Biography
Also Viewed
Quick Facts
was | Doctor Physician | |
Work field | Healthcare | |
Gender |
| |
Birth | 26 November 1916 | |
Death | 24 October 1987 (aged 70 years) | |
Star sign | Sagittarius |
Biography
พลโท นายแพทย์ หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์ (26 สิงหาคม พ.ศ. 2459 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2530) เป็นบุตรของพลเอก เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) กับท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) เป็นพระมาตุลา (น้า)ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง)
การศึกษา
สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2469 ปริญญาแพทยศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2484 เริ่มเป็นแพทย์ทหารไปปฏิบัติราชการสงครามอินโดจีนเมื่อกลับมาแล้วเป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลกลาง ซึ่งอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อสงครามเลิกแล้วได้ย้ายไปทำงานที่โรงพยาบาลเลิดสินซึ่งเป็นโรงพยาบาลเปิดใหม่ต่อมาได้รับทุนฟูลไบร์ทไปศึกษาและฝึกงานศัลยกรรมกระดูกที่ SyracuseUniversity แล้วทำงานต่อที่สหรัฐอเมริกากลับมาทำงานต่อที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าจัดตั้งแผนกศัลยกรรมกระดูกขึ้นเป็นแผนกเฉพาะในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
รับราชการ
หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์ เริ่มรับราชการสนองพระเดชพระคุณเมื่อปี พ.ศ. 2498 โดยถวายการรักษาพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นครั้งคราว พร้อมกับทำงานที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าไปด้วยซึ่งในเวลาต่อมาพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จแปรพระราชฐานบ่อยขึ้น หม่อมหลวงจินดาต้องตามเสด็จพระราชดำเนินด้วย การเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในแต่ละครั้งทรงรับเอาราษฎรเป็นคนไข้ไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมหลวงจินดาร่วมรักษาคนไข้
ขณะนั้นจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ทราบถึงความไม่สะดวกของหม่อมหลวงจินดา จึงย้ายหม่อมหลวงจินดาไปเป็นแพทย์ประจำกองบัญชาการทหารสูงสุดและส่งมาปฏิบัติหน้าที่ถวายการรักษาโดยตรงตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ในปี พ.ศ. 2503 – 2510 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีหมายกำหนดการเสด็จเยือนต่างประเทศเป็นทางการเกือบ 30 ประเทศ หม่อมหลวงจินดาในขณะนั้นมียศพันเอก ได้ตามเสด็จพระราชดำเนินทุกประเทศในฐานะแพทย์ประจำพระองค์ การที่หม่อมหลวงจินดาได้ตามเสด็จพระราชดำเนินเป็นระยะเวลายาวนาน พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นราชองครักษ์พิเศษ
ครอบครัว
หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์ สมรสกับท่านผู้หญิงเกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา มีบุตร-ธิดาด้วยกัน 3 คน คือ
- พลอากาศเอกจารึก สนิทวงศ์ ณ อยุธยา สมรสกับกานดา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม ศรืรัชยานนท์)
- คุณหญิงบุษยา ไกรฤกษ์ สมรสกับดร.จิตรพัฒน์ ไกรฤกษ์
- พันตรีภาดร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา สมรสกับพรพิมล สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม เอี่ยมบุญลือ)
ชีวิตบั้นปลาย
เมื่ออายุได้ 67 ปี หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์ เห็นว่าตนเองมีอายุมากแล้วสมควรที่จะให้ผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่แพทย์ประจำพระองค์แทนต่อไปจึงได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งแพทย์ประจำพระองค์ แต่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ไม่ทรงพระราชทานพระราชานุญาต ยังคงให้หม่อมหลวงจินดาเป็นแพทย์ประจำพระองค์สืบต่อมา และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศาสตราจารย์ นายแพทย์ดนัย สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เป็นแพทย์ประจำพระองค์อีกคนหนึ่ง
พลโท นายแพทย์ หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2530 สิริอายุ 71 ปี 59 วัน พระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ปีเดียวกัน ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
- พ.ศ. 2522 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. 2515 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
- พ.ศ. 2514 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. 2505 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)
- พ.ศ. 2513 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)
- พ.ศ. 2478 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)
- พ.ศ. 2487 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ร.)
- พ.ศ. 2506 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)
- พ.ศ. 2512 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
- พ.ศ. 2527 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)
- พ.ศ. 2515 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
- ญี่ปุ่น :
- พ.ศ. 2506 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ชั้นที่ 3
อ้างอิง
- เกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา. อนุสรณ์นายแพทย์หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา. กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์, 2530. 108 หน้า.