peoplepill id: kornnika-chitrabhongse
KC
Thailand
1 views today
2 views this week
Kornnika Chitrabhongse

Kornnika Chitrabhongse

The basics

Quick Facts

The details (from wikipedia)

Biography

หม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์ (11 ธันวาคม พ.ศ. 2459 - 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558) เป็นพระธิดาองค์เล็กในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ประสูติแต่หม่อมราชวงศ์โต จิตรพงศ์ และเป็นพระอนุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ที่เหล่าพระบรมวงศานุวงศ์ทรงนับถือ

นอกจากนี้ หม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์ ยังทรงเป็นประธานมูลนิธินริศรานุวัติวงศ์ เป็นประธานกรรมการมูลนิธิสิรินธร และเป็นกรรมการที่ปรึกษามูลนิธิเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระประวัติ

หม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์ มีพระนามลำลองว่า ท่านหญิงไอ ประสูติเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2459 เป็นพระบุตรองค์ที่เก้าในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ประสูติแต่หม่อมราชวงศ์โต จิตรพงศ์ (ราชสกุลเดิม งอนรถ) มีเจ้าพี่ร่วมหม่อมมารดาสี่องค์ คือ หม่อมเจ้าประโลมจิตร จิตรพงศ์ (ท่านหญิงอี่), หม่อมเจ้าดวงจิตร จิตรพงศ์ (ท่านหญิงอาม), หม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์ (ท่านชายไส) และหม่อมเจ้าเพลารถ จิตรพงศ์ (ท่านชายงั่ว)

หม่อมเจ้ากรณิกาทรงเข้ารับการศึกษาจากโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย เป็นนักเรียนรุ่นพี่ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช หม่อมเจ้ากรณิกาซึ่งเป็นนักเรียนรุ่นพี่จะมาช่วยหยิบนม และรินถวายทุกวันตามกฎของโรงเรียนที่รุ่นพี่ต้องดูแลรุ่นน้อง หลังทรงสำเร็จการศึกษาก็เป็นครูสอนวิชาภาษาไทยที่โรงเรียนดังกล่าว ตลอดพระชนม์ชีพได้ทรงงานด้านต่างๆ อยู่ตลอดเวลา เริ่มจากเป็นอาจารย์สอนภาษาไทยที่โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัยประมาณ 2 ปี โดยสอนลิลิตตะเลงพ่ายและมหาเวสสันดรชาดก ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้น เมื่อเกิดสงครามได้ทรงเข้าทำงานที่กองอาสากาชาด สภากาชาดไทย ตามคำชวนของหม่อมเจ้ามารยาตรกัญญา ดิศกุล ได้ทรงงานช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยจากการทิ้งระเบิดอย่างกล้าหาญ ต่อมาได้ทรงดำรงตำแหน่งนายกสมาคมนักเรียนเก่ามาแตร์เดอีวิทยาลัยเป็นเวลานานถึง 22 ปี (พ.ศ. 2481-พ.ศ. 2503)

หม่อมเจ้ากรณิกามีฝีหัตถ์ด้านงานฝีมือและการตัดเย็บจากการฝึกหัดด้วยองค์เองจนเชี่ยวชาญ และทรงเปิดห้องเสื้อ "กรณิก (Karnik)"ซึ่งเป็นที่นิยมและมีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น ทรงมีฝีมือเป็นเลิศในด้านการเย็บปักถักร้อย ถึงขั้นสามารถปักลายเส้นภาพทศชาติชาดกฝีพระหัตถ์ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

ในด้านดนตรีไทย หม่อมเจ้าหญิงกรนิกา จิตรพงศ์ ทรงระนาดทุ้มในวงบ้านปลายเนินเป็นประจำอยู่จนถึงพระชันษา 90 นอกจากนี้ยังโปรดการทำสวน การทำกับข้าว และการออกแบบสิ่งก่อสร้าง โดยทรงเขียนแบบร่างวางแนวคิดแล้วประทานให้สถาปนิกรับไปดำเนินการต่อ ตัวอย่างเช่น ทรงออกแบบห้องพยาบาลของมูลนิธิสิรินธร, ออกแบบเรือนสีเขียวมิ้นต์ ภายในบริเวณบ้านปลายเนิน มีเรือนไม้ที่เรียกกันว่า ‘เรือนละคร’ เป็นเรือนที่หม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์ ทรงออกแบบเอง และใช้เป็นที่สอนรำไทยมาจนถึงปัจจุบัน เป็นต้น

กรณียกิจ

หม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์ ประทับ ณ ตำหนักปลายเนิน ถนนพระรามที่ 4 ติดกับการไฟฟ้านครหลวง ซึ่งทรงเปิดสอนนาฏศิลป์ และดนตรีไทย โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จพระราชดำเนินมาทรงดนตรีไทยบ่อยครั้งเมื่อหม่อมเจ้ากรณิกาทรงว่างจากกรณียกิจ เนื่องจากหม่อมเจ้ากรณิกามีปรีชาด้านการดนตรี โดยเฉพาะระนาดทุ้ม และเลิกทรงระนาดทุ้มไปเมื่อชันษา 93 ปี เพราะไม่ถนัดประทับนั่งนาน ๆ

หม่อมเจ้าหญิงกรณิกา จิตรพงศ์

หม่อมเจ้ากรณิกาเคยเสด็จแทนพระองค์ในงานพระราชพิธีบ่อยครั้ง ทั้งยังดำรงตำแหน่งเป็นประธานมูลนิธินริศรานุวัติวงศ์ ซึ่งมีการประกวดภาพถ่ายเนื่องในงานวันนริศ เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ผู้เป็นนายช่างใหญ่แห่งกรุงสยามและหนึ่งในบุคคลสำคัญของโลก นอกจากนี้ยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการมูลนิธิสิรินธร โดยทรงเป็นประธานอำนวยการจัดสร้างห้องพยาบาลของมูลนิธิดังกล่าว พร้อมกับส่งบุรุษพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาล ทำการรักษาภิกษุและสามเณรที่วัดไผ่ดำ จังหวัดสิงห์บุรี และดำรงตำแหน่งกรรมการที่ปรึกษามูลนิธิเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณ ภายหลังเมื่อมีชันษามากขึ้น หม่อมเจ้ากรณิกาจึงมิค่อยเสด็จออกงานบ่อยนัก

เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินมาประทับรักษาพระองค์ ณ โรงพยาบาลศิริราช หม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์ ขณะมีชันษา 92 ปี พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เสด็จพร้อมด้วย ม.ร.ว.เอมจิตร จิตพงศ์ ได้เข้าร่วมลงนามถวายพระพร โดยหม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์ ได้ประทานสัมภาษณ์ไว้ว่า "ตนเคารพรักในหลวงเป็นที่สุดในชีวิต เคยเข้าเฝ้าและได้รับพระมหากรุณาธิคุณอยู่เป็นประจำ พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างในทุกๆ ด้าน ทรงเป็นเจ้าอยู่ที่มีความบริสุทธิ์ยุติธรรม พระองค์ทรงงานโดยไม่คิดถึงเรื่องอื่น คิดถึงแต่ประชาชนอันเป็นที่รักของพระองค์ ซึ่งตนได้ถวายพระพรให้พระองค์อยู่หัวเป็นประจำ คนไทยทุกคนรักในหลวง เป็นเจ้าอยู่หัวที่อยู่ในใจของคนไทยทุกคน ฝากถึงคนไทยทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด ให้มีความเรียบร้อยเพื่อแบ่งเบาพระราชกรณียกิจของพระองค์" (21 กันยายน 2552)

สิ้นชีพิตักษัย

หม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์ สิ้นชีพิตักษัยด้วยอาการพระหทัยล้มเหลวเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เวลา 15.22 น. ณ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ สิริชันษา 98 ปี นับเป็นหม่อมเจ้าองค์สุดท้ายแห่งราชสกุลจิตรพงศ์

ในการนี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พลเรือเอกหม่อมเจ้าปุสาณ สวัสดิวัตน์ เสด็จแทนพระองค์ไปในการพระราชทานน้ำหลวงสรงศพ ในวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เวลา 16.30 น. ณ ท้องพระโรง วังปลายเนิน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระโกศราชวงศ์บรรจุศพ พร้อมด้วยฉัตรเครื่องสูงทองแผ่ลวดตั้งเป็นเกียรติยศประกอบ พระราชทานพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมศพมีกำหนด 7 คืน และทรงรับศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์โดยตลอด

ในการพระราชทานเพลิงศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์การพิธีพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในการพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2559 ในการนี้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดามาตุ โดยเสด็จด้วย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

  • พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
  • พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
  • พ.ศ. 2533 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายใน)
  • พ.ศ. 2487 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ร.)
  • พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 3 (อ.ป.ร.3)
  • พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)
  • พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
  • พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)

พงศาวลี

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
 
 
 
 
 
 
 
8. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
 
 
 
 
 
 
 
4. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. เงิน แซ่ตัน
 
 
 
 
 
 
 
9. สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์
 
 
 
 
 
 
 
2. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. (=24.) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
10. สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. เจ้าจอมมารดาทรัพย์ ในรัชกาลที่ 3
 
 
 
 
 
 
 
5. พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. จีนก๊วง แซ่จิ๋ว
 
 
 
 
 
 
 
11. หม่อมกิ่ม ศิริวงศ์ ณ อยุธยา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. แตง แซ่ลี้
 
 
 
 
 
 
 
1. หม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
24. (=20.) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
12. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้างอนรถ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
25. เจ้าจอมมารดาจาด ในรัชกาลที่ 3
 
 
 
 
 
 
 
6. หม่อมเจ้าแดง งอนรถ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
13. หม่อมรอด งอนรถ ณ อยุธยา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
3. หม่อมราชวงศ์โต จิตรพงศ์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
7. หม่อมวัน งอนรถ ณ อยุธยา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
 
 
 
 
 
 
 
8. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
 
 
 
 
 
 
 
4. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. เงิน แซ่ตัน
 
 
 
 
 
 
 
9. สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์
 
 
 
 
 
 
 
2. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. (=24.) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
10. สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. เจ้าจอมมารดาทรัพย์ ในรัชกาลที่ 3
 
 
 
 
 
 
 
5. พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. จีนก๊วง แซ่จิ๋ว
 
 
 
 
 
 
 
11. หม่อมกิ่ม ศิริวงศ์ ณ อยุธยา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. แตง แซ่ลี้
 
 
 
 
 
 
 
1. หม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
24. (=20.) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
12. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้างอนรถ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
25. เจ้าจอมมารดาจาด ในรัชกาลที่ 3
 
 
 
 
 
 
 
6. หม่อมเจ้าแดง งอนรถ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
13. หม่อมรอด งอนรถ ณ อยุธยา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
3. หม่อมราชวงศ์โต จิตรพงศ์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
7. หม่อมวัน งอนรถ ณ อยุธยา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
 
 
 
 
 
 
 
8. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
 
 
 
 
 
 
 
4. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. เงิน แซ่ตัน
 
 
 
 
 
 
 
9. สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์
 
 
 
 
 
 
 
2. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. (=24.) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
10. สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. เจ้าจอมมารดาทรัพย์ ในรัชกาลที่ 3
 
 
 
 
 
 
 
5. พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. จีนก๊วง แซ่จิ๋ว
 
 
 
 
 
 
 
11. หม่อมกิ่ม ศิริวงศ์ ณ อยุธยา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. แตง แซ่ลี้
 
 
 
 
 
 
 
1. หม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
24. (=20.) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
12. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้างอนรถ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
25. เจ้าจอมมารดาจาด ในรัชกาลที่ 3
 
 
 
 
 
 
 
6. หม่อมเจ้าแดง งอนรถ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
13. หม่อมรอด งอนรถ ณ อยุธยา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
3. หม่อมราชวงศ์โต จิตรพงศ์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
7. หม่อมวัน งอนรถ ณ อยุธยา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

อ้างอิง

  1. "พิธีมอบรางวัลภาพถ่ายและเปิดนิทรรศการ เนื่องในวันนริศ ประจำปี 2557 ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร". Fine Art Magazine. 24 เมษายน 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-23. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่จังหวัดสิงห์บุรี". สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7. 20 ตุลาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "คณะกรรมการแรกเริ่มก่อตั้ง มูลนิธิเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว". มูลนิธิเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. ""ม.จ.หญิงกรณิกา" ลงพระนามถวายพระพร "ในหลวง-พระพี่นางฯ"". ASTVผู้จัดการออนไลน์. 28 ตุลาคม 2550. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์. มหามกุฎราชสันตติวงศ์ พระนามพระราชโอรสธิดา พระราชนัดดา. กรุงเทพ : อมรินทร์พริ้นติ้ง, พ.ศ. 2547.หน้า หน้าที่. ISBN 974-272-911-5
  6. "พระจริยวัตรอันงดงาม". งานฉลองศิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-31. สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. ชวัลณัฏฐชัยนันทพัทธ์. "หม่อมเจ้าองค์สุดท้ายแห่งราชสกุล จิตรพงศ์ หม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์". แพรวดอตคอม. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "นางอัจฉราวดี ชัยสุวิรัตน์ ผู้อำนวยการเขตคลองเตย พร้อมคณะผู้บริหารเขต เข้าเยี่ยมคารวะหม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์ เจ้าของบ้านปลายเนิน ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญในพื้นที่ ในโอกาสรับตำแหน่งผู้อำนวยการเขตคลองเตย ณ บ้านปลายเนิน เขตคลองเตย". สำนักงานเขตคลองเตย. 9 กันยายน 2557. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "งานวันนริศ มหาวิทยาลัยศิลปากร และนิทรรศการภาพถ่ายนานาชาติ ครั้งที่ 5". WhO? Magazine. 2552. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "ประวัติการก่อตั้งมูลนิธิเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว". มูลนิธิเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. พรุ่งนี้เปิดศาลาสหทัยสมาคมลงนามถวายพระพร
  12. "หม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์ สิ้นชีพิตักษัยแล้ว สิริพระชันษา 98 ปี". สนุกดอตคอม. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. กรณิกานุสรณ์ในการออกเมรุพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้า กรณิกา จิตรพงศ์ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 4-6 มีนาคม พุทธศักราช 2559
  14. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพายและชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี 2555" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 129 (35ข): 2. 3 ธันวาคม 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-10-29. สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2555. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2551 (กรณีพิเศษ)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 125 (16ข): 1. 12 ธันวาคม 2551. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2555. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2533" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (74ง ฉบับพิเศษ): 3. 4 พฤษภาคม 2533. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2556. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
The contents of this page are sourced from Wikipedia article. The contents are available under the CC BY-SA 4.0 license.
Lists
Kornnika Chitrabhongse is in following lists
comments so far.
Comments
From our partners
Sponsored
Credits
References and sources
Kornnika Chitrabhongse
arrow-left arrow-right instagram whatsapp myspace quora soundcloud spotify tumblr vk website youtube pandora tunein iheart itunes