Gunta Danow
Quick Facts
Biography
วิคตอเรียยี กสิโสภา หรือ วิคตอเรีย ดานาว หรือรู้จักในชื่อ กันตา ดานาว (5 กรกฎาคม พ.ศ. 2514) เป็นนักแสดงลูกครึ่งฟิลิปปินส์-อังกฤษ เข้าสู่วงการในปี พ.ศ. 2531 มีผลงานการแสดงทั้งละครและภาพยนตร์ โดยเคยได้รับรางวัลตุ๊กตาทองในสาขาผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม จาก ขยี้ ในปี พ.ศ. 2534
ประวัติ
กันตา ดานาว มีชื่อจริงว่า วิคตอเรีย ดานาว เกิดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2514 ที่โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน เธอมีบิดาเป็นชาวฟิลิปปินส์ และมารดาชาวอังกฤษ มีพี่น้องสามคน มีพี่ชาย และน้องสาว โดยกันตาเป็นบุตรคนกลาง ขณะที่เธอเริ่มเข้าวงการในปี พ.ศ. 2532 เธอเรียนในระดับเทียบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนนานาชาติร่วมฤดี เธอเริ่มเข้าถ่ายแบบโฆษณา ก่อนที่จะเข้าสู่กันตนา และรับบทวันวิสาข์ ในละครเรื่อง ทิวาหวาม เป็นเรื่องแรก โดยรับบทคู่กับทูน หิรัญทรัพย์ โดยถ่ายทำกันในประเทศอังกฤษ
เธอสมรสกับภากร กสิโสภา มีบุตรชายสองคนชื่อภูรินทร์ ชื่อเล่น นิกกี้ และคณิน กสิโสภา ชื่อเล่น ไมค์กี้พอแต่งงานและมีลูกก็เริ่มหยุดเล่นละครแล้วถึงกลับมารับงานเป็นละครตอนเย็นบ้าง จากนั้นได้มาทำงานประจำที่คิง พาวเวอร์ หลังจากทำงานประจำหลายปี จึงได้รับการติดต่อจากโพลีพลัสให้มาแสดงละครเรื่อง บ้านศิลาแดง
ผลงาน
ละครโทรทัศน์
ปี | เรื่อง | บทบาท |
---|---|---|
2532 | ทิวาหวาม | วันวิสาข์ |
เจ้าสาวในชุดสีดำ | สวย | |
2533 | คุณแม่เพื่อนรัก | มัทรี |
2534 | ความรักของคุณฉุย | ฤทัย |
ปิศาจหรรษา | ปวิดา | |
ผู้การเรือเร่ | มะนาว | |
ละอองดาว | เริงใจ | |
2535 | ทายาทอสูร | พรรณทิพย์ |
2537 | คลื่นชีวิต | ปรียากุล |
2538 | เหมือนคนละฟากฟ้า | เจนจันทร์ |
พิษพยาบาท | หนูเก้ | |
2540 | ฟ้าสางที่กลางดง | ปรางทอง (รับเชิญ) |
2552 | เพื่อนซ่าส์ เทวดาจิ๋ว | บุศรา |
2553 | สาวน้อยมหัศจรรย์ Wonder G | นิลาวัลย์ |
2558 | บ้านศิลาแดง | เดือนฉาย |
2560 | ราชนาวีที่รัก | วันเพ็ญ |
2561 | ชาติ ลำชี | ชลัย |
ดอกหญ้าในพายุ | นงราม | |
เจ้าสาวช่างยนต์ | กรองแก้ว | |
ในคืนหนาว แสงดาวยังอุ่น | วิภา (รับเชิญ) | |
2562 | หลงเงาจันทร์ | เอมอร |
ไฟหิมะ | สุนีย์ | |
ผู้บ่าวอินดี้ ยาหยีอินเตอร์ | พรรณี (รับเชิญ) | |
สองนรี | ป้าแข | |
ปะการังสีดำ | ||
โซ่เวรี |
ภาพยนตร์
- จะรักอยู่แล้วเชียว (2532)
- ไม่รักได้ไง (2532)
- บ้านผีดุ (2533)
- ตี๋ใหญ่ 2 (2533)
- 7 ป่าช้า ตอนผีแหกท้อง (2533)
- ขยี้ (2533)
- ปอบผีฟ้า (2534)
- วิมานมะพร้าว (2534)
- สาวเชียงใหม่ ฉันรักเธอ (2535)
รางวัล
- รางวัลตุ๊กตาทองในสาขาผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม จาก ขยี้ ในปี พ.ศ. 2534
อ้างอิง
รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม | |
---|---|
รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม | |
2500–2525 |
|
2525–2550 |
|
2551-2557 |
|
2500–2525 |
|
2525–2550 |
|
2551-2557 |
|