peoplepill id: chumphol-somphot
CS
Thailand
1 views today
1 views this week
The basics

Quick Facts

Places
Gender
Male
Birth
Age
65 years
The details (from wikipedia)

Biography

นายพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ (29 ธันวาคม พ.ศ. 2400 – 3 เมษายน พ.ศ. 2465) มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 37 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาพึ่ง เมื่อวันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2400 เป็นต้นราชสกุลชุมพล

พระประวัติ

พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช ทรงสำเร็จการศึกษาทางด้านกฎหมายและด้านช่าง ทรงเริ่มรับราชการในกรมช่างทหารใน และดำรงตำแหน่งราชองครักษ์ (เอดเดอแกมป์) ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2427 ทรงรับราชการในตำแหน่งอธิบดีศาลฎีกาและศาลแพ่ง ในปี พ.ศ. 2436 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ

ต่อมาทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าหลวงใหญ่ต่างพระองค์ ข้าหลวงต่างพระองค์นั้นเป็นตำแหน่งสำคัญที่มีอำนาจยิ่งใหญ่กว่าข้าหลวง ข้าหลวงพิเศษอุปราชหรือสมุหเทศาภิบาล เพราะคำว่า "ต่างพระองค์" มีความหมาย "ต่างพระเนตรพระกรรณ" และสำเร็จราชการ ก็มีความหมายถึง "ความสำเร็จเด็ดขาดที่ได้รับมอบจากองค์พระเจ้าแผ่นดิน" อันได้แก่ "การบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่พสกนิกร คือความสมบูรณ์พูนสุขอยู่ดีกินดี" ตำแหน่งข้าหลวงต่างพระองค์นี้เท่าที่ปรากฏทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ มี 3 พระองค์ คือ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร และพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม

เสด็จไปรับราชการที่มณฑลลาวกาว ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นมณฑลอีสาน ครอบคลุมท้องที่จังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร อำนาจเจริญ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม นครจำปาศักดิ์ และกาฬสินธุ์ และตั้งกองบัญชาการที่จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ปี พ.ศ. 2436 โดยทรงรับผิดชอบทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2442 ทรงค้นพบ ปราสาทพระวิหาร บนผาเป้ยตาดี จังหวัดศรีสะเกษ และได้ทรงจารึก ร.ศ. ที่พบ และพระนามไว้ที่บริเวณชะง่อนผาเป้ยตาดี มีข้อความว่า "118 สรรพสิทธิ"

พระองค์ปกครองมณฑลอิสานเป็นเวลากว่า 17 ปี กระทั่งปี พ.ศ. 2453 ได้เสด็จกลับกรุงเทพฯ และทรงได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงวัง

นอกจากนี้พระองค์ยังทรงดำรงตำแหน่งองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับสถาปนาพระเกียรติยศเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ และได้กราบถวายบังคมลาออกจากราชการ เนื่องจากทรงชราและมีพระอนามัยไม่สมบูรณ์ กระทั่งสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2465 พระชันษาได้ 65 ปี มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2466 ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง

พระโอรส-ธิดา

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ทรงเป็นต้นราชสกุลชุมพล มีหม่อม 6 ท่าน ได้แก่

  1. หม่อมอำภา ชุมพล ณ อยุธยา (สกุลเดิม : ธรรมสโรช) ธิดานายช้อย ธรรมสโรช
  2. หม่อมเจริญ ชุมพล ณ อยุธยา (สกุลเดิม : ธรรมสโรช) ธิดานายช้อย ธรรมสโรช
  3. หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา (สกุลเดิม : บุตโรบล) ธิดาท้าวสุรินทรชมภู (หมั้น บุตโรบล) สายอาญาสี่อุบลราชธานี
  4. หม่อมบุญยืน ชุมพล ณ อยุธยา (สกุลเดิม : บุญรมย์) ธิดาท้าวไชยบุตร์ (บุดดี บุญรมย์)
  5. หม่อมคำเมียง ชุมพล ณ อยุธยา (ธิดาญาแม่หล้า สายเจ้าเมืองศรีสะเกษคนสุดท้าย ทายาท พระยารัตนวงษา (อุ่น) พระนัดดา เจ้าแก้วมงคล)
  6. หม่อมปุก ชุมพล ณ อยุธยา สตรีชาวอุบลราชธานี

โดยมีพระโอรสธิดารวมทั้งหมด 14 พระองค์ เป็นชาย 11 พระองค์ และหญิง 3 พระองค์

พระรูปพระนามหม่อมมารดาประสูติสิ้นพระชนม์/สิ้นชีพิตักษัยคู่สมรส
ไฟล์:หม่อมเจ้าประสบประสงค์.JPG1. หม่อมเจ้าประสบประสงค์ ชุมพลที่ 1 ในหม่อมเจริญ11 กันยายน พ.ศ. 24267 กรกฎาคม พ.ศ. 2509หม่อมถนอม
2. หม่อมเจ้าหญิงจงใจถวิล (ท่านหญิงใหญ่)ที่ 2 ในหม่อมเจริญ16 พฤศจิกายน พ.ศ. 24296 กรกฎาคม พ.ศ. 2512
3. หม่อมเจ้าเล็กหม่อมอำภา10 กันยายน พ.ศ. 2437
ไฟล์:หม่อมเจ้าบุญจิราธร.JPG4. หม่อมเจ้าหญิงบุญจิราธร พระนามเดิม หม่อมเจ้าหญิงจิรบุญญ์ณี (ท่านหญิงลาว)ที่ 1 ในหม่อมบุญยืน10 สิงหาคม พ.ศ. 244019 มีนาคม พ.ศ. 2523สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย
5. หม่อมเจ้าอุปลีสาณที่ 1 ในหม่อมเจียงคำ9 กรกฎาคม พ.ศ. 244217 กันยายน พ.ศ. 2517หม่อมเจ้าหญิงพวงรัตนประไพ (เทวกุล)
6. หม่อมเจ้าฐิตศักดิ์วิบูลย์ที่ 2 ในหม่อมบุญยืนพ.ศ. 24433 ตุลาคม พ.ศ. 2456
7. หม่อมเจ้าธานีเสิกสงัดที่ 3 ในหม่อมบุญยืน12 ธันวาคม พ.ศ. 244522 กรกฎาคม พ.ศ. 2524พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงรำไพประภา
8. หม่อมเจ้ากมลีสาณ (ท่านชายเล็ก)ที่ 2 ในหม่อมเจียงคำ23 เมษายน พ.ศ. 24498 ธันวาคม พ.ศ. 2521หม่อมเจ้าหญิงสีดาดำรวง (สวัสดิวัตน์)
9. หม่อมเจ้าหญิงนงนิตย์จำเนียรที่ 4 ในหม่อมบุญยืนพ.ศ. 2451พ.ศ. 2456
10. หม่อมเจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม)1 ตุลาคม พ.ศ. 2456
11. หม่อมเจ้าชมิยบุตรหม่อมคำเมียง28 ธันวาคม พ.ศ. 245225 ตุลาคม พ.ศ. 2547หม่อมพึงใจ (อมาตยกุล)
12. หม่อมเจ้าชุมปกบุตร์หม่อมปุก16 เมษายน พ.ศ. 246122 มิถุนายน พ.ศ. 2544หม่อมแคทลิน (เมย์ เจมส์)
หม่อมงามจิต (อินทรีย์)
13. หม่อมเจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม)
14. หม่อมเจ้าเนตร

พระยศ

พระยศทหาร

  • นายร้อยเอก
  • นายพันโท
  • นายพันเอก
  • นายพลตรี

พระยศพลเรือน

  • มหาอำมาตย์เอก
  • มหาเสวกเอก

พระยศเสือป่า

  • นายหมู่ใหญ่
  • นายกองตรี

พระเกียรติยศ

พระอิสริยยศ

  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช (29 ธันวาคม พ.ศ. 2400 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช (1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 - 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2428)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ (1 พฤษภาคม พ.ศ. 2428 - 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสรรพสิทธิประสงค์ (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนสรรพสิทธิประสงค์ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 - 3 เมษายน พ.ศ. 2465)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

  • พ.ศ. 2428 – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)
  • พ.ศ. 2455 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) (ฝ่ายหน้า)
  • พ.ศ. 2461 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.) (ฝ่ายหน้า)‎
  • พ.ศ. 2436 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)
  • พ.ศ. 2436 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
  • พ.ศ. 2431 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
  • พ.ศ. 2429 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
  • พ.ศ. 2428 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)
  • พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))
  • พ.ศ. 2456 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)
  • พ.ศ. 2443 – เหรียญปราบฮ่อ (ร.ป.ฮ.)
  • พ.ศ. ๒๔๕๑ – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 3 (ม.ป.ร.3)
  • พ.ศ. ๒๔๔๖ – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 1 (จ.ป.ร.1)
  • พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1 (ว.ป.ร.1)
  • พ.ศ. 2441 – เหรียญราชินี (ส.ผ.)

พระอนุสรณ์

  • พระอนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ณ ทุ่งศรีเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
  • พระอนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ณ โรงพยาบาลสรรพสิทธิ์ประสงค์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
  • พระอนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ณ ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
  • โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
  • วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
  • ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ (มณฑลทหารบกที่ 22) อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
  • โรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
  • ถนนสรรพสิทธิ์ (เขตเทศบาลนครอุบลราชธานี)

พงศาวลี

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. (=22.) สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
 
 
 
 
 
 
 
8. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. (=23.) พระอัครชายา (หยก)
 
 
 
 
 
 
 
4. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. ทอง ณ บางช้าง
 
 
 
 
 
 
 
9. สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี
 
 
 
 
 
 
 
2. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. เศรษฐีจีนฮกเกี้ยนแซ่ตัน
 
 
 
 
 
 
 
10. เงิน แซ่ตัน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. น้องสาวของท่านผู้หญิงน้อย
ภรรยาของเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ (อู่)
 
 
 
 
 
 
 
5. สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. (=16.) สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
 
 
 
 
 
 
 
11. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. (=17.) พระอัครชายา (หยก)
 
 
 
 
 
 
 
1. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
6. พระยาราชสงคราม (อิน อินทรวิมล)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
3. เจ้าจอมมารดาพึ่ง ในรัชกาลที่ 4
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. (=22.) สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
 
 
 
 
 
 
 
8. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. (=23.) พระอัครชายา (หยก)
 
 
 
 
 
 
 
4. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. ทอง ณ บางช้าง
 
 
 
 
 
 
 
9. สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี
 
 
 
 
 
 
 
2. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. เศรษฐีจีนฮกเกี้ยนแซ่ตัน
 
 
 
 
 
 
 
10. เงิน แซ่ตัน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. น้องสาวของท่านผู้หญิงน้อย
ภรรยาของเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ (อู่)
 
 
 
 
 
 
 
5. สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. (=16.) สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
 
 
 
 
 
 
 
11. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. (=17.) พระอัครชายา (หยก)
 
 
 
 
 
 
 
1. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
6. พระยาราชสงคราม (อิน อินทรวิมล)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
3. เจ้าจอมมารดาพึ่ง ในรัชกาลที่ 4
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. (=22.) สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
 
 
 
 
 
 
 
8. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. (=23.) พระอัครชายา (หยก)
 
 
 
 
 
 
 
4. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. ทอง ณ บางช้าง
 
 
 
 
 
 
 
9. สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี
 
 
 
 
 
 
 
2. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. เศรษฐีจีนฮกเกี้ยนแซ่ตัน
 
 
 
 
 
 
 
10. เงิน แซ่ตัน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. น้องสาวของท่านผู้หญิงน้อย
ภรรยาของเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ (อู่)
 
 
 
 
 
 
 
5. สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. (=16.) สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
 
 
 
 
 
 
 
11. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. (=17.) พระอัครชายา (หยก)
 
 
 
 
 
 
 
1. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
6. พระยาราชสงคราม (อิน อินทรวิมล)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
3. เจ้าจอมมารดาพึ่ง ในรัชกาลที่ 4
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

อ้างอิง

  • ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2544. 490 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-222-648-2
  • กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร. ย้อนรอยราชสกุลวงศ์ "วังหลวง". กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พิมพ์ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2549. 304 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-941-205-2
  • ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
The contents of this page are sourced from Wikipedia article. The contents are available under the CC BY-SA 4.0 license.
Lists
Chumphol Somphot is in following lists
comments so far.
Comments
From our partners
Sponsored
Credits
References and sources
Chumphol Somphot
arrow-left arrow-right instagram whatsapp myspace quora soundcloud spotify tumblr vk website youtube pandora tunein iheart itunes