Biography
Lists
Also Viewed
Quick Facts
Intro | Thai politician | ||
Places | Thailand | ||
is | Politician Police officer | ||
Work field | Law Politics | ||
Gender |
| ||
Birth | 22 March 1949, Bang Kapi, Bangkok, Thailand | ||
Age | 75 years | ||
Star sign | Aries | ||
Family |
|
Biography
พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ (ชื่อเล่น: ป๊อด; เกิด: 22 มีนาคม พ.ศ. 2492) เป็นตำรวจชาวไทย
ประวัติ
พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ มีชื่อเล่นว่า "ป๊อด" เป็นชาวบางกะปิ กรุงเทพมหานครแต่โดยกำเนิด เป็นบุตรคนที่ 3 ของพลตรี ประเสริฐ วงษ์สุวรรณ กับ นางสายสนี วงษ์สุวรรณ มีพี่น้อง 4 คน คือ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ, พลเรือเอก ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ, พงษ์พันธุ์ วงษ์สุวรรณ และ พันธุ์พงษ์ วงษ์สุวรรณ ที่ปรึกษารองประธาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่สอง
สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษา โรงเรียนเซนต์คาเบรียล โรงเรียนเตรียมทหาร ปริญญาตรี โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ปริญญาโท ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สมรสกับนางสมถวิล วงษ์สุวรรณมีธิดา 2 คนได้แก่ พ.ต.ต. ภญ.พัชรา วงษ์สุวรรณ เภสัชกรประจำโรงพยาบาลตำรวจ ร.ต.อ.หญิง นวพร วงษ์สุวรรณ ผู้ช่วย นว.(สบ.1) ผบช.สตม.
เป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่อยู่ใต้บังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรีทั้งหมด สามราย ได้แก่ สมัคร สุนทรเวช สมชาย วงศ์สวัสดิ์ และ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ท่ามกลางวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553
การรับราชการ
- รอง สว. กองบังคับการการสนับสุนนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
- รอง สว. กองทะเบียน แล้วย้ายมาดูงานกำลังพลที่กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง(บช.ก.)
- สว. ธุรการ กองกำกับการกำลังพล กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการสอบสวนกลาง
- ผกก.5 และ ผกก. 3 กองบังคับการตำรวจทางหลวง
- ผู้บังคับการกองพลาธิการ กรมตำรวจ
- ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
- รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3
- ผู้บัญชาการประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ทนท.ประสานงานกระทรวงมหาดไทย)
- ผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล
- ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
- รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
- ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
- 13 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- 13 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภาการศึกษาโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
การดำรงตำแหน่ง ผบ.ตร.
วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้เซ็นคำสั่งให้ พล.ต.อ. เสรีพิศุทธิ์ ไปช่วยราชการประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ มาเป็นรักษาการผบ.ตร. แทน และภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ที่ทำเนียบรัฐบาลเสร็จสิ้นว่า ที่ประชุม ก.ต.ช. ซึ่งมีนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุม มีมติเป็นเอกฉันท์ แต่งตั้ง พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รักษาการ ผบ.ตร. เป็น ผบ.ตร. คนใหม่ แทน พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส โดยจะขึ้นดำรงตำแหน่งได้เมื่อมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ พ้นจากตำแหน่ง
วันที่ 4 กันยายน 2551 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรองผู้อำนวยการกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินใน รัฐบาล สมัคร สุนทรเวช สิ้นสุดวันที่ 14 กันยายน 2551ในเหตุการณ์ นปช. ปะทะกับกลุ่มพันธมิตรฯ 2 กันยายน พ.ศ. 2551
วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งสำนักนายรัฐมนตรี ที่ 305/2551 ให้ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. มาปฏิบัติงานสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนของสังกัดเดิมไปก่อนและให้ พล.ต.อ. ปทีป ตันประเสริฐ จเรตำรวจแห่งชาติ เป็นผู้รักษาราชการแทน
ต่อมาในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ด้วยคำสั่งของนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รักษาการนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้ พล.ต.อ. พัชรวาท กลับคืนสู่ตำแหน่งเดิม จัดว่าเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรืออธิบดีกรมตำรวจคนแรกที่ถูกสั่งย้ายแล้วสามารถกลับคืนสู่ตำแหน่งได้
ต่อมาหลังจากเกิดเหตุลอบสังหารนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยขึ้น ทางนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มอบหมายให้ พล.ต.อ. ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ รอง ผบ.ตร.กำกับดูแลคดีนี้โดยเฉพาะและให้รายงานความคืบหน้าของคดีต่อตัวนายกรัฐมนตรีเอง ซึ่งต่อมา พล.ต.อ. ธานีได้ให้สัมภาษณ์ในทำนองว่าการดำเนินคดีนี้มีอุปสรรคเป็น "ตอ" และ "ไส้ศึก" ในหมู่ตำรวจด้วยกันเอง พันธมิตรฯ และหลายภาคส่วนในสังคมคาดการณ์ว่า หมายถึง พล.ต.อ. พัชรวาท นี่เอง ได้มีกระแสเรียกร้องให้ปลดออกจากตำแหน่ง จนในที่สุดนายอภิสิทธิ์ได้เข้าหารือกับ พล.ต.อ.พัชรวาทด้วยตนเองที่บ้านพิษณุโลกเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2552ได้ข้อสรุปว่า พล.ต.อ. พัชรวาทจะเดินทางไปราชการที่ประเทศจีนเป็นเวลา 10 วัน และจะขอลาพักราชการต่อจากนั้น โดยในระหว่างลานี้ ได้มีคำสั่งมอบหมายให้ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ที่ปรึกษา (สบ 10) รักษาการแทนในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ในเดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2552 เขาเป็นผู้ปฏิบัติงานในกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (กอฉ.)ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 98/2552 ในเหตุการณ์ ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552
วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ซึ่งมี นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธาน ป.ป.ช. ทำหน้าที่ประธานการประชุม ได้พิจารณาคดีสั่งการสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่หน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งที่ประชุมมีมติชี้มูลความผิดนักการเมืองและนายตำรวจที่เกี่ยวข้อง โดยที่ พล.ต.อ.พัชรวาท ในฐานะผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งรับผิดชอบตามอำนาจหน้าที่ เมื่อเกิดเหตุรุนแรงจนถึงขั้นผู้ชุมนุมบาดเจ็บสาหัส ถึงขนาดขาขาดแขนขาด ก็ต้องยับยั้งมิให้เหตุการณ์ลุกลามต่อไป และมีการให้การจากพยานว่า เป็นผู้สั่งการสลายการชุมนุม จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและมีความผิดวินัยร้ายแรง ซึ่งที่ประชุม ป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิด 8 ต่อ 1 โดยส่งผลให้หยุดปฏิบัติหน้าที่โดยทันที
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งให้ พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มาปฏิบัติราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี และให้ พล.ต.อ. ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นผู้รักษาราชการแทน ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจาก คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดคดีอาญาและวินัยร้ายแรงจากเหตุการณ์สลายการชุมนุม 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ต่อมา พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ได้ลาออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาตินับว่าเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนแรกที่ทำงานกับนายกรัฐมนตรีถึง 3 ราย ได้แก่ นาย สมัคร สุนทรเวช นาย สมชาย วงศ์สวัสดิ์ และ นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ท่ามกลาง วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553 ที่ พรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย เป็นศัตรูกับ พรรคประชาธิปัตย์ อย่างเด่นชัด
วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ได้รับแต่งตั้งเป็น ประธานกรรมการ บริษัท ปิคนิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ศาลปกครองกลางมีคำสั่งคืนตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้กับ พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ
วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คืนตำแหน่ง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และยกเลิกการลงโทษปลดออกจากราชการ ให้แก่ พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ตามคำพิพากษาศาลปกครองกลางที่ให้ยกเลิกคำสั่งลงโทษ
งานการเมือง
ในปี พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
- บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน Archived 2019-08-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ก่อนหน้า | พัชรวาท วงษ์สุวรรณ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส | ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 - 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551) | พลตำรวจเอก ปทีป ตันประเสริฐ (รักษาการ) | ||
พลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ (รักษาการ) | ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (21 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552 18 สิงหาคม พ.ศ. 2552 – 6 กันยายน พ.ศ. 2552) | พลตำรวจเอก ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ (รักษาการ) |