Phraya Thepwithunphahunsarutabodi
Quick Facts
Biography
มหาอำมาตย์โท พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตบดีมีนามเดิมว่าบุญช่วย วณิกกุล (15 มิถุนายน พ.ศ. 2432 - 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492) อดีตองคมนตรีในรัชกาลที่ 7 อดีตเสนาบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และอดีตอธิบดีศาลฎีกา
ประวัติ
บุญช่วย วณิกกุล เป็นบุตรคนสุดท้องของนายแสงและนางชื่น วณิกกุล เริ่มต้นการศึกษาที่พระตำหนักสวนกุหลาบ ศึกษาต่อที่โรงเรียนราชวิทยาลัย สอบทุนเล่าเรียนหลวงได้เป็นที่ 1 เมื่อมีอายุเพียง 13 ปี 10 เดือน แต่ได้สละสิทธินั้นและสมัครเข้าเป็นนักเรียนกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม เพื่อศึกษากฎหมายไทยเสียก่อน และได้ไปศึกษาวิชากฎหมายที่สำนักเกรย์สอินน์ (Gray’s Inn) ที่กรุงลอนดอน เมื่ออายุ 16 ปี พร้อมกับพระยามโนปกรณ์นิติธาดา และเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ
บุญช่วย วณิกกุล จบการศึกษาสำนักเกรย์สอินน์ เป็นเนติบัณฑิตอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2452 ด้วยคะแนนเกียรตินิยมชั้น 1 และเข้ารับราชการในกระทรวงยุติธรรม ตำแหน่งผู้พิพากษาในกองข้าหลวงพิเศษ และได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ข้าหลวงพิเศษยุติธรรมและกรรมการศาลฎีกาตามลำดับ
ในปี พ.ศ. 2466 ท่านได้โอนไปดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการ ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีศาลฎีกา เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2471
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในคณะรัฐมนตรีพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ต่อมาในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2476 ท่านได้กราบถวายบังคมทูลขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่า พร้อมกับรัฐมนตรีในคณะคนอื่นๆ ซึ่งได้กราบถวายบังคมทูลขอลาออกพร้อมกันทั้งคณะ
พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตบดี ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการร่างประมวลกฎหมาย เมื่อ พ.ศ. 2455 ต่อมาในปี พ.ศ. 2459 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการชำระประมวลกฎหมาย และในปี พ.ศ. 2466
ในบั้นปลายชีวิต ท่านได้ดำรงตำแหน่งสมาชิกฝ่ายไทยในศาลประจำอนุญาโตตุลาการถาวร ณ กรุงเฮก และได้รับเลือกตั้งจากรัฐสภาให้เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญจนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 สิริรวมอายุได้ 60 ปี 5 เดือน 3 วัน
ยศ
- มหาอำมาตย์ตรี
- 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467 มหาอำมาตย์โท
ตำแหน่ง
- – กรรมการศาลฎีกาชั่วคราว
- 8 มกราคม 2462 – กรรมการศาลฎีกา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2474 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
- พ.ศ. 2466 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
- พ.ศ. 2467 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. 2455 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 3 (ป.ป.ร.3)
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
อ้างอิง
- พิพิธภัณฑ์ศาลไทย เก็บถาวร 2007-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ต้นตระกูลอัยการไทย เก็บถาวร 2007-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน