Puanglek Boonchiang
Quick Facts
Biography
นางพวงเล็ก บุญเชียง (เกิด 18 มีนาคม พ.ศ. 2493) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา 7 สมัย
ประวัติ
พวงเล็ก บุญเชียง (สกุลเดิม : ตันบรรจง) เกิดเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2493 เป็นบุตรของนายเพียว ตันบรรจง กับ นางหลวน ตันบรรจง และ เป็นพี่สาวของนายไพโรจน์ ตันบรรจง และนายไพรัตน์ ตันบรรจง สำเร็จการศึกษาที่โรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาบริหารธุรกิจ จาก St.Mary College ประเทศสหรัฐอเมริกา
งานการเมือง
อดีตเคยประกอบธุรกิจส่วนตัว ด้วยการเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท รวมเพียว จำกัด ก่อนที่จะลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2522 และได้รับเลือกติดต่อกัน จนถึง พ.ศ. 2538 รวม 7 สมัย
พวงเล็ก บุญเชียง ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (บรรหาร ศิลปอาชา) เมื่อปี พ.ศ. 2531
พวงเล็ก บุญเชียง ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535
ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2543 เธอได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดพะเยา
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
พวงเล็ก บุญเชียง ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 7 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดพะเยา สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดพะเยา สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดพะเยา สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดพะเยา สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดพะเยา สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดพะเยา สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดพะเยา สังกัดพรรคชาติไทย
สมาชิกวุฒิสภา
- การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2543 จังหวัดพะเยา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)