Biography
Lists
Also Viewed
Quick Facts
Places | Thailand | ||||||||||
was | Doctor Physician Military officer Engineer | ||||||||||
Work field | Engineering Healthcare Military | ||||||||||
Gender |
| ||||||||||
Religion: | Buddhism Theravada | ||||||||||
Birth | 12 November 1863 | ||||||||||
Death | 21 January 1926 (aged 62 years) | ||||||||||
Star sign | Scorpio | ||||||||||
Family |
| ||||||||||
Education |
| ||||||||||
Awards |
|
Biography
นายพันตรี หม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์ หรือชื่อเล่นว่า ใหญ่ (12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2406 – 21 มกราคม พ.ศ. 2470) เป็นโอรสในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ กับหม่อมเขียน เป็น พระมาตุลา (ลุง) ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร และเป็นพระปัยกา (ทวด) ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ
ประวัติ
หม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ เข้าถวายตัวต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่อายุได้ 7 ปี และทรงเลือกให้เดินทางไปศึกษาในต่างประเทศ เพื่อสืบทอดวิชาแพทย์ต่อจากพระบิดา หม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์เดินทางไปศึกษาที่สกอตแลนด์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2415 เมื่ออายุ 9 ปี จบการศึกษาแพทย์ศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเอดินบะระ เดินทางกลับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2427
หม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ เข้ารับราชการเป็นผู้ช่วยของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ พระบิดา ทั้งด้านกิจการแพทย์ และการทหาร ได้รับพระราชทานยศพันตรี ช่วยปรับปรุงกิจการทหาร ร่วมจัดตั้งกรมยุทธนาธิการทหาร และเป็นเลขานุการพระบิดา ที่ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ
หม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์ กราบบังคมทูลลาออกจากราชการ พร้อมกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ เมื่อ พ.ศ. 2433 เพื่อประกอบกิจการส่วนตัวร่วมกับพระบิดา เป็นผู้ได้รับสัมปทานขุดคลองฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ทางตอนเหนือของพระนคร จากตำบลบ้านใหม่ วัดเทียนถวาย ปทุมธานี ไปถึงนครนายก ในนามบริษัทขุดคลองแลคูนาสยาม คลองนี้ได้รับพระราชทานนามว่า "คลองรังสิตประยุรศักดิ์" หรือ "คลองรังสิต"
หม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์ ป่วยเป็นโรคไตพิการเรื้อรัง ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2469 (นับแบบปัจจุบัน พ.ศ. 2470) รวมอายุ 63 ปี 70 วัน พระราชทานเพลิงศพ ณ สุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2470
สุวพันธุ์ คือชื่อที่รับพระราชทาน ชื่อ สุวพรรณ นั้นท่านเปลี่ยนเองในปลายอายุของท่าน สนิทวงศ์ ในอักษรโรมัน สะกดว่า Sanidvongs ส่วนชาวต่างชาติเรียกท่านว่า ดอกเตอร์ใหญ่ (Dr. Yai)
บุตร-ธิดา
เจริญ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
เจริญ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม บุนนาค) ธิดาพระยาอรรคราชนาถภักดี (หวาด บุนนาค) ราชนิกูล มีบุตร-ธิดา 8 คน คือ
- หม่อมหลวงพงศ์ สนิทวงศ์ ต่อมาได้เป็น มหาอำมาตย์ตรี พระยาชลมารคพิจารณ์ สมรสกับหม่อมหลวงติ๋ว ชุมสาย
- หม่อมหลวงต้อม สนิทวงศ์
- หม่อมหลวงเป้ สนิทวงศ์ ต่อมาได้เป็น อำมาตย์โท พระสุวพันธุ์พิทยาการ
- หม่อมหลวงคลอง สนิทวงศ์ (ไชยันต์) เป็นหม่อมใน พลเรือตรี หม่อมเจ้าถาวรมงคลวงศ์ ไชยันต์
- หม่อมหลวงรวง สนิทวงศ์
- หม่อมหลวงฟ่อน สนิทวงศ์ (ผดุงชีพ)
- หม่อมหลวงธัญญะ สนิทวงศ์
- หม่อมหลวงนวม สนิทวงศ์
ยี่สุ่น สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
ธิดาศาสนาจารย์กิมเฮง มังกรพันธ์ และนางทองอยู่ ปักษานนท์ มีบุตรธิดาจำนวน 4 คน ได้แก่
- หม่อมหลวงสร้อยระย้า ยุคล (4 ตุลาคม 2452 — 24 ธันวาคม 2527) สมรสกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล
- หม่อมหลวงซ้ง สนิทวงศ์ สมรสกับหม่อมเจ้ารำไพศรีสอางค์ รพีพัฒน์
- ท่านผู้หญิงพวงร้อย อภัยวงศ์ (28 ธันวาคม 2457 — 17 สิงหาคม 2543)
- หม่อมหลวงคงคา สนิทวงศ์
เงียบ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
- หม่อมหลวงพวงแก้ว ณ ระนอง (8 สิงหาคม 2461 — 27 กรกฎาคม 2550) สมรสกับสง่า ณ ระนอง มีบุตรสี่คน
ประยงค์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
มีบุตร รวม 3 คน
1 หม่อมหลวง บัว สนิทวงศ์ สมรสกับ นาง แถม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม เหลี่ยมจันทร์)
2 หม่อมหลวง นาวี สนิทวงศ์ สมรสกับ นาง อาบ ชูโต
3 หม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์ (29 เม.ย. 2462 - มี.ค. 2546) สมรสกับ ม.ร.ว. ทรงศรี ศรีธวัช
ไม่มีข้อมูล
- หม่อมหลวงลำพวน สนิทวงศ์
- หม่อมหลวงฟาง สนิทวงศ์
- หม่อมหลวงไชย สนิทวงศ์
- หม่อมหลวงศรีพรรณ สนิทวงศ์
- หม่อมหลวงวิโรจ สนิทวงศ์
- หม่อมหลวงมัลลิกา สนิทวงศ์ (กมลคนธ์)
- หม่อมหลวงสารภี สนิทวงศ์ (หงสนันทน์)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
หม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งสยามและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม
- พ.ศ. 2456 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. 2443 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)
- พ.ศ. 2430 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 3 (ป.ป.ร.3)
- พ.ศ. 2436 – เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา (ร.ศ.)
- พ.ศ. 2440 – เหรียญประพาสมาลา (ร.ป.ม.)
- พ.ศ. 2440 – เหรียญราชินี (ส.ผ.)
- พ.ศ. 2446 – เหรียญทวีธาภิเศก (ท.ศ.)
- พ.ศ. 2450 – เหรียญรัชมงคล (ร.ร.ม.)
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
- ญี่ปุ่น :
- พ.ศ. 2431 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ชั้นที่ 3
- ปรัสเซีย :
- พ.ศ. 2432 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์นกอินทรีแดง ชั้นที่ 3
- ออสเตรีย-ฮังการี :
- พ.ศ. 2432 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎเหล็ก ชั้นที่ 3
- สหราชอาณาจักรสวีเดนและนอร์เวย์ :
- พ.ศ. 2432 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาวขั้วโลก ชั้นที่ 3
- ฝรั่งเศส :
- พ.ศ. 2433 – เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นที่ 5
- รัสเซีย :
- พ.ศ. 2433 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญสตานิสลาส ชั้นที่ 2
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
- http://www.snidvongs.net/index.php?c_id=0&ct_id=9969&type=customize เก็บถาวร 2020-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ในเว็บไซต์ สะกดว่า สุวพรรณ)