฐานทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมไทย (อศ.212)
โครงการอบรมมัคคุเทศก์
- โครงการอบรมมัคคุเทศก์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่ปี 2537 ถึง 2549
ผลงานวิชาการและอื่นๆ
งานศึกษาวิจัย
- “แนวความคิดทางการเมืองและเศรษฐกิจไทยของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ปราโมช สมัยเป็นนายกรัฐมนตรี” ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (อนุมัติเผยแพร่ 2544)
- ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ปราโมช นายกรัฐมนตรี กรุงเทพฯ: มติชน-ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ, 2546. (หนังสือจากงานวิจัยข้างต้น)
- “บทที่ 11: สมัยรัฐบาลจอมพลถนอมกิตติขจร หลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2512 ถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 (8 มีนาคม พ.ศ. 2512 ถึง 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516” ใน ปิยนาถ บุนนาค และคณะ รายงานผลการวิจัยเรื่อง “พัฒนาการระบบคณะรัฐมนตรีไทย หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519.” เอกสารโรเนียวเย็บเล่ม. สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, 2549 หน้า 480-544 (13 บท 595 หน้า)
หนังสือวิชาการ
- 2475 และ 1 ปีหลังการปฏิวัติ</ref>[1] กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2544. (จากวิทยานิพนธ์ปริญญาโท สาขาประวัติศาสตร์ เรื่อง “รัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476” ได้รับรางวัลชมเชยจากการประกวดวิทยานิพนธ์ยอดเยี่ยมของสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2534) และพิมพ์ครั้งใหม่ใน ปฏิวัติ 2475 (กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2547) (พิมพ์ครั้งที่ 2, 2552)
- “ข้ออ้าง” การปฏิวัติ-รัฐประหาร-กบฏ ในการเมืองไทยปัจจุบัน: บทวิเคราะห์และเอกสาร. (กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2550)
- ธรรมศาสตร์การเมืองไทย : จากปฏิวัติ 2475 ถึง 14 ตุลาคม 2516 – 6 ตุลาคม 2519. (กรุงเทพฯ : มติชน-ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ, 2547)
- สยามประเทศไทย กับ “ดินแดน” ในกัมพูชาและลาว. (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2552).
หนังสือสารคดีวิชาการ
- ธรรมศาสตร์ Guidebook (ร่วมกับ วีระศักดิ์กีรติวรนันท์) (กรุงเทพฯ: คณะกรรมการหอจดหมายเหตุและหอประวัติเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2552)
งานแปล
- ทักษ์เฉลิมเตียรณ การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3 แปลจาก Thak Chaloemtiarana. Thailand: The Politics of Despotic Paternalism. ร่วมแปลกับ พรรณีฉัตรพลรักษ์ และ ม.ร.ว.ประกายทองสิริสุข (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2552), (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3, 2548)
ผลงานวิชาการที่ตีพิมพ์แล้ว
- “การเมืองไทยในระบบสภาผู้แทนราษฎร : การเลือกตั้งครั้งแรก พ.ศ. 2476.” ใน ศิลปวัฒนธรรม 9 : 8 (มิถุนายน 2531), หน้า 62-85. และ 9 : 9 (กรกฎาคม 2531), หน้า 68-76.
- “การเรียกร้องดินแดน พ.ศ. 2483 : พิจารณาปัจจัยภายในเชิงคำอธิบาย.” ใน สมุดสังคมศาสตร์ (วารสารของสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย) 12 : 3-4 (กุมภาพันธ์-กรกฎาคม 2533), หน้า 23-83.
- “1 ปีหลังการปฏิวัติ 2475.” ใน รัฐศาสตร์สาร (วารสารคณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์) 17 : 2 (2535), หน้า 1-66
- “ประวัติจอมพล ป. พิบูลสงคราม” ใน จอมพล ป. พิบูลสงคราม กับการเมืองไทยสมัยใหม่. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2540, หน้า (16) - (35)
- “เรื่องชื่อ “ประเทศไทย” : วิวัฒนาการทางการเมืองไทย.” ใน วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (คณะศิลปศาสตร์ ม.รังสิต) 1 : 3 (กันยายน-ธันวาคม 2543), หน้า 43-55
- “ทองเปลวชลภูมิ์ : ชีวิตและงาน.” ใน ปรีดีพนมยงค์ และ 4 รัฐมนตรีอีสาน+1 กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ร่วมกับ หอจดหมายเหตุ
ธรรมศาสตร์, 2544, หน้า 256-306
- “ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ปราโมช กับการเมืองไทย.” ใน วารสารรวมบทความประวัติศาสตร์ (สมาคมประวัติศาสตร์) ฉบับปีที่ 23 พ.ศ. 2544, หน้า 62-117
- “แนวความคิดทางการเมืองและเศรษฐกิจไทยของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ปราโมช สมัยเป็นนายกรัฐมนตรี.” ใน วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (คณะศิลปศาสตร์ ม.รังสิต) 3 : 6 (มกราคม-เมษายน 2545), หน้า 80-99
- “10 ธันวาคม วันพระราชทานรัฐธรรมนูญ หรือ วันรัฐธรรมนูญ?” ใน ชาญวิทย์เกษตรศิริ บรรณาธิการ, ธรรมศาสตร์และการเมืองเรื่องพื้นที่ : สู่ทศวรรษที่ 7 ปฏิวัติ 2475 / สถาปนา มธก. 2477. (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2548), หน้า 89-113.
- “14 ตุลา “วันประชาธิปไตย” กับปัญหาเมื่อวาระครบรอบ 30 ปี.” ใน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, 3ทศวรรษ 14 ตุลา กับประชาธิปไตยไทย. (กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2547), หน้า 131-143.
- “เดินประชาธิปไตย : จากหมุด 2475 ลานพระบรมรูปทรงม้า – อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถึงลานโพธิ์ ธรรมศาสตร์.”ใน รัฐสภาสัญจร : เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชินี (กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2547), หน้า 1-12
- “รัชกาลที่ 5 กับฝรั่งเศสและกัมพูชา” ใน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ อรอนงค์ ทิพย์พิมล, รัชกาลที่ 5: สยามกับอุษาคเนย์และชมพูทวีป. (กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย, 2547), หน้า 433-492
- "“จอมพล ป. พิบูลสงคราม กับการ ‘ส้างวัธนธัมไทยใหม่’.” ใน สุธาชัยยิ้มประเสริฐ. บรรณาธิการ.
สายธารแห่งอดีต. กรุงเทพฯ: ภาควิชาปรวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณืมหาวิทยาลัย, 2549, หน้า 265-317
เอกสารวิชาการนำเสนอในที่ประชุมสัมมนา
- “คดีกบฏ พ.ศ. 2482: บทสรุปของการต่อสู้ทางการเมืองหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง” เอกสารประกอบการเสวนาทางวิชาการเรื่อง “50 ปี อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย : ทบทวนประวัติศาสตร์คณะราษฎร” จัดโดยมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2532 ณ ห้องประชุมชั้น 7 อาคารอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- “1 เมษายน 2476 : รัฐประหารครั้งแรกของไทย” การสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “ภาษากับประวัติศาสตร์ไทยและความเคลื่อนไหวในวิชาประวัติศาสตร์ไทย” จัดโดย โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ร่วมกับ สมาคมประวัติศาสตร์ ณ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า นครนายก วันที่ 16-18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533
- "“กัมพูชาในกระแสการเปลี่ยนแปลง: การเมืองและเศรษฐกิจระหว่างปี 1990-2000” ในการประชุมวิชาการอินโดจีนศึกษาครั้งที่ 1 เรื่อง “อินโดจีนในกระแสการเปลี่ยนแปลง” จัดโดย ศูนย์วิจัยสังคมอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วันที่ 29-30 พฤศจิกายน 2544, 14 หน้า
- “รัชกาลที่ 5 กับฝรั่งเศสและกัมพูชา” ในการสัมมนาเรื่อง “รัชกาลที่ 5 : สยามกับอุษาคเนย์และชมพูทวีป” (การสัมมนาวิชากาเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสที่วันพระบรมราชสมภพครบ 150 ปี) วันที่ 20 พฤศจิกายน 2546 ณ ศูนย์ประชุมมานุษยวิทยาสิรินธร จัดโดย มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย บริษัทโตโยต้ามอเตอร์ประเทศไทยและศูนย์ประชุมมานุษยวิทยาสิรินธร, 34 หน้า
บทนำ/คำนำหนังสือ
- “บทนำ” หนังสือของ พายัพโรจนวิภาต. ยุคทมิฬ. พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ : สนพ. อ่านไทย, 2532. หน้า (14) - (27)
- “คำนำ” หนังสือ ชาญวิทย์เกษตรศิริ. ประวัติการเมืองไทย : 2475-2500. พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2544, หน้า (7) - (10)
งานรวบรวมทางวิชาการ
- บรรณานุกรมเอเชียอาคเนย์ศึกษาในประเทศไทย ร่วมกับ ชาญวิทย์เกษตรศิริ และ แสงเดือนไสยวงศ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2535.
- “ภาคผนวกเอกสารประวัติศาสตร์ 2475” ใน ชาญวิทย์เกษตรศิริ. 2475 การปฏิวัติสยาม. กรุงเทพฯ: ประพันธ์สาส์น, 2535, หน้า 67-168.
- “คำคม-ความคิด ปรีดีพนมยงค์” ใน ปรีดีพนมยงค์ และ 4 รัฐมนตรีอีสาน+1 กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ร่วมกับ หอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์, 2544, หน้า 16-25
บรรณาธิการหนังสือวิชาการ
- บันทึกการเมืองไทย บรรณาธิการร่วมกับ ชาติชายเย็นบำรุง. กรุงเทพฯ : มูลนิธิเอเชีย, 2530, 1,074 หน้า. (โครงการวิจัย “บันทึกการเมืองไทย” สนับสนุนโดยมูลนิธิเอเชีย)
- วิชาอารยธรรมไทย มธ. 111 : พื้นฐานทางประวัติศาสตร์. งานของ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ กรุงเทพฯ: ประกายพรึก, 2535
- วัฒนธรรม. เอกสารเย็บเล่มประกอบการสัมมนาเรื่อง “วัฒนธรรมกับสังคมไทยในกระแสการเปลี่ยนแปลง” จัดโดย มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ The Toyota Foundation,15-16 พฤศจิกายน 2537,
หนองคาย
- จอมพล ป. พิบูลสงคราม กับการเมืองไทยสมัยใหม่. บรรณาธิการร่วมกับ ชาญวิทย์เกษตรศิริ และ วิกัลย์พงศ์พนิตานนท์.กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2540. พิมพ์ครั้งที่ 2/2544
- จาก 14 ถึง 6 ตุลา. บรรณาธิการร่วมกับ ชาญวิทย์เกษตรศิริ. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2541. พิมพ์ครั้งที่ 3/2545; พิมพ์ครั้งที่ 4/2552
- อยุธยา : ประวัติศาสตร์และการเมือง. งานของ ชาญวิทย์เกษตรศิริ. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และ
มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย, 2542. พิมพ์ครั้งที่ 3/2544
- ปรีดีพนมยงค์ และ 4 รัฐมนตรีอีสาน+1. บรรณาธิการร่วมกับ ชาญวิทย์เกษตรศิริ.กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และ หอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์, 2544
- “แม่น้ำโขง: จาก “ประตูหลัง” จีน-ยูนนาน ถึง “ประตูหลัง” อุษาคเนย์.” ใน ชาญวิทย์ และ อัครพงษ์ ค่ำคูณ. แม่น้ำโขง: จากต้าจู – ล้านช้าง – ตนเลธม ถึง กิ๋วล่อง. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2549, หน้า 123-230.
- “ธรรมศาสตร์ ‘ตลาดวิชา’ ท่าพระจันทร์.” ใน จุลสารหอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์. ฉบับธรรมศาสตร์ 75 ปี. ฉบับที่ 13 (มิถุนายน 2552), หน้า 9-25
บทความเชิงวิชาการ/สารคดี
- “โรงตึกคู่ : อาคารทหารยามในพระราชวังเดิม (กรุงธนบุรี).” ใน ศิลปวัฒนธรรม 19 : 4 (กุมภาพันธ์ 2541), หน้า 70-74
- “ถนน 16 สิงหา ในธรรมศาสตร์ ประกาศสันติภาพ.” ใน ศิลปวัฒนธรรม 24 : 10 (สิงหาคม 2546), หน้า 163-167
- “มองอังกอร์จากยอดพนมบาเค็ง.” ใน กรุงเทพธุรกิจ – จุดประกาย (28 ตุลาคม 2545), หน้า 8
- “สด๊กก๊อกธม : อารยธรรม และความไม่รู้.” ใน กรุงเทพธุรกิจ – จุดประกาย (25 พฤศจิกายน 2545), หน้า 1,2.
- บทความในหนังสือพิมพ์ (ปี 2546-2547) ใน กรุงเทพธุรกิจ – จุดประกายคอลัมน์ “108วิถีทัศน์”, หน้า 2
- “เด็กไทย-รากหญ้า-การศึกษา และรัฐธรรมนูญ”, (14 มกราคม 2546)
- “ปัญหาปราสาท 2 หลังที่ชายแดนไทย-กัมพูชา”, (28 มกราคม 2546)
- “เหตุการณ์ ‘มกรา-กัมพูชามิจฉาสติ”, (11 กุมภาพันธ์ 2546)
- “ครม. ทักษิณ : ภาวะเสื่อมสลายของศักดิ์ศรี”,(25 กุมภาพันธ์ 2546)
- “เมื่อมนุษย์ตกสวรรค์ที่วัดอรุณ”, (11 มีนาคม 2546)
- “ผู้ช่วยรัฐมนตรี : ชัยชนะของนักการเมือง?”, (25 มีนาคม 2546)
- “ความลับของโรงเรียนเวทมนตร์”, (8เมษายน2546)
- “คิดถึง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ปราโมช”, (22 เมษายน2546)
- “การท่องเที่ยว vs ซาร์ส”, (6 พฤษภาคม2546)
- “เรื่องตลกๆ ของรัฐบาลไทย ต่อปัญหากัมพูชา”,(20 พฤษภาคม2546)
- “14ตุลา วันประชาธิปไตย”, (3 มิถุนายน 2546)
- “24 มิถุนายน วันกำเนิดประชาธิปไตย”, (17 มิถุนายน 2546)
- “สัญญาธรรมศักดิ์ นายกฯพระราชทาน”, (1 กรกฎาคม 2546)
- “การแก้ไขเพลงชาติ คือการบ่อนทำลายความมั่นคงของรัฐไทย”, (15 กรกฎาคม 2546)
- “มองรัตนโกสินทร์ปีที่ 221 จากอยุธยา 417 ปี”, (29 กรกฎาคม 2546)
- “หวย-รวย-ใคร”, (12 สิงหาคม 2546)
- “ถูกต้อง : 14 ตุลา วันประชาธิปไตย”, (26 สิงหาคม 2546)
- “ศิลาจารึกพ่อขุนราม กับการย้ายธรรมศาสตร์”, (9 กันยายน 2546)
- “150 ปี ร.5 : การเลิกไพร่ทาสขุนนาง” (23 กันยายน 2546)
- “14 ตุลาไทย กับ Hell Map เพื่อพม่า” (7 ตุลาคม 2546)
- “แด่ 3 ทรราช 14 ตุลา ด้วยดอกไม้...จันทร์”, (21 ตุลาคม 2546)
- “ร.5 เสด็จต่างแดนกับการสร้างสยามให้ทันสมัย”, (4 พฤศจิกายน 2546)
- “ร.5 เสด็จอินเดีย”, (18 พฤศจิกายน 2546)
- “วันปิยมหาราช : ทาสและทักษิณ”, (2 ธันวาคม 2546)
- “ยุบสภา”, (16 ธันวาคม 2546)
- “ทักษิณ อัศวินควายดำ กับการ ‘ผิดรัฐธรรมนูญ’”, (30 ธันวาคม 2546)
- “ความศักดิ์สิทธิ์แห่งรัฐธรรมนูญ”, (13 มกราคม 2547)
- “ถนนตัดผ่าทำลายอ่าวไทย”, (27 มกราคม 2547)
- “ปล้นโดยสุจริต”, (10 กุมภาพันธ์ 2547)
- “ผู้นำ ไอซียู”, (24 กุมภาพันธ์ 2547)
- “หยุดการแปรรูป ไฟ น้ำ ลม ดิน”, (9 มีนาคม 2547)
- “ทักษิณ ไอซียู-ครม. หมดฟอร์ม”, (23 มีนาคม 2547)
- “ยึด ไอทีวี คืน”, (6 เมษายน 2547)
- “หยุดซื้อสินค้าใน ไอทีวี”, (20 เมษายน 2547)
- “ไทยพ่ายแล้วที่ทักษิณ”, (4 พฤษภาคม 2547)
- “เพี้ยนไปแล้ว”, (18 พฤษภาคม 2547)
- “72 ปี ประชาธิปไตย”, (1 มิถุนายน 2547)
- “72 ปี รัฐธรรมนูญไทย”, (15 มิถุนายน 2547)
- “วงจรธนอุบาทว์”, (29 มิถุนายน 2547)
- “อีแอบทางการเมือง”, (13 กรกฎาคม 2547)
- “เมืองสุโขทัยกับศิลาจารึก”, (27 กรกฎาคม 2547)
- “ช้างเอราวัณที่กรุงเทพฯ ประติมากรรม หรือศาลเทพ?”, (10 สิงหาคม 2547)
- “กรุงเทพฯ สุขาอยู่หนใด”, (24 สิงหาคม 2547)
- “สุทัสสนะนคร”, (7 กันยายน 2547)
- “คำพ่อสอน”, (21 กันยายน 2547)
- “The Beginning of the End of Thanom Regime”, (5 ตุลาคม 2547)
- “บริหารการเมือง”, (The Beginning of the End of Thanom Regime, 2) (19 ตุลาคม 2547)
- “The End of Thanom Regime”, (1 พฤศจิกายน 2547)
- “สิงคโปร์กับพระเจ้ากรุงสยาม”, (16 พฤศจิกายน 2547)
- “200 ปี พระจอมเกล้า”, (30 พฤศจิกายน 2547)
- “ลมหนาว และอโรคยาศาลา”, (14 ธันวาคม 2547)
- “ไชโย และสวัสดี”, (28 ธันวาคม 2547)
บทความหนังสือพิมพ์อื่นๆ
- “จดหมายเปิดผนึกเรื่องบทความ “หยุดซื้อสินค้าในไอทีวี” กับการถูกฟ้อง 80 ล้านบาท และโปรดอย่าเกลียดชังคนทำงาน “ไอทีวี” เลย.” กรุงเทพธุรกิจ (6 มีนาคม 2549)
- “ปัญหาความ “ศักดิ์สิทธิ์” ของการเลือกตั้ง จากปี 2500 เลือกตั้ง “สกปรก” ถึงปี 2549 เลือกตั้ง
- “ตลก-โจ๊ก”,” ใน มติชน (27 มีนาคม 2549), หน้า 6
บันทึกการอภิปราย-สัมภาษณ์
- ภาพสังคมสยามจากประชุมประกาศรัชกาลที่ 4” (อภิปรายร่วมกับ วารุณี โอสถารมย์, ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ, ฉลอง สุนทราวาณิชย์, อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ และชาญวิทย์ เกษตรศิริ) ใน ชาญวิทย์เกษตรศิริ และกัณฐิกาศรีอุดม บรรณาธิการ. พระเจ้ากรุงสยาม กับ เซอร์จอห์น เบาว์ริง. (สรุปการสัมมนาวิชาการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในโอกาสที่วันพระบรมราชสมภพครบ 200 ปี (พ.ศ. 2347-2547). กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2548, (ทั้งหมดหน้า 116-168) หน้า 163-168
- ประวัติศาสตร์ตัดตอน : บทสำรวจทัศนะ/องค์ความรู้ของไทยต่อเพื่อนบ้าน,” (ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, สุเนตร ชุตินธรานนท์, มุกหอม วงษ์เทศ, ธีรภาพ โลหิตกุล, พรพิมลตรีโชติ, สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี, อัครพงษ์ ค่ำคูณ) ใน วารสารฟ้าเดียวกัน ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน 2546), หน้า 77-101 เฉพาะ หน้า 85-88
- ปีศาจประชาธิปไตย” ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย,” ใน เมืองไทย : หลังขิงแก่ 2 : รัฐธรรมนูญฉบับเนติบริกร-รัฐสาสตร์บริการ กับอนาคตการเมืองไทย.(อภิปรายร่วมกับ ผศ.ดร.ฐิตินันท์พงษ์สุทธิรักษ์ ดร.ฐาปนันท์นิพิฏฐกุล และ รศ.ดร.พิภพอุดร วันที่ 29 เมษายน 2550 ห้องประชุม 202 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทลัยธรรมศาสตร์) กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2550, หน้า 54-70
- “รัฐในพม่า,” ใน ทหารกับการเมืองในอุษาคเนย์: ศึกษาเปรียบเทียบในกรณีของไทย พม่า อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์. (วันที่ 14 มกราคม 2550 ณ ห้องประชุม 201 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2550, หน้า 14-28
- “ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้: สุวรรณภูมิ-อุษาคเนย์ภาคพิสดาร,” (อภิปรายร่วมกับ และชาญวิทย์ เกษตรศิริ สุเนตรชุตินธรานนท์จิระนันท์พิตรปรีชา และ ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ เมื่อ 29 กันยายน 2549 ณ ห้องประชุมสยามสมาคม กรุงเทพฯ)กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2550, หน้า 54-59.
- ศาสตราจารย์อิฌิอิ กับกึ่งศตวรรษเส้นทางไทยศึกษา. (อภิปรายร่วมกับ ฉลอง สุนทราวาณิชย์, ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ชวาลินเศวตนันทน์, กนกวรรณเกตุชัยมาศ เมื่อ 11 กรกฎาคม 2550 ณ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) )กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2550, หน้า 57-62