Rong Kaomulkadee
Quick Facts
Biography
ชุมพร เทพพิทักษ์ (5 กรกฎาคม พ.ศ. 2482 − 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2560) ชื่อเล่น เดียร์ นักแสดงชาวไทยและอดีตผู้กำกับภาพยนตร์มีชื่อจริงว่า คมสันต์เทพพิทักษ์
เกิดที่จังหวัดชุมพรเมื่อปี พ.ศ. 2482 จบการศึกษาจากโรงเรียนวัดขันเงินและโรงเรียนศรียาภัย เดินทางเข้าสู่กรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาต่อที่โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย โดยพักอาศัยอยู่ในบ้านหลังเดียวกับ พล.ต.ท.วรรณรัตน์ คชรัตน์ (อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2544) ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้อง แต่ขณะที่เรียนเมื่ออายุได้ 17 ปี ต้องโทษจำคุกในคดีฆาตกรรมด้วยอาวุธปืนและรับสารภาพ จึงถูกลดโทษเหลือ 25 ปีจากนั้นได้รับการลดหย่อนโทษเรื่อยมา จนได้รับอิสรภาพในที่สุด ในระหว่างต้องโทษ อยู่ห้องขังเดียวกับ แคล้ว ธนิกุล
เข้าสู่วงการบันเทิงครั้งแรกด้วยการเป็นนักแสดงบทร้ายแทน ประจวบ ฤกษ์ยามดี นักแสดงบทตัวร้ายที่ไม่สบาย ด้วยความที่หน้าตาคล้ายกัน จากการชักชวนของ ปริญญา ทัศนียกุล และ ลือชัย นฤนาท ในเรื่อง คมแสนคม ในปี พ.ศ. 2507 ตามด้วยบทตัวร้ายมาโดยตลอด
ในปี พ.ศ. 2511 มีผลงานละครโทรทัศน์ทางช่อง 4 บางขุนพรหม, ช่อง 5 และช่อง 7 ในยุคแพร่ภาพระบบขาวดำ ด้วยการพลิกบทบาทมารับบทเป็นพระเอกบ้าง ซึ่งก็ได้รับการวิจารณ์ในตอนต้นว่า คนดูจะรับได้หรือไม่กับการที่ผู้ร้ายในแบบภาพยนตร์ใหญ่ มารับบทพระเอกในแบบละครโทรทัศน์ซึ่งก็ได้รับบทพระเอกแนวลูกทุ่งหรือแอ็คชั่น และถือว่าประสบความสำเร็จพอสมควร
ต่อมาเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ มีผลงานมากมาย อาทิ ถุยชีวิต (พ.ศ. 2521), นักสู้ภูธร ในปีเดียวกัน, ขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก (พ.ศ. 2522)และที่ประสบความสำเร็จที่สุดคือ แหกค่ายนรกเดียนเบียนฟู ในปี พ.ศ. 2520 ซึ่งได้รับรางวัลตุ๊กตาทองสาขาผู้กำกับยอดเยี่ยม และได้รับรางวัลอื่น ๆ รวมทั้งหมด 5 รางวัล และยังคงมีผลงานออกมาเป็นระยะๆ เช่น บางระจัน (พ.ศ. 2543),'โหมโรง'(พ.ศ. 2547), ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ (พ.ศ. 2550), รักสยามเท่าฟ้า (พ.ศ. 2551), 2022 สึนามิ วันโลกสังหาร (พ.ศ. 2552) ผลงานละครโทรทัศน์ได้แก่ สุสานคนเป็น (พ.ศ. 2545) ธิดาวานร 2 (พ.ศ. 2552) และ เงาพราย (พ.ศ. 2554) ผลงานละครเรื่องสุดท้ายคือเรื่อง ขุนกระทิง และผลงานภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายคือเรื่อง ขุนพันธ์ (พ.ศ. 2559)
ชีวิตส่วนตัว สมรสกับ มยุรี เทพพิทักษ์ (นามสกุลเดิม-ศรีสินธุ์อุไร) มีบุตรด้วยกันทั้งหมด 4 คน ซึ่งหนึ่งในจำนวนนั้นเป็นนักร้องและนักแสดงที่มีชื่อเสียง คือ ศรราม เทพพิทักษ์
ชุมพรมีอาการป่วยด้วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา และได้เสียชีวิตลงอย่างสงบ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ศรราม เทพพิทักษ์ ผู้เป็นลูกชายได้ทันดูใจจนวินาทีสุดท้าย
ผลงานการแสดง
ภาพยนตร์
ปี | เรื่อง | บทบาท |
---|---|---|
2509 | ดาวพระศุกร์ | |
2509 | เพชรตัดเพชร | ไตร |
2518 | แหม่มจ๋า | กำแหง |
2520 | ทางเสือผ่าน | จ่าแสง |
2524 | ไอ๊หยา อาตือ | |
2537 | 1+5 ฟ้าก็ห้ามไม่ได้ | |
2543 | บางระจัน | นายแท่น |
2546 | องค์บาก | ลุงเมา (รับเชิญ) |
2547 | โหมโรง | ทิว (วัยชรา) |
2550 | ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ | เจ้าฟ้าเมืองคัง หรือ ฟ้าเสือต้าน |
2551 | รักสยามเท่าฟ้า | |
หนุมานคลุกฝุ่น | หลวงพ่อ | |
2552 | 2022 สึนามิ วันโลกสังหาร | |
2553 | องค์บาก 3 | ท่านเจ้าเมือง(รับเชิญ) |
2559 | ขุนพันธ์ | ชาวประมงแจวเรือ (รับเชิญ) |
ละครโทรทัศน์
ปี | เรื่อง | สถานี | บทบาท | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
2511 | แม่หญิง | ช่อง 4 | พราหมณ์ เทพราช (คุณแขก) | |
2515 | ผู้กองยอดรัก | ช่อง 4 | พัน น้ำสุพรรณ | |
บ้านมายา | ช่อง 4 | |||
2516 | หลานสาวคุณหญิง | ช่อง 4 | ||
กรงทอง | ช่อง 4 | |||
2519 | สายใจ | ช่อง 9 | ||
2522 | พ่อปลาไหล | ช่อง 9 | ||
2535 | คุณหญิงนอกทำเนียบ | ช่อง 7 | ||
แก้วสารพัดนึก | ช่อง 7 | |||
ภูตแม่น้ำโขง | ช่อง 7 | |||
2536 | ลิขิตชีวิต | ช่อง 7 | ||
พรหมพยศ | ช่อง 9 | |||
2536–2537 | ศีรษะมาร | ช่อง 7 | ลุงพร | |
2537 | น้ำใสใจจริง | ช่อง 7 | พ่อของโจม | |
กระสือ | ช่อง 7 | หมออิ่ม | ||
2538 | ภูตพิศวาส | ช่อง 7 | ลุงอิน | |
ความรักของคุณฉุย ภาค 2 | ช่อง 7 | |||
2539 | ดั่งดวงหฤทัย | ช่อง 7 | เจ้าหลวง (แคว้นทานตะ) | |
2540 | หุบเขากินคน | ช่อง 7 | วามพราหมณ์ | |
สัมปทานหัวใจ | ช่อง 7 | อ่อง | ||
บ้านบุษบาบัณ | ช่อง 7 | |||
2541 | นางบาป | ช่อง 7 | ประกอบ | |
มัจจุราชติ๊งต๊อง | ช่อง 7 | |||
2542 | พระจันทร์ลายกระต่าย | ช่อง 5 | ||
รักสองภพ | ช่อง 7 | |||
2544 | แม่โขง | ช่อง 7 | ||
ทายาทอสูร | ช่อง 7 | ปุโรหิต (พ่อของขุนศรีอินทร์)/ปู่สุธรรม | ||
นายฮ้อยทมิฬ | ช่อง 7 | |||
2545 | เส้นไหมสีเงิน | ช่อง 3 | ตาพจน์ | |
สุสานคนเป็น | ช่อง 7 | หมอผัน | ||
พระจันทร์แดง | ช่อง 3 | |||
ไอ้ม้าเหล็ก | ช่อง 3 | |||
จารชนยอดรัก | ช่อง 7 | |||
2546 | พุทธานุภาพ | ช่อง 3 | นายมั่น | รับเชิญ |
จารชนยอดรัก | ช่อง 7 | |||
สายน้ำ ลูกผู้ชาย | ช่อง 3 | ปู่เต่า | ||
พยัคฆ์ร้าย โอมเพี้ยง | ช่อง 3 | การุณ (เสี่ยป้อม) | ||
มหาเฮง | ช่อง 7 | นายตุ๋ย | ||
2547 | ภูตพิศวาส | ช่อง 7 | ลุงอิน | |
หวานใจไทยแลนด์ | ช่อง 3 | |||
รักแผลงฤทธิ์ | ช่อง 3 | |||
2548 | คลื่นรักสีคราม | ช่อง 5 | ผู้เฒ่าลมโชย | |
นายกระจอก | ช่อง 3 | ปู่ของไอ้หมีและก้อง | ||
ดื้อนักรักเลย | ช่อง 3 | ปู่ไท | ||
2549 | น.ส.สัปเหร่อ | ช่อง 3 | รับเชิญ | |
ดวงใจปาฏิหาริย์ | ช่อง 7 | ครูผาด | ||
2551 | สุดแดนหัวใจ | ช่อง 3 | ผู้กำกับการแสดง | รับเชิญ |
2552 | ธิดาวานร 2 | ช่อง 7 | สะมะแอ | |
2554 | เงาพราย | ช่อง 3 | ตาเลิศ ปัญจาวร | |
โก๊ะซ่าท้ามิติ | ช่อง 7 | ลุงหอม | ||
2555 | บ่วง | ช่อง 3 | ตาหล้า | |
2556 | มายาตวัน | ช่อง 3 | หลวงพ่อจรูญ | รับเชิญ |
ฟ้ากระจ่างดาว | ช่อง 3 | หลวงพ่อจรูญ | รับเชิญ | |
นางมาร | ช่อง 8 | ปู่ | ||
2557 | เรือนริษยา | ช่อง 3 | พ่อเฒ่า | รับเชิญ |
2558 | ข้าบดินทร์ | ช่อง 3 | พระครูโพ | |
2559 | ขุนกระทิง | ช่อง 7 | นายพล | รับเชิญ |
2560 | ทหารกล้ากรุงศรีอยุธยา | ช่อง 5 |
รางวัล
- รางวัลตุ๊กตาทอง สาขาผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง แหกค่ายนรกเดียนเบียนฟู
- รางวัลเมขลา สาขาผู้แสดงประกอบชายดีเด่น จากละครเรื่อง เงาพราย
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
รางวัลเมขลา สาขานักแสดงสมทบชายดีเด่น | |
---|---|
รางวัลเมขลา สาขานักแสดงสมทบชายดีเด่น | |
2524–2550 |
|
2551–2575 |
|
2524–2550 |
|
2551–2575 |
|
ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์ไทย | |
---|---|
ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์ไทย | |
รางวัลตุ๊กตาทอง | |
รางวัลสุพรรณหงส์ | หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล • พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล / เปี๊ยก โปสเตอร์ • ชนะ คราประยูร • วิจิตร คุณาวุฒิ • ยุทธนา มุกดาสนิท • หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล • เปี๊ยก โปสเตอร์ • หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล • บัณฑิต ฤทธิ์ถกล • ชูชัย องอาจชัย • บัณฑิต ฤทธิ์ถกล • ราเชนทร์ ลิ้มตระกูล • หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล • นนทรีย์ นิมิบุตร • ภิญโญ รู้ธรรม • นนทรีย์ นิมิบุตร • นนทรีย์ นิมิบุตร • จิระ มะลิกุล • คมกฤษ ตรีวิมล / ทรงยศ สุขมากอนันต์ / นิธิวัฒน์ ธราธร / วิชชพัชร์ โกจิ๋ว / วิทยา ทองอยู่ยง / อดิสรณ์ ตรีสิริเกษม • อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์ • จิระ มะลิกุล • เฉลิม วงค์พิมพ์ • ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล • อาทิตย์ อัสสรัตน์ • ก้องเกียรติ โขมศิริ • อุรุพงศ์ รักษาสัตย์ • เป็นเอก รัตนเรือง • ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล • คงเดช จาตุรันต์รัศมี • ลี ชาตะเมธีกุล • นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ • อโนชา สุวิชากรพงศ์ |
รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง | บัณฑิต ฤทธิ์ถกล • ยุทธนา มุกดาสนิท • บัณฑิต ฤทธิ์ถกล • อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์ • อุดม อุดมโรจน์ • นนทรีย์ นิมิบุตร • เป็นเอก รัตนเรือง • ออกไซด์ แปง / แดนนี่ แปง • บัณฑิต ฤทธิ์ถกล • จิระ มะลิกุล • เป็นเอก รัตนเรือง • อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์ • คงเดช จาตุรันต์รัศมี • ทรงยศ สุขมากอนันต์ • ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล • อาทิตย์ อัสสรัตน์ • สมเกียรติ์ วิทุรานิช • อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล • เป็นเอก รัตนเรือง • คงเดช จาตุรันต์รัศมี • คงเดช จาตุรันต์รัศมี • ยุทธเลิศ สิปปภาค • นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ • อโนชา สุวิชากรพงศ์ |
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม • นักแสดงนำชาย • นักแสดงนำหญิง • นักแสดงประกอบชาย • นักแสดงประกอบหญิง • ผู้กำกับภาพยนตร์ | |
รางวัลตุ๊กตาทอง | |
รางวัลสุพรรณหงส์ | หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล • พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล / เปี๊ยก โปสเตอร์ • ชนะ คราประยูร • วิจิตร คุณาวุฒิ • ยุทธนา มุกดาสนิท • หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล • เปี๊ยก โปสเตอร์ • หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล • บัณฑิต ฤทธิ์ถกล • ชูชัย องอาจชัย • บัณฑิต ฤทธิ์ถกล • ราเชนทร์ ลิ้มตระกูล • หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล • นนทรีย์ นิมิบุตร • ภิญโญ รู้ธรรม • นนทรีย์ นิมิบุตร • นนทรีย์ นิมิบุตร • จิระ มะลิกุล • คมกฤษ ตรีวิมล / ทรงยศ สุขมากอนันต์ / นิธิวัฒน์ ธราธร / วิชชพัชร์ โกจิ๋ว / วิทยา ทองอยู่ยง / อดิสรณ์ ตรีสิริเกษม • อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์ • จิระ มะลิกุล • เฉลิม วงค์พิมพ์ • ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล • อาทิตย์ อัสสรัตน์ • ก้องเกียรติ โขมศิริ • อุรุพงศ์ รักษาสัตย์ • เป็นเอก รัตนเรือง • ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล • คงเดช จาตุรันต์รัศมี • ลี ชาตะเมธีกุล • นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ • อโนชา สุวิชากรพงศ์ |
รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง | บัณฑิต ฤทธิ์ถกล • ยุทธนา มุกดาสนิท • บัณฑิต ฤทธิ์ถกล • อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์ • อุดม อุดมโรจน์ • นนทรีย์ นิมิบุตร • เป็นเอก รัตนเรือง • ออกไซด์ แปง / แดนนี่ แปง • บัณฑิต ฤทธิ์ถกล • จิระ มะลิกุล • เป็นเอก รัตนเรือง • อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์ • คงเดช จาตุรันต์รัศมี • ทรงยศ สุขมากอนันต์ • ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล • อาทิตย์ อัสสรัตน์ • สมเกียรติ์ วิทุรานิช • อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล • เป็นเอก รัตนเรือง • คงเดช จาตุรันต์รัศมี • คงเดช จาตุรันต์รัศมี • ยุทธเลิศ สิปปภาค • นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ • อโนชา สุวิชากรพงศ์ |
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม • นักแสดงนำชาย • นักแสดงนำหญิง • นักแสดงประกอบชาย • นักแสดงประกอบหญิง • ผู้กำกับภาพยนตร์ |