Prince Chalermsuek Yukol

The basics

Quick Facts

Gender
Male
Birth1950
Age75 years
The details

Biography

พลเอก หม่อมเจ้าเฉลิมศึก ยุคล (24 ตุลาคม พ.ศ. 2493) เป็นพระโอรสในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร ถือเป็นรัชทายาทโดยสันนิษฐาน ลำดับที่ 3 ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467

พระประวัติ

ประสูติเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2493 เป็นพระโอรสใน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร กับทองแถม ประยูรโต เป็นพระนัดดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ และเป็นพระราชปนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พล.อ. ม.จ.เฉลิมศึก ยุคล มีโสทรเชษฐภคินีสององค์ คือ ท่านหญิงศรีสว่างวงศ์ บุญจิตราดุลย์ และหม่อมเจ้าหญิงยังไม่มีพระนาม (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อชันษา 1 วัน)

การศึกษาและฝึกอบรม[2]

หลังจากสำเร็จการศึกษาที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย (B.C.C.115) แล้ว พล.อ. ม.จ.เฉลิมศึก ยุคล ได้เสด็จไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ และสำเร็จการศึกษาหลักสูตรต่าง ๆ ด้านการทหาร ได้แก่

ด้านการทหาร[3]

พล.อ. ม.จ.เฉลิมศึก ยุคล ทรงมีความเชี่ยวชาญด้านอาวุธนิวเคลียร์ อาวุธเคมี และอาวุธชีวภาพ ดำรงแหน่งรองเจ้ากรมวิทยาศาสตร์ทหารบก ผู้ชำนาญการกองทัพบก และเคยดำรงตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก หลังจากเกษียณอายุราชการแล้วปัจจุบันทรงเป็นที่ปรึกษากรมวิทยาศาสตร์ทหารบก และประธานคณะกรรมการ BWC ประเทศไทย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และยังทรงดำรงตำแหน่งสมาชิกของกลุ่มที่ปรึกษาด้านเทคนิคขององค์การอนามัยโลก และทรงเป็นกรรมการในคณะกรรมการประสานงานแห่งชาติเพื่อการปฏิบัติให้เป็นไปตามอนุสัญญาห้ามอาวุธเคมี และทรงงานเกี่ยวกับการป้องกัน คชรน. โดยทรงร่วมเป็นกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิ และวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ผู้บรรยายอบรม ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิเช่น

  • เป็นผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมการประชุมสนธิสัญญาพหุภาคีเกี่ยวกับการลดอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง (WMD) ในกรุงเจนีวา และกรุงเฮก ประเทศเนเธอแลนด์
  • ในปีพ.ศ. 2534 และปีพ.ศ. 2545-2546 เป็นผู้ตรวจสอบอาวุธเคมีในอิรักสำหรับสำนักงานคณะกรรมการพิเศษแห่งสหประชาชาติ และคณะกรรมการติดตาม และตรวจสอบของสหประชาชาติ
  • ทำงานเป็นผู้ฝึกอบรมผู้ตรวจสอบอาวุธเคมีของสหประชาชาติในอิรัก
  • ประธานคณะกรรมการอนุสัญญาว่าด้วยการห้ามพัฒนา ผลิต และสะสมอาวุธชีวภาพและสารพิษ และว่าด้วยการทำลายอาวุธดังกล่าว (BWC)
  • ประธานของคณะทำงานของ NSC เรื่องภัยคุกคามทางชีวภาพและทางเคม
  • ในปี พ.ศ. 2562 พล.ท. ม.จ.เฉลิมศึก ยุคล ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศทหารชั้นนายพลเป็นกรณีพิเศษ เป็น พลเอก
  • ในปี พ.ศ. 2563 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นนายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภ รักษาพระองค์ กองบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์

กรณียกิจและการปฏิบัติพระกรณียกิจแทนพระองค์

ทรงเคยดำรงแหน่งรองเจ้ากรมวิทยาศาสตร์ทหารบก ผู้ชำนาญการกองทัพบก และเคยดำรงตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก ปัจจุบันทรงเป็นที่ปรึกษากรมวิทยาศาสตร์ทหารบก และ ประธานคณะกรรมการ BWC ประเทศไทย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และยังทรงดำรงตำแหน่งสมาชิกของกลุ่มที่ปรึกษาด้านเทคนิคขององค์การอนามัยโลก และทรงเป็นกรรมการในคณะกรรมการประสานงานแห่งชาติเพื่อการปฏิบัติให้เป็นไปตามอนุสัญญาห้ามอาวุธชีวภาพ

ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาองค์การอนามัยโลก ในกลุ่มที่ปรึกษาทางวิชาการด้านการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านสาธารณสุขพลเรือนกับหน่วยงานด้านความมั่นคง (Health and Security Interface Technical Advisory Group, HIS-TAG)

พล.อ. ม.จ.เฉลิมศึก ยุคล ได้เสด็จแทนพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี อยู่บ่อยครั้ง อาทิ

  • เสด็จแทนพระองค์ ไปในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอุปสมบทนาคหลวง
  • การเชิญพระโกศพระศพสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)

ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 พล.อ. ม.จ.เฉลิมศึก ยุคล ทรงเป็นหนึ่งในผู้ทูลเกล้าฯ ถวายน้ำอภิเษกแด่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่างประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ โดยพล.อ. ม.จ.เฉลิมศึก ยุคล ทรงเป็นผู้แทนประจำทิศทักษิณ

นอกจากนี้ พล.อ. ม.จ.เฉลิมศึก ยุคล ยังได้ถวายงานเสด็จปฏิบัติพระกรณียกิจแทนพระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ อยู่บ่อยครั้ง อาทิ

  • เสด็จแทนพระองค์ ไปทรงเป็นประธานในพิธีปฏิญาณตน และสวนสนามของยุวกาชาด ในงานวันคล้ายวันสถาปนายุวกาชาดไทย ประจำปีพ.ศ. 2563
  • เสด็จแทนพระองค์ไปทรงเยี่ยมและประทานสิ่งของแก่ข้าราชการทหาร ตำรวจที่เจ็บป่วยจากการปฏิบัติราชการสนาม เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ
  • เสด็จแทนพระองค์ไปทรงเป็นประธานงานเลี้ยงพระกระยาหารค่ำเฉลิมฉลองครบรอบ 150 ปี มิตรภาพระหว่างราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรเบลเยียม ณ โรงแรม ดิ แอทธินี แบงค็อก โอกาสนี้ทรงรับเจ้าหญิงเลอาแห่งเบลเยียม ที่เสด็จมาทรงเป็นเกียรติในงานครั้งนี้ด้วย โอกาสนี้หม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคล และหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคล โดยเสด็จในการนี้ด้วย
  • เป็นผู้แทนพระองค์ เป็นประธานมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ อาสาสมัครดีเด่นและองค์การที่มีกิจกรรมทางสังคมดีเด่น ประจำปีพ.ศ. 2563 ในงานวันสังคมสงเคราะห์แห่งชาติและวันอาสาสมัครไทยประจำปีพ.ศ. 2563 โดยมีนางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และนายสุทธิ จันทรวงษ์ อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เฝ้ารับเสด็จ ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น

ในด้านสาธารณกุศล พล.อ. ม.จ.เฉลิมศึก ยุคล ได้ทรงเป็นประธานในการระดมทุนเพื่อจดทะเบียนจัดตั้ง "มูลนิธิสถาบันการศึกษาในรัชกาลที่ 6 และสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรัตนราชสุดาฯ" และทรงดำรงตำแหน่งองค์ประธานกรรมการมูลนิธิฯ

พระเกียรติยศ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

  • พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
  • พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
  • พ.ศ. 2562 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)
  • พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 7 เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ง.ภ.)
  • พ.ศ. 2537 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
  • พ.ศ. 2562 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 ชั้นที่ ๓ (ว.ป.ร.๓)
  • พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
  • พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 2 (เหรียญเงิน)

เครื่องอิสริยาภรณ์สากล

  •  สหประชาชาติ :
    • พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เหรียญบริการพิเศษแห่งสหประชาชาติ

พงศาวลี

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. (=20) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
8. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. (=21) สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
 
 
 
 
 
 
 
4. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี
 
 
 
 
 
 
 
9. พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. เจ้าจอมมารดาจีน
 
 
 
 
 
 
 
2. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. (=16) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
10. สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. (=17) สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
 
 
 
 
 
 
 
5. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)
 
 
 
 
 
 
 
11. หม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. ท่านผู้หญิงอิ่ม บุนนาค
 
 
 
 
 
 
 
1. หม่อมเจ้าเฉลิมศึก ยุคล
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
3. หม่อมทองแถม ยุคล ณ อยุธยา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. (=20) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
8. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. (=21) สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
 
 
 
 
 
 
 
4. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี
 
 
 
 
 
 
 
9. พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. เจ้าจอมมารดาจีน
 
 
 
 
 
 
 
2. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. (=16) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
10. สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. (=17) สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
 
 
 
 
 
 
 
5. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)
 
 
 
 
 
 
 
11. หม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. ท่านผู้หญิงอิ่ม บุนนาค
 
 
 
 
 
 
 
1. หม่อมเจ้าเฉลิมศึก ยุคล
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
3. หม่อมทองแถม ยุคล ณ อยุธยา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. (=20) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
8. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. (=21) สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
 
 
 
 
 
 
 
4. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี
 
 
 
 
 
 
 
9. พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. เจ้าจอมมารดาจีน
 
 
 
 
 
 
 
2. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. (=16) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
10. สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. (=17) สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
 
 
 
 
 
 
 
5. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)
 
 
 
 
 
 
 
11. หม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. ท่านผู้หญิงอิ่ม บุนนาค
 
 
 
 
 
 
 
1. หม่อมเจ้าเฉลิมศึก ยุคล
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
3. หม่อมทองแถม ยุคล ณ อยุธยา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

The contents of this page are sourced from Wikipedia article on 29 Mar 2024. The contents are available under the CC BY-SA 4.0 license.