peoplepill id: prapapan-kornkosiyakaj
PK
Thailand
2 views today
2 views this week
Prapapan Kornkosiyakaj
Thai academic

Prapapan Kornkosiyakaj

The basics

Quick Facts

Intro
Thai academic
Places
Gender
Female
Birth
Age
91 years
Positions
associate professor
The details (from wikipedia)

Biography

รองศาสตราจารย์ ดร.ประภาพันธุ์ ภาณุพันธ์​ุ กรโกสียกาจ (เดิม: หม่อมเจ้าประภาพันธุ์ ภาณุพันธุ์; 3 ธันวาคม พ.ศ. 2472 – 24 มีนาคม พ.ศ. 2563) เป็นพระธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดช กับหม่อมมาลี ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา เป็นพระราชปนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นอดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ประวัติ

หม่อมเจ้าประภาพันธุ์ ภาณุพันธุ์ มีพระนามลำลองว่า หญิงภา เป็นพระธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดช กับหม่อมมาลี ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม สุขเจริญ)ประสูติเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2472 ณ พระตำหนักญี่ปุ่น วังบูรพาภิรมย์ เป็นพระนัดดาในสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช และเป็นพระราชปนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อมีชันษาได้ 4 ปี พระบิดาได้สิ้นพระชนม์ หม่อมเจ้าประภาพันธุ์มีเจ้าพี่เจ้าน้องร่วมพระมารดาสององค์คือ คือหม่อมเจ้าสุริยพันธุ์ ภาณุพันธุ์ และพันธุ์วโรภาส เศวตรุนทร์

หม่อมเจ้าประภาพันธุ์ได้ขอพระราชทานกราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับ พลอากาศตรีโกสีย์ กรโกสียกาจ บุตร พลอากาศตรี หลวงกรโกสียกาจ (กอน โสมนะพันธ์) กับอบ กรโกสียกาจ เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504 มีโอรสธิดาด้วยกันสามคน

แม้ท่านหญิงประภาพันธุ์จะลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์แล้ว แต่ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรให้ดำรงพระฐานะเป็นพระราชวงศ์ฝ่ายใน และได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดจากพระคลังข้างที่เป็นประจำทุกปี ตลอดจนใช้คำราชาศัพท์ชั้นหม่อมเจ้าตามเดิม ทั้งยังมีความสนิทสนมกับพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ แก่ท่านหญิงประภาพันธุ์เป็นกรณีพิเศษ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดาทรงเรียกท่านหญิงประภาพันธุ์อย่างสนิทสนมว่า "ยายชวด"

ท่านหญิงประภาพันธุ์ กรโกสียกาจสิ้นชีพิตักษัยด้วยโรคมะเร็งตับ เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2563 ณ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ สิริชันษา 90 ปี 3 เดือน ในการนี้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำหลวงสรงพระศพ และทรงรับศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ 3 วัน ตั้งศพบำเพ็ญพระกุศล ณ ศาลาภาณุรังษี วัดเทพศิรินทราวาส ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานโกศแปดเหลี่ยมประกอบศพ และพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ในการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพโดยตลอด และในวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในการพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส

การทำงาน

หม่อมเจ้าประภาพันธุ์ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย, โรงเรียนราชินี และโรงเรียนราชินีบน ทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตจากคณะอักษรศาสตร์และคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาพัฒนาการ จากวิทยาลัยวิชาการศึกษา (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) เมื่อปี พ.ศ. 2500 ทรงเริ่มรับราชการเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499 ทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตด้านการศึกษา (DODT.) จากประเทศฟิลิปปินส์ และเกษียณอายุราชการเมื่อปี พ.ศ. 2533 ในตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ระดับ 9

ประภาพันธุ์ได้ทรงงานด้านสาธารณกุศล เช่น เป็นองค์ประธานมูลนิธิหม่อมเจ้าพิจิตรจิราภา เทวกุล ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เพื่อประทานทุนการศึกษาให้แก่นักเรียน นิสิต นักศึกษาที่ใฝ่เรียน แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เป็นแบบอย่างของการปฏิบัติตนที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาการศึกษาของชาติ จนเป็นที่ประจักษ์ชัดและเป็นที่ยอมรับของสังคม ทำให้ได้รับการประกาศเกียรติคุณเป็น "ผู้มีคุณูปการต่อการศึกษาของชาติ" ประเภทบุคคลในปี พ.ศ. 2558

นิพนธ์

  • เพลงเทพมหาจักรี (พ.ศ. 2528) เพลงสดุดีเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
  • เพลงบัวแก้ว (พ.ศ. 2529) เพลงสดุดีเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
  • เพลงขวัญฟ้า (พ.ศ. 2529) เพลงสดุดีเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

  • พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
  • พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
  • พ.ศ. 2524 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)

ลำดับสาแหรก

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. (=24.) พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 
 
 
 
 
 
 
8. (=12.) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. (=25.) สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
 
 
 
 
 
 
 
4. สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. (=26.) สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์
 
 
 
 
 
 
 
9. (=13.) สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. (=27.) หม่อมน้อย ศิริวงศ์ ณ อยุธยา
 
 
 
 
 
 
 
2. พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดช
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
 
 
 
 
 
 
 
10. เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. กลิ่น บุนนาค
 
 
 
 
 
 
 
5. หม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
11. อิ่ม สุรวงศ์ไวยวัฒน์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
1. ประภาพันธุ์ กรโกสียกาจ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
3. หม่อมมาลี ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. (=24.) พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 
 
 
 
 
 
 
8. (=12.) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. (=25.) สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
 
 
 
 
 
 
 
4. สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. (=26.) สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์
 
 
 
 
 
 
 
9. (=13.) สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. (=27.) หม่อมน้อย ศิริวงศ์ ณ อยุธยา
 
 
 
 
 
 
 
2. พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดช
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
 
 
 
 
 
 
 
10. เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. กลิ่น บุนนาค
 
 
 
 
 
 
 
5. หม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
11. อิ่ม สุรวงศ์ไวยวัฒน์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
1. ประภาพันธุ์ กรโกสียกาจ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
3. หม่อมมาลี ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. (=24.) พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 
 
 
 
 
 
 
8. (=12.) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. (=25.) สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
 
 
 
 
 
 
 
4. สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. (=26.) สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์
 
 
 
 
 
 
 
9. (=13.) สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. (=27.) หม่อมน้อย ศิริวงศ์ ณ อยุธยา
 
 
 
 
 
 
 
2. พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดช
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
 
 
 
 
 
 
 
10. เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. กลิ่น บุนนาค
 
 
 
 
 
 
 
5. หม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
11. อิ่ม สุรวงศ์ไวยวัฒน์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
1. ประภาพันธุ์ กรโกสียกาจ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
3. หม่อมมาลี ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 


อ้างอิง

The contents of this page are sourced from Wikipedia article. The contents are available under the CC BY-SA 4.0 license.
Lists
Prapapan Kornkosiyakaj is in following lists
comments so far.
Comments
From our partners
Sponsored
Credits
References and sources
Prapapan Kornkosiyakaj
arrow-left arrow-right instagram whatsapp myspace quora soundcloud spotify tumblr vk website youtube pandora tunein iheart itunes