Charun Snidvongs
Quick Facts
Biography
อำมาตย์ตรี หลวงจรูญสนิทวงศ์ (หม่อมหลวงจรูญ สนิทวงศ์) (18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2438 — 30 มีนาคม พ.ศ. 2473) วิศวกรการรถไฟชาวไทย อดีตนายช่างกลอำนวยการโรงงานมักกะสัน ซึ่งมีหน้าที่ซ่อมหนักรถจักรและรถโดยสาร ของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ประวัติ
อำมาตย์ตรี หลวงจรูญสนิทวงศ์ (หม่อมหลวงจรูญ สนิทวงศ์) เกิดเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2438 เป็นบุตรเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) กับท่านผู้หญิงวงศานุประพัทธ์ (ตาด สิงหเสนี)
พ.ศ. 2455 ออกไปศึกษาวิชาช่างกล ณ ประเทศอังกฤษ สำเร็จปริญญา B.A. กลับเข้ามารับราชการเป็นนายช่างกล ผู้ช่วยกรมรถไฟหลวง และได้รับพระราชทานยศเป็นรองอำมาตย์เอก เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465
1 มกราคม พ.ศ. 2466 รับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เป็น หลวงจรูญสนิทวงศ์ ถือศักดินา ๖๐๐ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470 เป็นนายช่างกล ประจำกองช่างกล และเลื่อนยศเป็นอำมาตย์ตรี
เข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2452จบการศึกษาวิศวกรรมการรถไฟจากประเทศอังกฤษ แล้วรับราชการกรมรถไฟหลวง ท่านเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายช่างกลอำนวยการโรงงาน โรงงานมักกะสัน ในปี พ.ศ. 2473
ชีวิตส่วนตัว
อำมาตย์ตรี หลวงจรูญสนิทวงศ์ (หม่อมหลวงจรูญ สนิทวงศ์) สมรสกับหม่อมหลวงรวง มีบุตรชื่อ ดำเกิง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา และ มีธิดาชื่อ อรุณ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (ท่านผู้หญิงอรุณ กิติยากร ณ อยุธยา) ซึ่งสมรสกับหม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร พระเชษฐาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงและมีธิดาอีก 2 คน คือ อรอำไพ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา และทิพย์วาณี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เกิดกับหม่อมหลวงฟ่อนเป็นนักเขียนสารคดีสำหรับเด็ก ผลงานที่มีชื่อเสียงคือเรื่อง "เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก"ตีพิมพ์เป็นตอนๆ ในนิตยสารสตรีสารรายสัปดาห์
มรณกรรม
อำมาตย์ตรี หลวงจรูญสนิทวงศ์ (หม่อมหลวงจรูญ สนิทวงศ์) ป่วยเป็นโรคไตพิการ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2473
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2465 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. 2469 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)
- พ.ศ. 2472 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)
- พ.ศ. 2471 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช.)
- พ.ศ. 2467 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))