peoplepill id: chiad-ladavalya
CL
1 views today
1 views this week
Chiad Ladavalya

Chiad Ladavalya

The basics

Quick Facts

The details (from wikipedia)

Biography

เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์เฉียด ในรัชกาลที่ 5 เป็นหม่อมราชวงศ์คนแรก ในราชสกุล "ลดาวัลย์" เกิดเมื่อวันศุกร์ ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2416 เป็นธิดาของหม่อมเจ้าฉาย ลดาวัลย์ และ หม่อมฉิม ด้วยเหตุที่เป็นหม่อมราชวงศ์คนที่หนึ่งของราชสกุลจึงมีชื่อเรียกกันว่า "คุณใหญ่"

ถวายตัวรับราชการในสำนักพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดาจนเมื่ออายุได้ 11 ปี จึงได้ถวายตัวรับราชการฝ่ายในได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้โกนจุกในพระราชพิธีเฉลิมพระที่นั่งวโรภาษพิมาน ที่พระราชวังบางปะอิน จึงมีชื่อพระราชทานว่า "เชียด"

ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตติยจุลจอมเกล้า เมื่อ พ.ศ. 2449 กับเหรียญรัตนาภรณ์ จปร.ชั้นที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2450 นอกจากนี้ยังได้รับพระราชทานตลับทองคำ เมื่อรับราชการครบ 10 ปี , หีบหมากทองคำ เมื่อรับราชการครบ 20 ปี และรับพระราชทานเงินเบี้ยหวัด ปีละ 30 ชั่งด้วย

ความสามารถของท่านในหน้าที่ราชการเป็นผู้ที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยรับหน้าที่ปอกผลไม้เครื่องต้นทุกมื้อ พร้อมกับเจ้าจอมน้อม โชติกเสถียร ซึ่งเป็นผู้มีชื่อมากในด้านการปอกมะปรางริ้วสมัยนั้น คุณจอมเชียดเวลานั้นยังปอกมะปรางริ้วไม่เป็น ท่านก็พยายามปอกยัดก้นโถจนกระทั่งปอกได้ดีเชิดหน้าชูตาขึ้นปากโถได้นอกจากนี้ยังเป็นคนละเอียดลออยิ่ง เป็นต้นว่าท่านเป็นผู้มีหน้าที่เก็บเครื่องเพชร ของสมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนพิจิตรเจตจันทร์ ความละเอียดของท่าน เช่น เข็มกลัดรูปผีเสื้อปีกฝังเพชรกี่เม็ดก็บอกลายฝังนิลกี่เม็ดก็บอก หัวฝังเพชรกี่เม็ดก็บอกทั้งยังวาดภาพกำกับด้วยดินสอลงไว้ด้วยหากชิ้นไหนชำรุดก็จดบอกไว้ในรายการซึ่งการจะทำเช่นนี้ได้จะต้องเป็นคนที่ละเอียดและแช่มช้าที่สุดหาได้ยาก

ที่สำคัญท่านยังมีฝีมือในการเย็บจีวรตะเข็บ 2 ชั้น อันเป็นจีวรเฉพาะพระธรรมยุติกนิกายโดยการถ่ายทอดประทานจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา พระราชธิดาในรัชกาลที่ 4 ดังนั้นท่านจึงได้มีโอกาสเย็บไตรครอง ถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อผนวช โดยพระราชเสาวนีย์ของ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ

ภายหลังสิ้นรัชกาลที่ 5ท่านได้กราบถวายบังคมลาออกจากพระบรมมหาราชวังมาพำนักในเขตพระราชวังสวนสุนันทา โดยอยู่กับเจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ในรัชกาลที่ 5 จนเมื่อมีการเปลี่ยนการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 แล้ว ท่านจึงได้ออกจากสวนสุนันทา มาอยู่ที่ทับสุขภายในเขตวัดเขาบางทราย จังหวัดชลบุรี

บั้นปลายชีวิตท่านมีอาการป่วยเป็นต้อการรักษาไม่ได้ผลท่านจึงได้ตาบอดจนถึงอนิจกรรม เมือ่วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2501

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

  • พ.ศ. ๒๔๔๙ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) (ฝ่ายใน)
  • พ.ศ. ๒๔๕๑ – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 3 (จ.ป.ร.3)

ลำดับสาแหรก

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 
 
 
 
 
 
 
8. พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. สมเด็จพระศรีสุลาลัย
 
 
 
 
 
 
 
4. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. จางวางแสง
 
 
 
 
 
 
 
9. เจ้าจอมมารดาเอมน้อย ในรัชกาลที่ 3
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. ท้าวมังสี (คุ้ม)
 
 
 
 
 
 
 
2. หม่อมเจ้าฉาย ลดาวัลย์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
1. เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์เฉียด ในรัชกาลที่ 5
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
3. หม่อมฉิม ลดาวัลย์ ณ อยุธยา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 
 
 
 
 
 
 
8. พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. สมเด็จพระศรีสุลาลัย
 
 
 
 
 
 
 
4. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. จางวางแสง
 
 
 
 
 
 
 
9. เจ้าจอมมารดาเอมน้อย ในรัชกาลที่ 3
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. ท้าวมังสี (คุ้ม)
 
 
 
 
 
 
 
2. หม่อมเจ้าฉาย ลดาวัลย์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
1. เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์เฉียด ในรัชกาลที่ 5
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
3. หม่อมฉิม ลดาวัลย์ ณ อยุธยา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 
 
 
 
 
 
 
8. พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. สมเด็จพระศรีสุลาลัย
 
 
 
 
 
 
 
4. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. จางวางแสง
 
 
 
 
 
 
 
9. เจ้าจอมมารดาเอมน้อย ในรัชกาลที่ 3
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. ท้าวมังสี (คุ้ม)
 
 
 
 
 
 
 
2. หม่อมเจ้าฉาย ลดาวัลย์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
1. เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์เฉียด ในรัชกาลที่ 5
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
3. หม่อมฉิม ลดาวัลย์ ณ อยุธยา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

อ้างอิง

The contents of this page are sourced from Wikipedia article. The contents are available under the CC BY-SA 4.0 license.
Lists
Chiad Ladavalya is in following lists
comments so far.
Comments
From our partners
Sponsored
Credits
References and sources
Chiad Ladavalya
arrow-left arrow-right instagram whatsapp myspace quora soundcloud spotify tumblr vk website youtube pandora tunein iheart itunes