Biography
Lists
Also Viewed
Quick Facts
Intro | Thai businessperson |
Places | Thailand |
is | Businessperson |
Work field | Business |
Birth | 1990 |
Age | 35 years |
Biography
ตรีรัตน์ ศิริจันทโรภาส (ชื่อเล่น: ปุ๊น เกิด 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2533) เป็นนักธุรกิจ และ นักการเมือง ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการบริหารบริษัท นิว เอ็นเนอร์จี พลัส โซลูชั่นส์ จำกัด หรือ NEPS และเป็นรองเลขาธิการพรรคไทยสร้างไทย เคยลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กทม. เขต 13 (บางกะปิ-วังทองหลาง) ในนามพรรคเพื่อไทย เคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการกลุ่มเพื่อไทยพลัส โฆษกคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย และได้ลาออกจากพรรคเพื่อไทยภายหลัง
นอกจากนี้ ตรีรัตน์ เคยเป็นอดีตนักแต่งเพลงค่ายกามิกาเซ่ และเคยเป็นอดีตศิลปินวง เอพริลฟูลส์เดย์ สังกัด อาร์เอส
ประวัติ
ตรีรัตน์ ศิริจันทโรภาส หรือ ปุ๊น เกิดเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2533 ที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของนายสมเกียรติ ศิริจันทโรภาส และ นางสาวฉัตรชนก ดุลยรัตน์ พี่มีชาย 1 คนชื่อ นายปริพัฒน์ ศิริจันทโรภาส ผู้ซึ่งเป็นผู้พิการทางสมองตั้งแต่เกิด ทำให้ ตรีรัตน์ได้ใช้ชีวิตดูแลพี่ชายผู้พิการตั้งแต่เด็ก สู่แรงบันดาลใจมาทำงานด้านการเมือง
ตรีรัตน์ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนนานาชาติเอกมัย และได้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี สาขาธุรกิจดนตรี เอกเปียโนแจ๊ส วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และสำเร็จการศึกษาปริญญาโทด้านการเมืองการปกครอง รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การทำงาน
ตรีรัตน์เคยทำงานในวงการบันเทิงมาก่อนตั้งแต่อายุ 15 ปี ผ่านการชักชวนโดย เอฟู ณรงค์ศักดิ์ ศรีบรรฎาศักดิ์วัชรากรณ์ โปรดิวเซอร์ชื่อดัง และผู้ร่วมก่อตั้งค่ายกามิกาเซ่ จนได้เป็นศิลปินวง เอพริลฟูลส์เดย์ สังกัด อาร์เอส และเคยเป็นนักแต่งเพลง รวมถึงผลิตคอนเสริต์ให้ศิลปินชั้นนำในเมืองไทย เช่น วงเค-โอติก วงเฟย์ ฟาง แก้ว วงเซเวนเดส์ และเคยเป็น Co-Music Director ให้กับหลายคอนเสริต์ของอาร์เอส และ เคยมีผลงานทำเพลงประกอบละครให้ช่อง ไทยพีบีเอส ช่อง 3 และ ช่อง 5 มาก่อน
หลังออกจากวงการบันเทิง ตรีรัตน์ ได้กลับมาช่วยงานธุรกิจกระดาษของที่บ้าน โดยได้ก่อตั้งบริษัท เปเปอร์กรีน ขึ้นมาเป็นผู้นำเข้ากระดาษถนอมสายตารักษาสิ่งแวดล้อม เข้ามาในตลาดแบบเรียนและสื่อการพิมพ์ในประเทศไทย จนทำยอดขายทะลุ 100 ล้าน ได้เพียง 2 ปี จากวันก่อตั้ง ตั้งแต่ขณะอายุเพียง 25 เท่านั้น และต่อมาภายหลังได้ขยายกิจการ สู่ธุรกิจพลังงานทางเลือกด้านพลังงานแสงอาทิตย์ ได้ร่วมก่อตั้งบริษัท นิว เอ็นเนอร์จี พลัส โซลูชั่นส์ (NEPS) ด้วยความคล่องแคล่ว และความสามารถในการสื่อสารของนายตรีรัตน์ ทำให้ได้รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารของบริษัทฯ และสามารถชนะงานประมูลติดตั้งจนได้รับความไว้วางใจจากบริษัทชั้นนำจำนวนมาก อาทิเช่น บมจ.แอสเซทไวส์ บมจ.พีเออี (ประเทศไทย) บมจ.เอส.เค.ฟู๊ดส์ โรงแรมแชเทรียม ริเวอร์ไซด์ โรงเรียนนานาชาติโชรส์เบอรี่ สนามกอล์ฟปัญญาอินทรา เป็นต้น ภายใต้สโลแกน "เปลี่ยนพลังงานทางเลือก สู่พลังงานหลัก"
การเมือง
นายตรีรัตน์ เคยเข้าวงการเมือง ผ่านการชักชวนโดยคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ โดยเริ่มงานการเมืองด้วยการเป็นทีมนโยบายของพรรคเพื่อไทย กรรมการสื่อสารการเมืองพรรคเพื่อไทย และได้ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 13 (เขตบางกะปิ) ซึ่งเป็นพื้นที่เดิมของคุณหญิงสุดารัตน์
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 24 มีนาคม 2562 นายตรีรัตน์ แพ้การเลือกตั้งด้วยคะแนน 23,912 ขณะที่ผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐชนะไปได้อย่างฉิวเฉียดด้วยคะแนน 27,489 ซึ่งหลังจากทราบผลการเลือกตั้งแบบไม่เป็นทางการ 5 วัน นายตรีรัตน์ได้ยื่นร้องเรียน กกต.ถึงความผิดปกติในการเลือกตั้ง โดยได้นำหลักฐานข้อเท็จจริงถึงคะแนนที่ไม่ตรงกันตามประกาศของกกต. และคะแนนที่ปรากฏอยู่หน้าหน่วย เป็นเหตุให้กกต.ได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2562 ให้จัดการเลือกตั้งใหม่ แต่ในแถลงการณ์นั้นให้จัดการเลือกตั้งใหม่เพียงแค่จำนวน 1 หน่วยเท่านั้น ด้วยเหตุผลว่ามีบัตรเขย่ง
หลังจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 นายตรีรัตน์ได้รับแต่งตั้งเป็น โฆษกคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย และได้ร่วมก่อตั้งกลุ่มคนรุ่นใหม่พรรคเพื่อไทยในนาม "เพื่อไทยพลัส" โดยได้รับเลือกจากสมาชิกให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการกลุ่ม ซึ่งต่อมาภายหลัง ได้ประกาศลาออกจากพรรคเพื่อไทยหลังการปรับโครงสร้างพรรค และย้ายไปร่วมงานกับพรรคไทยสร้างไทยในเวลาต่อมา
22 มกราคม พ.ศ. 2567 ตรีรัตน์ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคไทยสร้างไทย
ในทางการเมืองนายตรีรัตน์ดำรงตำแหน่ง เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการ ป.ป.ช. โฆษกกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการข่มขืนกระทำชำเราและการล่วงละเมิดทางเพศ โดยเป็นผู้เสนอให้ต่อคณะกรรมาธิการฯให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาศึกษาให้หนังโป๊และเซ็กซ์ทอยถูกกฎหมาย และเคยดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการงบประมาณครุภัณฑ์ ไอซีที รัฐวิสาหกิจ และทุนหมุนเวียน ในพรบ.งบประมาณปี 2564 และ 2565 สภาผู้แทนราษฎร
ตำแหน่ง
ทางธุรกิจ
- ประธานกรรมการบริหาร บจก.นิว เอ็นเนอร์จี พลัส โซลูชั่นส์ (NEPS)
- กรรมการผู้จัดการบจก. เปเปอร์กรีน
ทางการเมือง
- เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการ ป.ป.ช.
- โฆษกกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการข่มขืนกระทำชำเราและการล่วงละเมิดทางเพศ
- ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการงบประมาณครุภัณฑ์ ไอซีที รัฐวิสาหกิจ และทุนหมุนเวียน ในพรบ.งบประมาณปี 2564 และ 2565 สภาผู้แทนราษฎร
- อดีตเลขาธิการกลุ่ม เพื่อไทยพลัส
- อดีตโฆษกคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย
- อดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 13 (เขตบางกะปิ) พรรคเพื่อไทย และอดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 14 พรรคไทยสร้างไทย (เขตบางกะปิ และเขตวังทองหลาง)
- อดีตโฆษกคณะกรรมการยุทธศาสตร์ พรรคเพื่อไทย
- อดีตผู้อำนวยการกองการสื่อสาร พรรคไทยสร้างไทย
วงการบันเทิง
อัลบั้ม BRAY (ปี 2007) สังกัด Salmon Record
- ซิงเกิล เพลง อย่าถือคนบ้า
อัลบั้ม April Fools' Day (ปี 2009) สังกัด อาร์เอส
- ซิงเกิล เพลง น่ารัก..ขอรักน่า
- ซิ้ลเกิ้ล เพลง เพื่อนกัน ฝันถึงทุกคืน
ผลงานเบื้องหลัง
- เพลง จริง จริง อีทีซี (Assistant Background Vocal) ปี 2008
- เพลง นิ้วก้อย เค-โอติก (เรียบเรียง) ปี 2008
- เพลง สักวันฉันจะบอกรักเธอ เค-โอติก (แต่งทำนอง) ปี 2008
- เพลง ขอบคุณที่ให้ฉันได้รักเธอ เฟย์ ฟาง แก้ว (ทำนอง/เรียบเรียง) ปี 2008
- คอนเสริต์ One-2-Call Freedom Zheza Zim Presents Kamikaze Live Concert (เรียบเรียง) ปี 2009
- เพลงประกอบละคร Daddy Duo คุณพ่อจอมเฟี้ยว (เรียบเรียง) ช่อง 9 ปี 2009
- เพลง ไม่มีวันไหนไม่ใช่ของเธอ Seven Days (แต่งทำนอง) ปี 2009
- คอนเสริต์ Kamikaze Wave Live in Siam Paragon (Co-Music Director) ปี 2010
- เพลง ฉากเรียกน้ำตา Swee:D (อัดเปียโน) ปี 2010
- เพลงประกอบละคร ช่อง TPBS (อัดเปียโน) ปี 2010
- เพลง รักฉันมั้ย Waii (อัดเปียโน) ปี 2011
- คอนเสริต์ เลิฟ ซีรีส์ ปาร์ตี้ คอนเสิร์ต (ผู้อำนวยการเพลง) ปี 2011
- คอนเสริต์ KamiKaze LOVE เว่อร์ Concert (ผู้อำนวยการเพลง) ปี 2011
- คอนเสริต์ C-Quint Dance Attack Concert (ผู้อำนวยการเพลง) ปี 2011
- คอนเสริต์ Kamikaze K Fight Concert (ผู้อำนวยการเพลง) ปี 2013
- คอนเสริต์ ETC. 10 ปี BACK TO THE FUTURE CONCERT (Play-Back Manager) ปี 2013
- คอนเสริต์ มหัศจรรย์...ความคิดถึง D2B Encore Concert 2015 (นักดนตรีรับเชิญ) ปี 2015
- เพลง ถาม Nick Studio54 (อัดเปียโน) ปี 2015
- เพลง หยุดก่อน Nick Studio54 (อัดเปียโน) ปี 2015
- คอนเสริต์ King power Presents For The Love of Life Charity Concert by Studio 54 (Music Director) ปี 2016
- คอนเสริต์ ETC. Journey Concert (Play-Back Manager) ปี 2017
รางวัลที่ได้รับ
- รางวัล บุคคลตัวอย่างภาคธุรกิจแห่งปี 2021 ภาคธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค โดยมูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2565 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช.)
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
- ตรีรัตน์ ศิริจันทโรภาส ที่เอกซ์
- ตรีรัตน์ ศิริจันทโรภาส ที่เฟซบุ๊ก