peoplepill id: phraya-trang
PT
Thailand
1 views today
1 views this week
Phraya Trang
Ruler of Trang

Phraya Trang

The basics

Quick Facts

Intro
Ruler of Trang
Places
Work field
The details (from wikipedia)

Biography

พระยาตรัง หรือ พระยาตรังคภูมาภิบาล เป็นเจ้าเมืองตรัง และเป็นกวีเอกคนหนึ่งในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยมีผลงานที่โดดเด่นด้านคำประพันธ์ประเภทโคลง มีผลงานเป็นที่ยกย่องแต่อดีตจนปัจจุบัน ทว่าประวัติชีวิตของท่านไม่ใคร่จะเป็นที่รู้จักมากนัก

พระยาตรังเป็นชาวเมืองนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของ 'ออกพระศรีราชสงครามราชภักดี (เยาว์) ' มารดาคือ 'หม่อมแจ่ม' ธิดาเจ้าพระยานคร (พัฒน์) ประวัติอื่นๆ เท่าที่ทราบ ก็คือ ท่านมีภรรยา 4 คน ชื่อ 'เขียว' (มีบุตรหนึ่งคน ชื่อ พิม) , ชื่อ'คง ' (มีบุตรชื่อ อบ) , ชื่อ 'แดง' (มีบุตรชื่อนายภู่และนายหนู) และชื่อ 'ฉิม' (มีบุตรชื่อเจิม)

ในวัยเยาว์ท่านคงจะบวชและเรียนหนังสือที่วัดท่ามอญ (ปัจจุบัน คือ วัดศรีทวี ในเขตอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช) ท่านได้เป็นเจ้าเมืองตรังในสมัยใดไม่ปรากฏ แต่ไม่น่าจะช้ากว่าสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงปราบดาภิเษก เมื่อ พ.ศ. 2325 พระยาตรังได้เข้ามาถวายตัวรับราชการในกรุงเทพมหานคร โดยได้พักอาศัยอยู่กับพระยาภักดีภูธร (ฮิม) ลุงของท่าน

เมื่อพระยาตรังชราภาพลงมาก จึงกราบถวายบังคมลากลับไปอยู่บ้านที่เมืองนครศรีธรรมราช ในสมัยรัชกาลที่ 3 และอยู่ที่นั่นกระทั่งถึงแก่อนิจกรรม

ผลงาน

  • เพลงยาวพระยาตรัง เป็นเพลงยาวรำพันถึงความรัก เชื่อว่าแต่งในสมัยหนุ่ม
  • เพลงยาวนมัสการพระบรมธาตุ หรือ นิราศไปตรัง แต่งเมื่อครั้งไปวางตราเป็นเจ้าเมืองตรัง
  • โคลงดั้นนิราศตามเสด็จทัพลำน้ำน้อย แต่งเมื่อตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชไปตีเมืองทวาย เมื่อ พ.ศ. 2330
  • โคลงนิราศพระยาตรัง หรือ โคลงนิราศถลาง แต่งเมื่อต้นรัชกาลที่ 2 พ.ศ. 2352 คราวพม่ายกทัพมาตีเมืองถลาง และหัวเมืองชายทะเลทางใต้
  • โคลงดั้นเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แต่งขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เมื่อ พ.ศ. 2361
  • โคลงกวีโบราณ เป็นการรวบรวมบทโคลงของกวีสมัยอยุธยา ทั้งกลบท และโคลงกระทู้

นอกจากนี้พระยาตรังยังได้แต่งมหาชาติ กัณฑ์มัทรีไว้เรื่องหนึ่งด้วย แต่ยังไม่พบต้นฉบับ

อ้างอิง

  • พระยาตรัง. วรรณกรรมพระยาตรัง. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2547.
The contents of this page are sourced from Wikipedia article. The contents are available under the CC BY-SA 4.0 license.
Lists
Phraya Trang is in following lists
comments so far.
Comments
From our partners
Sponsored
Phraya Trang
arrow-left arrow-right instagram whatsapp myspace quora soundcloud spotify tumblr vk website youtube pandora tunein iheart itunes